กรีนพีซ เรียกร้องรัฐบาลรักษาการณ์ ต้องประกาศให้พื้นที่ประสบฝุ่นพิษ PM2.5 อย่างหนัก เป็นเขตภัยพิบัติ

30 มี.ค.2566- สืบเนื่องจากตลอดทั้งเดือนมีนาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางแห่งอาเซียน (ASEAN Specialised Metroolorical Centre-ASMC) ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าระวังมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ยกระดับการเตือนภัยสถานการณ์ฝุ่นพิษที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งปกคลุมเหนืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้เป็นระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด (Activation for Alert Level 3 for the Mekong Sub-region)

ฝุ่นพิษข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้ส่งผลให้ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ต้องประสบกับผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงอาการหายใจติดขัด แสบตา เจ็บคอ บ้างมีอาการเลือดกำเดาไหล และไอเป็นเลือด จากการรับสัมผัสฝุ่นพิษในระดับที่เป็นอันตราย(hazardous) โดยมีดัชนีคุณภาพอากาศมากกว่า 100 ขึ้นไปต่อเนื่องกันนับสัปดาห์ นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อสังคมในวงกว้างและต้องมีมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเร่งด่วน

กรีนพีซ ประเทศไทย ซึ่งทำงานรณรงค์เพื่อสิทธิในอากาศสะอาด #RightToCleanAir มีข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการณ์ ดังต่อไปนี้

เพื่อให้สอดคล้องกับการเตือนภัยของศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางแห่งอาเซียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรักษาการณ์สามารถใช้กลไกทางกฎหมายที่มีอยู่ในการประกาศเขตภัยพิบัติในพื้นที่ที่มีผลกระทบจากฝุ่นพิษในระดับที่เข้มข้นต่อเนื่องกันอย่างน้อย 5 วันขึ้นไป โดยใช้เกณฑ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มากกว่า 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงภายใต้มาตรฐานคุณภาพอากาศ PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปที่จะมีการบังคับใช้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 ตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา [3]

ใช้กลไกทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ให้ภาคอุตสาหกรรมเกษตรโดยเฉพาะผู้เล่นรายใหญ่มีความโปร่งใสและภาระรับผิด (accountability) ตลอดห่วงโซ่อุปทานของการทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ(commodity-driven deforestation) โดยมีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการเผาทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บริษัทอุตสาหกรรมเกษตรจะต้องรับภาระความเสียหายรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำบัด เยียวยา และฟื้นฟูคุณภาพอากาศ สุขอนามัยและความเสียทางเศรษฐกิจ หากสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าหรือส่งออกเกี่ยวข้องกับการเผา และการทำลายสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน [4] แทนที่จะผลักภาระทั้งหมดไปยังเกษตรกรที่อยู่ทั้งในระบบและนอกระบบเกษตรพันธะสัญญา
ยุติโครงการเหมืองถ่านหินและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศทุกโครงการ และยุติการสนับสนุนการลงทุนหรือความเกี่ยวข้องใดๆ ของโครงการเหมืองถ่านหินและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน เหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 และปรอทซึ่งเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนที่สำคัญ [5]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ทุบโต๊ะลงดาบเกษตรกร ใครเผาก่อมลพิษ ถูกลงโทษลดเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า นายกรัฐมนตรีได้เร่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งออกมาตรการ เนื่องจากในปีนี้ค่าฝุ่น

'พ่อเมืองบุรีรัมย์' เต้น! สั่งนายอำเภอคุมเข้ม ห้ามเผาทุกพื้นที่ ฝ่าฝืนให้ลงโทษทันที

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) เริ่มมีผลกระทบกับอากาศ และต่อสุขภาพของประชาชน ติอต่อกันหลายวันอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น