กลายเป็นข่าวสร้างความสนใจให้สังคมในช่วงฤดูร้อน เมื่อหนุ่มแชร์ประสบการณ์ค่าไฟฟ้าลดลง หลังที่บ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำให้ค่าไฟฟ้าจากเดือนละ 4,000 – 5,000 บาท ลดลงเหลือเพียง 71 บาท จนหลายคนเริ่มมีความคิดอยากติดตั้งบ้าง แต่การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟนั้นจะคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องเสียไปหรือไม่
รศ.ดร.รองฤทธิ์ ฉัตรถาวร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ว่า ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ก่อนจะลดค่าไฟฟ้าได้นั้น ยังมีสิ่งที่ประชาชนต้องคำนึงถึง คือ ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ 1 กิโลวัตต์ มีต้นทุน 30,000 – 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแผงและ inverter ซึ่งตามระเบียบการไฟฟ้า ระบุว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส จะติดตั้งได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ส่วนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส จะติดตั้งได้ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์
“หากติดตั้งขนาด 5 กิโลวัตต์ สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทบ้านอยู่อาศัย แล้วใช้ไฟตอนกลางวันตลอด ในวันที่แดดออกปกติ ก็จะลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 80-120 บาท ต่อวัน หรือหากเดือนนั้นๆ เป็นเดือนที่แดดออกดีก็จะสามารถลดได้ถึง 2,400 – 3,600 บาทต่อเดือน”
รศ.ดร.รองฤทธิ์ ระบุอีกว่า หากถามเรื่องระยะเวลาความคุ้มทุนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า หากใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากเป็นประจำจะช่วยคืนทุนได้ไว แต่หากใช้ไฟฟ้าเฉพาะช่วงกลางคืนเป็นประจำจะคืนทุนช้า เนื่องจากการขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แก่การไฟฟ้า เราจะขายได้ในอัตราอยู่ที่ 2.2 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งยังน้อยเมื่อเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า ซึ่งโดยเฉลี่ยความคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 4-8 ปี
ทั้งนี้ สำหรับการติดตั้ง โซลาร์เซลล์บนหลังคานั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
1.แบบออนกริด (On Grid) คือ การใช้โซลาร์เซลล์จ่ายไฟฟ้าควบคู่กับการรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้า โดยทั่วไปจะไม่มีการติดตั้งแบตเตอรี่
2.แบบออฟกริด (Off Grid) คือ การใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียว ไม่พึ่งพาการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า การติดตั้งรูปแบบนี้ ต้องมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงกลางคืน สำหรับการติดตั้งรูปแบบนี้อาจไม่เหมาะสมจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ต้นทุนแบตเตอรี่ราคาสูง เช่น หากโซลาร์เซลล์มีต้นทุน 200,000 บาท ค่าแบตเตอรี่อาจสูงถึง 100,000 บาท และ ปัจจัยที่ 2 คือ การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีความผันผวนไม่แน่นอน หากไม่มีแบตเตอรี่และไม่มีการซื้อไฟจากการไฟฟ้า จะทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับได้
3.แบบไฮบริด (Hybrid) คือ การใช้ไฟฟ้าจากทั้งจากโซลาร์เซลล์ และการไฟฟ้า โดยมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ในช่วงกลางคืน แต่หากไฟฟ้าไม่เพียงพอก็สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้
“หากพิจารณาด้านความคุ้มค่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในรูปแบบที่ 1 หรือ On Grid คุ้มทุนไวที่สุด เนื่องจากไม่ต้องมีต้นทุนเรื่องแบตเตอรี่ จึงทำให้มีระยะเวลาคุ้มทุนไวกว่าแบบอื่น”
