คัมภีร์ใบลานโบราณหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ 3 ยุคสมัย ได้แก่ สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งวัดเบญจมบพิตรได้เก็บรักษาไว้ที่ในพระวิหารสมเด็จ ส.ผ. (เสาวภา ผ่องศรี) กรมศิลปากร (ศก.) สำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกับวัดเบญจมบพิตร นำเข้าสู่การดำเนินงานภายใต้โครงการอนุรักษ์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เพื่อทำการสำรวจ ลงทะเบียน จัดเก็บเอกสารโบราณ พร้อมกับการแปลใบลาน ให้เป็นข้อมูลในการศึกษา ซึ่งใช้เวลา 5 เดือนทำงานอนุรักษ์ ปัจจุบันโครงการแล้วเสร็จ กรมศิลปากรส่งมอบคัมภีร์ใบลาน 6,275 ผูก ให้แก่วัดเบญจมบพิตรอนุรักษ์ดูแล อนาคตทางวัดมีแผนจัดทำพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว
พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาการจัดทำโครงการฯ อาศัยความร่วมมือทั้งส่วนราชการ คณะสงฆ์ และภาคประชาชนที่ร่วมเป็นอาสาสมัคร ในการทำการจัดหมวดหมู่ ทำทะเบียน แปลและเก็บรักษา เพื่อให้คัมภีร์โบราณได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบ เพราะเป็นคัมภีร์ที่มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยาจวบจนรัตนโกสินทร์ ที่เจ้านายหลายพระองค์ได้พระราชทานให้กับวัดเบญฯ เป็นองค์ความรู้ในคนรุ่นต่อไป
วัฒนา พึ่งชื่น นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวว่า ผลวิจัยภาคสนามเบื้องต้น คัมภีร์โบราณที่จัดเก็บภายในตู้ธรรม วัดเบญฯ มีคัมภีร์สำคัญ อายุเก่าแก่ที่สุดประมาณ 380 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังมีพบคัมภีร์สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ ข้อสังเกตในสมัยรัตนโกสินทร์ มีเจ้านายชั้นสูงของราชวงศ์จักรีมีส่วนสร้างคัมภีร์ เพราะมีความเชื่อเรื่องพระไตรปิฎกเกิดชึ้น มีการจารึกอักษรขอมผ่านใบลาน เกิดความศรัทธาในการสร้างคัมภีร์ใบลานถวายวัด ซึ่งเจริญถึงขีดสุดช่วงรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา
“ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผลิตพระไตรปิฎกอักษรไทยขึ้นครั้งแรก และไม่มีการทำซ้ำ ในรัชกาลที่ 6 กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเจาะจงสำหรับวัดเบญฯ ถึง 288 ผูก หรือประมาณ 16 รายการ การจัดเก็บไต้องมีการวิเคราะห์ชื่อเรื่อง เนื้อหา เพื่อรวบรวมเป็นหมวดหมู่ จากนั้นทำความสะอาด และนำมาห่อผ้าผูก พร้อมจัดทำเลขแต่ละผูก ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ “
วัฒนาระบุการออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณ ณ วัดเบญฯ แบ่งเป็นประเภทคัมภีร์ใบลาน 425 มัด ออกรหัสเลขที่ได้ 719 เลขที่ รวม 6,275 ผูก และเอกสารโบราณ ประเภทหนังสือสมุดไทย 6 เล่ม ถือเป็นแหล่งเอกสารโบราณใหญ่มาก ทั้งนี้ สามารถใช้ตัวเลขในการสืบค้นของหอสมุดแห่งชาติเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการศึกษาต่อไป
เอกสารสำคัญเบื้องต้น แบ่งได้ 6 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 สมัยอยุธยา เลขที่ 22 เรื่องวิมติวิโนทนี วินยฎีกา ฉบับล่องชาด 12 ผูก สร้างโดยอุบาสกขุนยอดโยธาพ.ศ.2186 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทอง อายุ 380 ปี, เลขที่ 70 เรื่องมิลินทปัญหาบาลี ฉบับทองทึบ 15 ผูก สร้างโดยมหาคงอิน เมื่อ พ.ศ.2291 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อายุ 275 ปี ประเภทที่ 2 สมัยธนบุรี เลขที่ 338 เรื่องสารสังคหะ ฉบับทองทึบ 6 ผูก สามเณรบัวสร้าง พ.ศ.2320 สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี อายุ 246 ปี เลขที่ 323 เรื่องสารสังคหะ ฉบับทองทึบ 13 ผูก ไม่ปรากฏผู้สร้าง พ.ศ. 2321 สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 245 ปี
ประเภทที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์ ร.1 – ร.2 เลขที่ 271 เรื่องธรรมบทอรรถกถา ฉบับทองทึบ 6 ผูก ไม่ปรากฏผู้สร้างพ.ศ. 2328 อายุ 238 ปี, เลขที่ 17-18 เรื่องขุททกสิกขา ฉบับล่องชาด 6 ผูก สร้างโดยเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เมื่อ พ.ศ.2331 อายุ 235 ปี ทั้งเลขที่ 271 และ 17-18 ตรงสมัยร.1 เลขที่ 93 เรื่องทศชาติชาดก ชาดกพระเจ้า 10 ชาติ ฉบับทองทึบ 14 ผูก ไม่ปรากฏผู้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2360 ตรงสมัยรัชกาลที่ 2 อายุ 206 ปี ประเภทที่ 4 สมัยรัตนโกสินทร์ ร.3 – ร.5 เลขที่ 128 เรื่องปปัญจสูทนี คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสูตร ฉบับล่องชาด 11 ผูก สร้างโดยจันทโชติคุณูปการของคุณยายค้อมมารดาพระศรี พ.ศ. 2376 ตรงในสมัยร. 3 อายุ 190 ปี
ประเภทที่ 5 สร้างโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำรวจพบ 16 รายการ(เลขที่) 288 ผูก นับว่าพระองค์มีศรัทธาสร้างคัมภีร์ถวายไว้ในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก คิดเป็น 5% ของคัมภีร์ทั้งหมดที่ลงทะเบียนในพระวิหารสมเด็จ ทั้งนี้ พระองค์บันทึกไว้เป็นการเฉพาะว่า “สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา สำหรับวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อุทิศส่วนพระกุศลถวายฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เลขที่ 524 เรื่องเวสสันดรชาดกกถา ฉบับทองทึบ 16 ผูก สร้างโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ.2461 สมัยร. 6 อายุ 105 ปี
ส่วนประเภทที่ 6 สร้างโดยเจ้าจอมมารดาเปี่ยม สำรวจพบ 26 รายการ(เลขที่) 233 ผูก นับว่าสร้างไว้หลากหลายเรื่องมาก ถ้านำจำนวนผูกมาเปรียบเทียบได้ประมาณ 4 % ของคัมภีร์ทั้งหมด มีข้อสังเกตส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกปีที่สร้างไว้ แต่เพียงประมาณท่านมีชีวิตระหว่าง พ.ศ.2381-2447 สมัยร. 3- ร.5 คัมภีร์ที่สร้างจึงมีอายุไม่เกิน 185 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า
วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน
13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด