หลังจากที่กรมการแพทย์แผนไทยฯประกาศ “สมุนไพร Herbal Champions 15 รายการ” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า วางเป้าหมายออกสู่ตลาดโลก สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 สมุนไพรที่มีความพร้อมเพื่อการพัฒนาต่อยอด 3 รายการ ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และกระชายดำ และกลุ่มที่ 2 สมุนไพรที่มีศักยภาพและต้องการความต่อเนื่องในการพัฒนา 12 รายการ ได้แก่ บัวบก มะขามป้อม ไพล ขิง กระชาย ว่านหางจระเข้ กวาวเครือขาว มะระขี้นก เพชรสังฆาต กระท่อม กัญชง และกัญชา
แม้ว่าสมุนไพรไทยจะมีศักยภาพสู่ตลาดโลก แต่การยอมรับ และใช้สมุนไพรในการรักษาพยาบาลภายในประเทศยังเป็นสิ่งที่ต้องการการขับเคลื่อนต่อไป เพื่อให้เกิดการรับรู้และการเข้าถึงในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของโรงพยาบาล และประชาชน
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมแพทย์แผนไทยฯ เห็นแง่มุมที่ในประเทศนยังใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาพยาบาลน้อย กรมฯจึงมีแผนที่จะผลักดันยาสมุนไพรไทยเข้าสู่ระบบสาธารณสุขนั้นได้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ปลายน้ำ กลางน้ำ และต้นน้ำ เพราะไทยได้มีการเปลี่ยนระบบการรักษาพยาบาลมาเป็นแบบแพทย์แผนตะวันตกเกือบ 100 ปี ทำให้วิวัฒนาการด้านการักษาหรือยามีการพัฒนามาตามยุคสมัย ซึ่งในขณะเดียวกันศาสตร์แพทย์แผนไทยก็ไม่ได้ถูกยกระดับหรือพัฒนาตามมาด้วย ดังนั้นการจะสร้างให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาแบบแพทย์แผนไทย สิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่น แม้ว่าจะมีสมุนไพรบางตัวสามารถพัฒนาทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ และสมุนไพรหลายตัวก็ได้บรรจุเข้าไปเป็นตัวยาในบัญชียาหลัก ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเพิ่มขึ้นอีกคือ การจัดระบบเพื่อเปิดทางให้เกิดการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น
เส้นทางของปลายน้ำ เริ่มด้วยปรับจุดอ่อนของแพทย์แผนปัจจุบัน ให้มาเป็นจุดแข็งของแพทย์แผนไทย นพ.ธงชัย กล่าวว่า หากสังเกตในปัจจุบันจะพบว่า คนส่วนใหญ่เวลาไม่สบายก็จะเลือกไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน แม้ว่าจะมีจุดให้บริการของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล เพราะสิ่งที่ยังขาดที่กล่าวไปข้างต้นคือ ความเชื่อมั่น ดังนั้นการจะยกระดับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยจึงไม่ใช่แค่การทำวิจัย ต้องเสริมด้วยการให้บริการ ด้วย 5 โรคพื้นฐานที่แพทย์แผนไทยทำอยู่และทำได้ดี ได้แก่ 1.โรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดตามร่างกาย การนอนไม่หลับ 2โรคอัมพฤกษ์อัมพาต 3.โรคติดยาเสพติด โดยอยู่ในระบบของโรงพยาบาลในสังกัดสธ. กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต ซึ่งตรงส่วนนี้กรมการแพทย์แผนไทยฯ ไม่ได้อยู่ในระบบ ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งส่วนที่จะต้องเข้าไปอยู่ในระบบให้ได้ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลในการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา
4.โรคผิวหนัง เช่นโรคสะเก็ดเงิน อย่างที่รพ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่มีการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยสมุนไพร และที่รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรีก็มีนำยาสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอยู่ประมาณกว่า 3,000 คน กรมการแพทย์แผนไทยจึงเห็นช่องทางการพัฒนาให้โรงพยาบาลต่างๆ ในนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษา และ 5.การอยู่ไฟสำหรับสตรีหลังคลอด ซึ่งเริ่มมีการให้บริการในทุกโรงพยาบาล โดยทั้ง 5 โรคพื้นฐานนี้ใอยู่ในระบบการเบิกของสปสช. สิทธิประกันสังคม
เป้าหมายอีกประการ คือ การลบภาพลักษณ์แพทย์แผนไทยคือ หมอนวด มีจุดยืนที่ชัดเจนด้วยการรักษาด้วยแผนไทยที่ชัดขึ้น ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯก็ได้จัดตั้งคลินิกสุขสำราญนิทรา ตั้งอยู่ที่รพ.ยศเส, กรมแพทย์แผนไทยฯ และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ที่ให้บริการหลักเกี่ยวกับโรคปวดเรื้อรังและการนอนไม่หลับ เป็นทางเลือกให้ผู้รับบริการ เมื่อทำโมเดลทั้ง 3 แห่งนี้ชัดเจนก็จะมีแผนในการเสนอต่อแพทย์สาธารณสุขทั่วประเทศ ที่ต้องดำเนินการรักษาโรคพื้นฐานเหล่านี้ด้วยแพทย์แผนไทย
นอกจากนี้ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ การจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันในการจ่ายยารักษาให้แก้ผู้ป่วย ยังต้องเพิ่มความสมบูรณ์และพร้อมใช้งาน มีงานวิจัยรองรับ อย่างเช่นการระบุว่า ขมิ้นชัน ใช้แทนยา Omeprazole ในการรักษาโรคกระเพาะ, เพชรสังฆาต ใช้แทนยา Daflon แก้โรคริดสีดวง, เสลดพังพอน ใช้แทนยา Acyclovir แก้โรคเริม เป็นต้น และจะต้องมีทำข้อเปรียบเทียบผลข้างเคียง ปฏิกิริยาการใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ข้อควรระวังในเรื่องของพิษที่อาจส่งผลต่อตับหรือไตในคนไข้บางราย และวิธีการรับประทาน ซึ่งขั้นตอนนี้อยู่ในระหว่างการทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ พร้อมกับบรรจุในระบบของการสั่งยาของแพทย์ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน และสิ่งสำคัญที่กำลังดำเนินการต่อไปคือ การให้ข้อมูลแก่เภสัชกร ที่จะเป็นตัวเชื่อมสำคัญในการแนะนำยาสมุนไพรแก่แพทย์
“ในการผลักดันให้ใช้สมุนไพรในการรักษา เราจะชี้ให้แพทย์เห็นว่า ถ้าสั่งยาแผนปัจจุบันให้คนไข้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรหันมามองยาสมุนไพร ที่แต่ก่อนอาจเป็นทางเลือก ส่วนเภสัขกร ก็ควรดึงยาสมุนไพรเข้ามาอยู่ในบัญชี ” นพ.ธงชัย กล่าว
โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการทำตัวชี้วัดให้แก้โรงพยาบาลในการเพิ่มสัดส่วนยาสมุนไพรเข้าไปทดแทนยาแผนปัจจุบัน จากการประเมินใบสั่งยาของทางโรงพยาบาล เช่น ในใบสั่งยา 100 ใบ ก็จะมีประมาณ 20 ใบที่มีการสั่งยาสมุนไพร แยกเป็นสัดส่วนในการประเมินพบว่าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีสัดส่วนการจ่ายยาสมุนไพรค่อนข้างเยอะอยู่ที่ประมาณ 40%-50% ส่วนในโรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ มีประมาณไม่ถึง 10% แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 20% แนวโน้วคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในท้องตลาดและร้านขายยา ทางกรมก็จะมีการช่วยโปรโมทยาสมุนไพรที่บริษัทเอกชนทำอยู่ให้ประชาชนรับรู้ว่าใช้ได้ อย่าง ฟ้าทะลายโจร โดยมีภาครัฐรับรอง
และในปัจจุบันแพทย์แผนไทยในสังกัดสธ.มีอยู่ประมาณกว่า 1,000 คน ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนที่น้อยเพราะคนยังไม่ให้ความสำคัญ หรือคนยังเข้าไม่ถึง ส่งผลให้ความต้องการยังไม่มากพอ จึงทำให้โรงพยาบาลอาจจะไม่มีการรับแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ แต่ในระบบแพทย์มีแพทย์แผนไทยที่หลักสูตรแพทย์แผนไทยจากการสถาบันที่ผลิตแพทย์แผนไทยกว่า 30 แห่งในประเทศ ราวๆ 20,000 คน เพียงแต่ไม่ได้อยู่ในสังกัดสธ.