สำรวจปัจจัยสำคัญก่อนลงทุนติดตั้ง รศ.ดร.รองฤทธิ์ แนะนำว่า ก่อนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ก่อน ทั้งพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หากไม่ใช่ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน แต่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนเป็นประจำก็อาจไม่คุ้มค่ากับการติดตั้ง
ขณะเดียวกัน พื้นที่หลังคาบ้านก็ต้องเพียงพอต่อการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ด้วย โดย 1 กิโลวัตต์ต้องใช้พื้นที่ประมาณ 7-8 ตารางเมตร ส่วนตำแหน่งในการติดตั้งก็ต้องหันไปทางรับแดด ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน พบว่า ควรติดตั้งหันไปทางทิศใต้ ทำมุม 15 องศาจากพื้นดิน จะทำให้โซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้สุงที่สุด และไม่ควรมีอาคารหรือต้นไม้มาบดบัง
นอกจากนี้ ภายในบ้านควรมีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งาน โดยเฉพาะ Inventer หรือตัวแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงของโซลาร์เซลล์ไปเป็นกระแสสลับให้สามารถใช้งานภายในบ้านได้ ซึ่งตำแหน่งการติดตั้งต้องอยู่ด้านล่างไม่ได้ติดบนหลังคา และต้องเป็นพื้นที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เช่น การทำการสับเปลี่ยนระบบเชื่อมต่อของแผงโซลาร์เซลล์แบบอัตโนมัติเมื่อเกิดการบดบังบนแผง รวมถึงการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีความไม่แน่นอน แปรผันตามสภาพอากาศ ดังนั้น การพยากรณ์ค่ากำลังการผลิตของโซลาร์เซลล์ที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าทั้งได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เจ้าคุณโซลาร์เซลล์' มองอีกด้าน! 'พีระพันธุ์-รทสช.' ยื่นร่างกม.ปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป
พระปัญญาวชิรโมลี (นพพร ธีรปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือ โรงเรียนเสียดายแดด พระนักพัฒนาที่ได้นำความรู้จากการศึกษาโซลาร์เซลล์
CP LAND ส่ง ‘Solar Cell for Life’ นำร่อง อสังหาฯ ไทยรายแรกคว้ารางวัลระดับเอเชีย ‘Community Initiative Award’ ด้านความยั่งยืนเพื่อชุมชน จาก ACES Awards 2024
บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP LAND ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ได้รับรางวัล Community Initiative Award ในงาน Asia’s Corporate Excellence & Sustainability (ACES) Awards 2024 จัดโดย MORS Group
CP LAND X พันธมิตร ส่งต่อความสุขเดินทางได้ ปีที่ 2 “Solar Cell for Life” ให้ชุมชนห่างไกล อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น เสริมคุณภาพเพื่อทุกชีวิต
บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP LAND บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย เดินหน้าพร้อมพันธมิตร และ พี่น้องประชาชนชาวดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยหน่วยงานจากภาครัฐ อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนตำบลดงลาน
อยากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในบ้าน เลือกขนาดไฟกี่วัตต์ให้ตอบโจทย์?
การติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาบ้าน หรือ ‘โซลาร์เซลล์’ เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ในกลุ่มทำธุรกิจอุตสาหกรรม
‘อดุลย์’ ชี้กลุ่มการเมืองกับทุนพลังงาน ร่วมกันปล้นเงินจากกระเป๋าประชาชน
‘อดุลย์’ชำแหละ ราคาไฟฟ้าแพงเพราะการสมคบคิดของกลุ่มทุนพลังงานกับการเมืองปล้นเงินจากกระเป๋าประชาชน ด้วยการผลิตล้นเกินไม่ใช้ก็ต้องจ่าย หนุน”พีระพันธุ์”รื้อโครงสร้าง ยกเลิกสัมปทานที่ไม่ชอบธรรม เร่งขุดทรัพยากรทางทะเลที่อ้างพื้นที่ทับซ้อน ซื้อพลังงานจากรัสเซีย เตือนรัฐบาล ระวังประชาชนจะหมดความอดทน
นักวิชาการแนะทางแก้ 'ปลาหมอคางดำ' เชื่อแพร่พันธุ์ภาคอีสานยาก
ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้ยังคงไม่พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในภาคอีสาน