ครม.เห็นชอบวธ.เสนอ ชุด‘เคบายา’ (Kebaya)ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกับมาเลเซีย

12 เม.ย.2566- นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 เห็นชอบให้กระทรวงวัฒนธรรม เสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก โดยให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในปี 2567

อธิบดีสวธ. เปิดเผยต่อว่า การนำเสนอมรดกร่วมในครั้งนี้ มีที่มาจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้รับการประสานจากประเทศมาเลเซียผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ให้ร่วมกันพิจารณาเสนอขึ้นทะเบียนรายการมรดกร่วม (multi-national nomination) เคบายา (Kebaya) ในบัญชีตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative list of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL) สวธ.จึงได้เนินการศึกษาข้อมูลทางวิชาการและแนวทางการเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา โดยร่วมมือกับนักวิชาการและชุมชนที่เกี่ยวข้องจัดทำเอกสารตามแบบฟอร์มของยูเนสโก (ICH-02) ให้เป็นไปตามขั้นตอนการเสนอมรดกร่วม ดังนี้

การขอเสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ต่อยูเนสโก ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศผู้เสนอหลัก และได้เชิญประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย รวมเป็น 5 ประเทศนำเสนอร่วม ซึ่งทั้ง 5 ประเทศจะร่วมกันจัดทำข้อมูลตามแบบฟอร์ม (ICH-02) มีการคัดเลือกภาพถ่าย และจัดทำวีดิทัศน์ โดยมีการจัดประชุมระหว่างประเทศขึ้น 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2565 (ผ่านระบบออนไลน์) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6 – 8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ประเทศอินโดนีเซีย และครั้งที่ 3 ในวันที่ 8 มีนาคม 2566 (ผ่านระบบออนไลน์) จากนั้น ประเทศมาเลเซีย จะทำหน้าที่รวบรวมเอกสารจากประเทศที่ร่วมเสนอ เพื่อดำเนินการจัดส่งเอกสารรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ให้ยูเนสโก ตามลำดับ

เคาบายา นี้เป็นองค์ประกอบหลักในวัฒนธรรม การแต่งกาย บาบ๋า – เพอรานากัน ที่ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยในการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เคบายา ได้รับความร่วมมือจาก สมาคมเพอรานากันประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต เป็นผู้สนับสนุนและจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอรายการมรดกร่วม เคบายา (Kebaya) ตามที่ประเทศมาเลเซียได้ประสานมา พร้อมกับประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ ในการเสนอต่อยูเนสโก

ซึ่ง เคบายา เป็นเสื้อสตรีพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกายบาบ๋า – เพอรานากัน ในภาคใต้ของไทย เป็นวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มคนที่มีเชื้อสายจีนและมลายู กลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากปีนังและมะละกาที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายบริเวณคาบสมุทรมลายู และเข้ามาอยู่ในมณฑลภูเก็ตในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทำให้เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมระหว่างผู้เข้ามาและคนในท้องถิ่นดั้งเดิม อันแสดงถึงการอยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างสันติสุข ทั้งนี้ การสวมใส่เคบายา (Kebaya) ในวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคนี้ นอกจากคุณค่าความสวยงามแล้ว การเสนอเป็นมรดกร่วมที่สอดคล้องคล้ายคลึงกันยังบ่งบอกถึงความผูกพันและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศอีกด้วย

ข้อดีของการเสนอมรดกร่วม ด้วยอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก จะเน้นให้การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและร่วมกัน การเสนอร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย อันจะมีผลให้ไทยและประเทศที่เสนอร่วม ได้รับการขึ้นทะเบียนเพิ่มมากขึ้น โดยยูเนสโกจะให้ความสำคัญการพิจารณามรดกร่วมเป็นลำดับต้นซึ่งสามารถประกาศขึ้นระเบียนได้ทุกปี จะแตกต่างจากการเสนอรายการเดี่ยวของแต่ละประเทศ จะได้รับการพิจารณาเว้นระยะการขึ้น 1 ปี สำหรับการเสนอรายการมรดกร่วม


เคบายา (Kebaya) พร้อมกับประเทศอื่นในครั้งนี้ จะมีผลผูกพันต่อภารกิจที่ประเทศไทย ต้องดำเนินการตามมาตรการที่อธิบายไว้ในแบบฟอร์มของยูเนสโก โดยประเทศไทย ต้องดำเนินการสืบทอด ถ่ายทอดทักษะในการทำเสื้อเคบายา (Kebaya) ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และมีการส่งเสริมเผยแพร่การนำไปใช้ในงานประเพณี พิธีกรรมและงานเทศกาล ให้มีการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ งานวิจัยและนำเสนอความรู้ในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อดิจิตอล รวมทั้งจะทำให้เกิดการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ส่งผลต่อการสงวนรักษาของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความร่วมมือในทั้งระดับชุมชนและประเทศ อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท

สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท

แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม