ดื่มด่ำเพลงอมตะ 84 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดงานเอาใจแฟนคลับวงดนตรีสุนทราภรณ์ภายใต้งานเทศกาลดนตรี Ministry of Culture Music Festival : Summer Hit Songs (MOC MU FES) ปี 2566  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2566  ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” 

ในการแสดงดนตรี 84 ปี สุนทราภรณ์ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบช่อดอกไม้ให้แก่นายณรงค์ เนตรเจริญ ผู้ควบคุมวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยมี นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมแฟนเพลงสุนทราภรณ์ร่วมชมการแสดงดนตรีแน่นขนัดหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม

รายการแสดงดนตรี 84  ปี สุนทราภรณ์ เริ่มต้นด้วยการเสวนา “เส้นทางสู่ 84 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์” 
ณ หอประชุมเล็ก ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางรวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล)  ดร.สง่า ดามาพงษ์  นายชาตรี ชุมจิตร ดำเนินการเสวนาโดย ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ  ตลอดการเสวนาให้ทั้งสาระและความบันเทิง ไม่ใช่แค่ประวัติความเป็นมา แต่บอกเล่าถึงพัฒนาการของวงดนตรีสุนทราภรณ์ในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งวงโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ควบคุมวง จนถึงวันที่สูญเสียครูเอื้อ เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจดนตรี เข้าสู่ยุคที่สอง ยุคที่สาม มีการบรรเลงคอนเสิร์ตของวงดนตรีสุนทราภรณ์ผ่านรายการทีวี มีการสร้างนักร้องวงสุนทราภรณ์คลื่นลูกใหม่ที่เข้ามาสืบสานเพลงสุนทราภรณ์ ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ในวงเสวนายังมองไปข้างหน้าอีกด้วย

นางรวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ วัย 86 ปี นักร้องสุนทราภรณ์  กล่าวว่า บรมครู เอื้อ สุนทรสนาน เป็นบุคคลสำคัญของโลก และถือเป็นบิดาคนที่สองที่ตนรักและบูชา  ตนอยู่ในครอบครับที่มีฐานะยากจน ระหว่างเรียนหนังสือได้ยินเสียงแว่วของเพลงจากวิทยุข้างบ้าน ช่วง ม.6 ได้ฟังเพลงสุนทราภรณ์ของครูเอื้อ ความไพเราะเป็นแรงบันดาลใจ รักเพลง จำเนื้อ จดเนื้อ และร้องตาม  เมื่อ จบ ม.ปลาย อายุ 17 ปี เพื่อนครูเอื้อที่อยู่ข้างบ้าน ชวนให้สมัครเป็นนักร้องวงดนตรีสุทราภรณ์ พบครูเอื้อครั้งแรกที่กรมประชาสัมพันธ์ ครูเอื้อบอกว่า ถ้าจะเอาดีทางนี้จะฝึกหัดร้องเพลงให้ ถือเป็นประกาศิตสวรรค์ ค่อยๆ สอนและต่อเพลง สอนตั้งแต่หายใจ อักขระวิธี การออกคำ  ร้องให้เพราะ ให้อารมณ์ในบทเพลง ใช้เวลาหนึ่งปีเศษกว่าจะได้ออกอากาศวิทยุกระจายเสียง จากนั้นสอนให้เข้าวง ทำให้ชีวิตมีวันนี้ มีมรดกล้ำค่าของวงดนตรีสุนทราภรณ์อยู่กับตัว