” แผนทั้งหมดนี้หากร่วมกันขับเคลื่อนคาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงภายใน 1 ปี หากปลายน้ำและต้นน้ำแข็งแรง กระบวนการของกลางน้ำก็จะแข็งแรงไปด้วย แม้ว่าในตอนนี้ ในประเทศไทยยังมีโรงงานสารสกัดไม่เยอะ จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันที่มีกัญชา ทำให้เกิดโรงงานสารสกัดเยอะขึ้น ที่จะมีส่วนให้เกิดการกระตุ้นการสกัดสมุนไพรได้มากขึ้นด้วย “นพ.ธงชัยกล่าว
เส้นทางต้นน้ำ การเชื่อมกันระหว่างผู้ประกอบการและเกษตรกร นพ.ธงชัย มองว่า จุดที่เป็นปัญหาสำคัญ คือประเทศไทยนำเข้าสารสกัด เช่น ขมิ้นชัน บัวบก ไพร มะขามป้อม จากประเทศจีนและอินเดีย อาจจะดูขัดจากภาพลักษณ์ที่ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แม้ว่าจะมีการปลูกสารสกัดเหล่านี้แต่ก็เพียงพอ จึงได้ลงไปสอบถามผู้ประกอบการทำให้พบว่า ผู้ประการขาดความมั่นใจในเรื่องคุณภาพที่ต้องไม่มีสารปนเปื้อน การติดต่อรับซื้อตรงตามเวลา และไม่มีการนำผลิตภัณฑ์ที่เยอะเกินมาเทขาย อีกมุมหนึ่งก็มีผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสารสกัดเช่นกัน ด้วยการทำข้อตกลงกับฟาร์มที่สามารถปลูกสมุนไพรให้เป็นไปตามมาตรฐานได้
อธิบดีกรมแพทย์แผนไทย ฯกล่าวอีกว่า ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องหาจุดที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ อย่างในพื้นที่จ.ยโสธรมีฟาร์มหนึ่งที่ปลูกข้าวประมาณ 300 ไร่ ได้รับมาตรฐาน International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM ที่รับรองว่าข้าวไม่มีสารปนเปื้อนและสารเคมี ซึ่งทางฟาร์มก็ยังมีพื้นที่เหลือสามารถปลูกสมุนไพรได้ แต่ติดปัญหาตรงที่ไม่มีผู้ประกอบการมาทำข้อตกลงเกี่ยวการทำสมุนไพร ดังนั้นกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจจะต้องมีบทบาทที่การเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ประกอบการและเกษตรกรให้เกิดกานพูดคุยทำข้อตกลงกัน และอีกวิธีคือการรับรองการปลูกและการเก็บเกี่ยวสำหรับสมุนไพรโดยใช้มาตรฐาน Good Agricultural and Collection Practic: GACP ซึ่งก็ต้องมีการพูดคุยกันพอสมควร เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ทำแบบ Food Grade ที่ใช้ยาฆ่าแมลงได้ อย่างช่วงแรกที่มีการทำในกัญชา ต้องมีการทำข้อตกลงว่าชัดเจนว่าห้ามใช้ยาฆ่าแมลง ต้องซึ่งเป็นการปลูกในนระดับ Medical Grade มีการตรวจดินและกัญชาที่ส่งมาเพื่อตรวจว่าปลอดสารโลหะหนัก ก่อนนำไปผลิตยา ถึงแม้ว่าเกษตรกรอาจจะทำเกษตรในรูปแบบ Medical Grade ไม่มาก ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ จึงต้องมีการทำให้ดูก่อนเพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ในการนำมาผลิตเป็นยา
นพ.ธงชัย กล่าวอีกว่า โดยในขณะนี้ทางกองยา ของกรมแพทย์แผนไทยฯ ก็ได้มีการทำข้อมูลเกี่ยวยาสมุนไพรที่มีการผลิตใช้น้อย และหายากก็จะเป็นผู้ผลิตให้แก่โรงพยาบาลหรือเอกชนที่ผลิตไม่ได้ รวมไปถึงการตั้งโรงงานผลิตสมุนไพรเพื่อใช้ในโรงพยาบาลสังกัดสป.ประมาณ 80 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้มีการติดต่อกับชาวบ้านในการรับซื้อและผลิตเอง แต่ก็มีการปรับบทบาทโดยที่จะไม่ให้เป็นคู่แข่งกับเอกชน จะทำเพียงเพื่อใช้ภายในโรงพพยาบาลเท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นจะยาตัวที่เอกชนไม่มีขายในท้องตลาด อย่างไรก็ตามก็มียาสมุนไพรบางตัวที่ต้องรับซื้อจากเอกชนเช่นกัน ด้วยจำนวนที่มีเยอะ และราคาถูกกว่า
ทั้งนี้ในส่วนของพรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 นพ.ธงชัย แสดงความเห็นว่า ได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อช่วยให้สมุนไพรง่ายต่อการขึ้นทะเบียนมากขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จากเดิมที่ใช้ระยะเวลากว่า 10 ปี ในตัวพรบ.ฉบับนี้ยังมีการวางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนสมุนไพรายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ภาคพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อร่วมผลักดันในส่วนของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผลลัพธ์คือดีขึ้น
โดยข้อมูลจาก Euromonitor International รายงานว่าภาพร่วมสมุนไพรไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ระบุว่าในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ในปี 2564 มีมูลค่ากว่า 48,000 ล้านบาท และในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 52,000 ล้านบาท จะเห็นว่าแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ก็มีอัตราการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง อาจจะด้วยสมุนไพรเป็นตัวเลือกในการช่วยบรรเทาอาการโควิด ดังนั้นจึงได้ตั้งเป้าในอีก 5 ปี หรือภายในปี 2570 สมุนไพรไทยจะต้องมีมูลค่าเติบโตขึ้นให้ได้ 90,000-100,000 ล้านบาท และทำให้ประชาชนหันมาสนใจหรือใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 4% แต่ความท้าทายคืออยากจะเพิ่มให้ถึง 20%.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี!นักวิจัยไทยคิดค้นแผ่นแปะผู้ป่วย 'โรคสะเก็ดเงิน'
รัฐบาลเผยนักวิจัยไทยคิดค้นนวัตกรรมแผ่นแปะสำหรับผู้ป่วย 'โรคสะเก็ดเงิน' คว้ารางวัลเหรียญเงินจากเวทีนานาชาติ เพิ่มทางเลือกการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
'หมอธีระวัฒน์' ย้ำกัญชาช่วยรักษาโรคทางสมอง ไทยสรรหาแต่โทษ รอให้ฝรั่งทำเป็นยามาขาย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง ที่ปรึกษาวิทยาลัยแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า
ข่าวดี! บอร์ด สปสช. เพิ่มงบแพทย์แผนไทย ช่วยผู้ป่วยบัตรทอง
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบวาระพิจารณา (ร่าง) หลักเกณฑ์
นายกฯปลื้มผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยคงอันดับ 1 ในอาเซียน
นายกฯดัน Medical and Wellness Hub ต่อเนื่อง ยินดีตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยคงอันดับ 1 ในอาเซียน เดินหน้าจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ เชื่อมั่นสร้างรายได้ 300 ล้าน
'พระราชินี' เสด็จฯทรงร่วมกิจกรรม ‘วิ่งเฉลิมพระเกียรติ CIB RUN เคียงข้างประชาชน’
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน (เป็นการส่วนพระองค์)ไปทรงร่วมกิจกรรม “วิ่งเฉลิมพระเกียรติ CIB RUN เคียงข้างประชาชน”
'สาระ ล่ำซำ' คว้ารางวัล 'สุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน' ประจำปี 2566
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) รับรางวัลเกียรติยศ “สุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน (Popular Vote) ประจำปี 2566”