หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง 'ถ้าพรุ่งนี้...ไม่มีไฟฟ้าใช้'

ทีม Electric Girls ทีมชนะเลิศ จากโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)  จัด การประกวดผลงานนักเรียน หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง (STEM²) ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า การพูดเชิงสร้างสรรค์ ElectricTalk ในหัวข้อ “เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร”   ซึ่งเป็นการพูดสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยและแนวทางการแก้ปัญหาพลังงานไฟฟ้าในประเทศอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมพูดเชิงสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในหลักสูตรและนักเรียนที่เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้หลักสูตรบูรณาการสะเต็มกำลังสอง เรื่อง ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า ในปีการศึกษา 2565 โดยมีนายศิริวัฒน์  เจ็ดสี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมโรงไฟฟ้า  กฟผ. และ ผศ.ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว ให้เกียรติเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน

 หลักสูตรสะเต็มกำลัง เรื่อง “ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า” เป็นการเรียนรู้บูรณาการมาตรฐานและตัวชี้วัดของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมตอนต้น มุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจสถานการณ์ปัญหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ข้อดี ข้อจำกัดและบริมาณการปล่อยคาร์บอนของเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าแต่ละชนิด ส่งเสริมสมรรถนะในการบูรณาการความรู้และข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้มาออกแบบแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง ราคาเหมาะสม ลดการปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อม และสามารถสื่อสารนำเสนอได้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้คำถามสำคัญ “เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้ให้ยั่งยืนได้อย่างไร” โดยโรงเรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักสูตรกับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ตามความสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

ผศ.ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์

ผศ.ดร.นลินา ประไพรักษ์สิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว ได้กล่าวในงานว่า หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เป็นนวัตกรรมหลักสูตรบูรณาการ ที่เน้นบูรณาการสาระการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดแกนกลาง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาแล้วในบริบทจริง โดยหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เรื่อง ถ้าพรุ่งนี้ ไม่มี ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2559 ผ่านการพัฒนาและปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางที่มีการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันได้มีการปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อเป็นต้นแบบของการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในอนาคต

นายศิริวัฒน์  เจ็ดสี

ด้าน นายศิริวัฒน์  เจ็ดสี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมโรงไฟฟ้า  กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. เล็งเห็นว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างรอบด้าน และเกิดสมรรถนะในการเรียนรู้ ตัดสินใจและแก้ปัญหาหาด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เริ่มพัฒนาหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เรื่อง “ถ้าพรุ่งนี้ไม่มีไฟฟ้า” ขึ้น โดยมุ่งหวังว่าผู้เรียนที่ได้เรียนในหลักสูตรนี้ จะสามารถแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการใช้และจัดหาพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง เพียงพอต่อความต้องการ ราคาต่อหน่วยที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานความเข้าใจและข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ

 การประกวดผลงานนักเรียนครั้งนี้  เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สะท้อนผลลัพธ์ของหลักสูตร โดยโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ ทีม Electric Girls จากโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สมาชิกประกอบด้วย เด็กหญิงชนิกานต์ ณ สกุล เด็กหญิงพัชราภรณ์ ป๊อกนันตา และเด็กหญิงศิวปรียา สร้อยคำ

กรรมการตั้งคำถาม


คุณครูจักรพงศ์ จันทวงศ์ และคุณครูภัตติมา วงศ์สุวรรณ์ ครูที่ปรึกษานักเรียนกล่าวว่า ดีใจและภูมิใจกับความสำเร็จของนักเรียนมากที่ได้นำความรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชาที่เรียนมาใช้ประยุกต์กับเรื่องของการรู้จักพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นการบูรณาการวิชาความรู้ในหลายศาสตร์สาขา ทำให้นักเรียนเข้าใจความรู้ที่เป็นประโยชน์กับชีวิตจริงได้และสามารถนำเสนอ สื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจและเข้าใจได้โดยง่าย

เด็กหญิงชนิกานต์ ณ สกุล หัวหน้าทีมกล่าวว่า เราทั้ง 3 คนในทีมช่วยกันคิดรูปแบบการนำเสนอและฝึกซ้อมการพูดสื่อสารในหัวข้อ ElectricTalk เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร โดยใช้ความรู้ในหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้า กันอย่างเต็มที่เพราะเราตระหนักว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตคนเรา จากการเรียนและประสบการณ์จริงในชีวิต ทำให้เราเข้าใจว่าการเริ่มต้นประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการเริ่มต้นที่ตัวเรา จะเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดและส่งผลให้เรามีไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืน

อีกโรงเรียนที่เสนอผลงาน

ในรายละเอียดไอเดีย ของน้องๆรร.หางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ คุณครูจักรพงศ์เล่าว่า หลังจากที่น้องๆ ได้เรียนหลักสูตรที่กฟผ.และมศว บูรณาการร่วมกัน นักเรียนได้สรุปองค์ความรู้ ที่ได้เรียน และมีการค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งในการประกวดได้ยกปัญหาค่าไฟแพง มาพูดเขิงสร้างสรรค์ และชี้ว่าปัญหาค่าไฟแพงหลักๆมากจากการต้องนำเข้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตไฟ โดยในช่วงวปีที่ผ่านมาก๊าซธรรมชาติมีราคาสูงเพราะสงคราม ยูเครน รัสเซีย และโลกมีความต้อการสูง ซึ่งน้องๆได้เสนอทางออกค่าไฟแพง ใน 3ข้อคือ  1.เสนอให้รัฐเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน  3ประเภท ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำ และพลังงานลม ให้มากขึ้น และลดการใช้ก๊าซในการผลิตกระแสไฟฟ่า 2.ทั้งภาครัฐและเอกชน ควรหันมาใช้โซลาร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้การนำเข้าก๊าซธรรมชาติลดลง 3. การรณรงค์ประหยัดพลังงาน ถ้าผู้ใช้ไฟประหยัดในการใช้ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ

“จุดเด่นของเด็กกลุ่มนี้ น่าจะอยู่ที่การจับปัญหาค่าไฟแพง และอธิบายที่มา ที่ไป ทางแก้ปัญหา ขณะที่ น้องๆ กลุ่มอื่นๆ จะนำเสนอ แบบเจาะประเด็น เช่น เรื่องพลังงานหมุนเวียน หรือโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะ” คุณครูจักรพงศ์กล่าว

หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง “ถ้าพรุ่งนี้…ไม่มีไฟฟ้าใช้” เป็นหลักสูตรสำเร็จรูป ที่เปิดให้ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในปีการศึกษา 2565 มีโรงเรียนลงทะเบียนใช้หลักสูตรแล้วกว่า 200 โรงเรียน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://stem2.science.swu.ac.th/  หรือสอบถามรายละเอียดทางอีเมล [email protected] สามารถชมผลงานนักเรียนได้ที่ facebook แฟนเพจ @stem2curriculum  .

ทีม Electric Girls เข้ารับรางวัล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กฟผ.เปิดสนามแข่งจักรยาน มาตรฐานUCI ณ เขื่อนวชิราลงกรณ

กฟผ. จับมือสมาคมกีฬาจักรยานฯ เปิดประเดิมสนามแข่งจักรยานมาตรฐานนานาชาติ (UCI) รับ 3 รายการใหญ่ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติ และการแข่งขัน หนูน้อยขาไถ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามจักรยาน เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ คว้ารางวัลสุดยอด CEO รัฐวิสาหกิจดีเด่นสาขา Environment ตอกย้ำการขับเคลื่อนภารกิจองค์กรด้วยความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อม

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Environment จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร

จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม

ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ส.ยกน้ำหนักฯ–จ.พะเยา-กฟผ. จัดEGATยกน้ำหนักยุวฯเยาวชน 15–25ต.ค.นี้

เมื่อวันที่ 27ก.ย.ที่ผ่านมา นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และพลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ กรรมการและประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ EGAT ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อายุ 13 - 15 ปี ประจำปี 2567 ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

ไฮโดรเจนความหวังใหม่ของวงการพลังงานสะอาด

แม้อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่มีอยู่จริงรอบตัวเรา และนี่คือความหวังใหม่ของพลังงานสะอาดในอนาคต ‘ไฮโดรเจน’ ธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในจักรวาล และมีอย่างไม่จำกัด