“ ครูเอื้อเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง  นักดนตรีที่ทรงพลัง เพลงของสุนทราภรณ์ไพเราะและมีอิทธิพล เพลงแทรกสถาบันพระมหากษัตนิย์ที่คนไทยเชิดชูสูงสุด ถวายพระพรผ่านเพลง ทั้งยังถวายงาน วง อ.ส.วันศุกร๋ เพลงรักชาติของครูเอื้อก็มีมากมาย ความเป็นไทยแทรกซึมอยู่ในใจ แล้วยังมีเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง บทเพลงสุนทราภรณ์ปลุกเร้าให้คนรื่นเริงจนทุกวันนี้ ครูเอื้อมอบบทเพลงให้ทุกสถาบันทั่วไทย ส่วนเพลงรักมัทั้งหวานซึ้งและสะเทือนใจ ทั้งยังสร้างเพลงที่เนื้อหาแฝงปรัชญาชีวิต ทุกยุควงสุนทราภรณ์ได้พัฒนา คัดเลือกและสร้างนักร้องให้ยืนยงและยิ่งใหญ่ เป็นความไพเราะที่เฉพาะตัวมีเอกลักณณ์    “ นางรวงทอง กล่าวรำลึกสุนทราภรณ์

ฟังเสวนาแล้ว มาฟังเพลงสุนทราภรณ์ เข้าสู่ช่วงการแสดงคอนเสิร์ต “84ปี สุนทราภรณ์” ณ หอประขุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุกองคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ดร.จรัลธาดา กรรณสูต และศ.พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจองคมนตรี ร่วมรับชม 

การแสดงเริ่มด้วยบทเพลงเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ เพลงพุทธศาสตร์คู่ไทย เพลงบ้านเกิดเมืองนอน ต่อด้วยบทเพลงไพเราะยอดนิยมตลอดกาลที่คุ้นหูกันดี ไม่ว่าจะเป็นเพลงรอคำรัก รักเร่  สนสามพราน  ดาวจุฬา  สาวอัมพวา  ขอให้เหมือนเดิม  หนึ่งในดวงใจ  พี่รักเจ้า  รักเธอเสมอ  ใจตรงกัน  รักแม่เอ๊ย  เพลงดอกพุดตาล  เพลงเทศกาลสงกรานต์ เพลงของเราและแด่ที่รักใคร่ เป็นชุดฟีนาเล่  และบทเพลงทรงคุณค่าอีกมากมาย ช่วยสร้างความสุขให้แฟนเพลงได้ชมกันอย่างเต็มอิ่ม  เหล่าแฟนเพลงประทับใจกับความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์        

นอกจากรายการเทศกาลดนตรี MOC MU FES 2023 นี้แล้ว สวธ.ร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนจัดการแสดงคุณภาพทั้งของประเทศไทยและระดับนานาชาติ สร้างความสุขให้ตลอดปี 2566  ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊คกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และรายการแสดงต่าง ๆ ของศูนย์วัฒนธรรมที่ www.tccbooking.net/activity

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ฉากยิ่งใหญ่โขนศิลปาชีพ'พระจักราวตาร'

เพื่อเฉลิมฉลอง 2 โอกาสมหามงคลของปวงชนชาวไทย ได้แก่ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เชิดชู 'บูรพศิลปิน ครูเอื้อ สุนทรสนาน' บุคคลสำคัญของโลก

โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงจัดงานแถลงข่าวคอนเสิร์ตเชิดชู “บูรพศิลปิน ครูเอื้อ สุนทรสนาน” บุคคลสำคัญของโลก ปี 2553 โดยมีอติพร เสนะวงศ์ (ทายาท) กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีบอกเล่าเรื่องราวของ

วธ.จัดการแสดงเทิดพระเกียรติสถาบันกษัตริย์

5 มิ.ย. 2567 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดแถลงข่าวกิจกรรมเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ดนตรีภาษาสากล ถักทอมิตรภาพไทย-รัสเซีย

คณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้าน Pyatnitsky ซึ่งรวบรวมนักแสดงมากฝีมือ ทั้งนักร้อง นักเต้นรำ และนักดนตรีชั้นยอดจากภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย  จัดการแสดงเพลงรัสเซียในรูปแบบศิลปะดั้งเดิมสุดไพเราะ งดงามตระการตา ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี