นักวิจัยมหิดล หนึ่งเดียวในเอเชีย ร่วมโครงการระดับโลก 'คิดค้นยาใหม่รักษาโรคติดเชื้อจากรา'

โรคติดเชื้อจากเชื้อรา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการคันในร่มผ้า ซึ่งเกิดขึ้นภายนอกร่างกายแต่ในความเป็นจริงโรคติดเชื้อรา อาจลุกลามจนถึงขั้นต้องรักษาในโรงพยาบาล เพราะเกิดการติดเชื้อราในกระแสเลือดอย่างรุนแรง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด หรือยากดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ซึ่งมีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาล  ที่ผ่านมา การรักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราชนิดรุนแรง ต้องใช้ยาฉีดที่มีราคาสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า2 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับค่ายา รวมทั้งค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ

แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จากการวิจัยโดยบริษัทยายักษ์ใหญ่ระดับโลกแห่งสหรัฐอเมริการ่วมกับนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องจากทั่วโลก ซึ่งได้ทำการทดสอบแล้วกับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจำนวนรวมทั้งสิ้นเกือบ 200 รายใน 15 ประเทศทั่วโลกในการศึกษาระยะที่ 3 ทำให้โลกได้เข้าใกล้ความเป็นจริง ที่จะได้มียาต้านเชื้อราประเภทออกฤทธิ์ยาว (Long-Acting Antifungal)ที่จะทำให้ผู้ป่วยรับยาได้น้อยลง จากที่ต้องฉีดยาทุกวัน เหลือเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยยาใหม่นี้ยังคงมีประสิทธิภาพเช่นเดิม และมีผลข้างเคียงน้อย

และหนึ่งในนักวิจัย ที่มีส่วนร่วมการศึกษาวิจัยยาชนิดใหม่รักษาโรคติดเชื้อจากรา   คือ รศ. ดร. นพ.เมธี ชยะกุลคีรี  อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้เป็นผู้แทนนักวิจัยเพียงหนึ่งเดียวจากภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับเชิญเป็นผู้ร่วมนิพนธ์ผลงานตีพิมพ์จากงานร่วมวิจัยและพัฒนายารักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราแคนดิไดอะซิส (Candidiasis) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยระดับโลก  ซึ่งได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการ “Lancet”  ซึ่งอยู่ใน Top 1% ของโลก

โรคติดเชื้อจากเชื้อราเกิดขึ้นได้จากเชื้อราหลากหลายสายพันธุ์ โดยขณะนี้โครงการวิจัยในระยะที่ 3 ได้สำเร็จแล้วและคาดว่าจะสามารถพัฒนาต่อไป เพื่อเพิ่มข้อบ่งชี้ให้ผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ ใช้ยาได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งจะพัฒนาเพื่อให้สามารถรักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราได้หลากหลายชนิดมากยิ่งขึ้น  


สำหรับ ประเทศไทยได้ร่วมโครงการวิจัยยารักษาดังกล่าว โดยมีศูนย์วิจัย 5ศูนย์ กระจายในประเทศ และมีรพ.ศิริราชฯ เป็นศูนย์ใหญ่เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก เข้ารับการวิจัยทดลองทางคลินิก  ซึ่งหากการศึกษาระยะที่ 3 ประสบผลสำเร็จอย่างดี ก็จะมีการยื่นขอจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ส่วนการวิจัยในสหรัฐ หากการวิจัยระยะที่  3 ผลสำเร็จด้วยเช่นกัน จะมีการยื่นขอจดทะเบียนต่อองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDAด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถใช้ได้จริงอย่างกว้างขวางต่อไปในผู้ป่วยภายใน 1-2 ปีข้างหน้า

“โครงการวิจัยฯ ได้ผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยมาแล้วจากการศึกษาระยะที่ 1 และ 2 และผลการศึกษาระยะที่ 3 นี้ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจในผู้ป่วยชาวไทย “รศ.ดร.นพ.เมธีกล่าว

รศ. ดร. นพ. เมธี   ยังกล่าวอีกว่า ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งผู้ติดเชื้อHIV และผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันว่า ควรหลีกเลี่ยงรับประทานผักผลไม้ที่ดิบ และสด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของเชื้อก่อโรคจากเชื้อรา ที่อาจลุกลามรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้สดชนิดเปลือกบาง  นอกจาก นี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดจะต้องสะอาดและปรุงสุกอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

มหิดลตั้ง'ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล' คุมศูนย์ตรวจสอบ สารต้องห้ามในนักกีฬา

ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการรับรองจาก องค์การต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาชุดใหม่ เรียบร้อยแล้ว