ใต้ร่มพระบารมี 241 กรุงรัตนโกสินทร์

วธ.เตรียมจัดงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ และสวนสันติชัยปราการ วัด-แหล่งเรียนรู้ 21 แห่ง เปิดให้เข้าชม หนุนซึมซับประวัติศาสตร์-ท่องเที่ยวมรดกศิลปวัฒนธรรม

28 มี.ค.2566 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เตรียมจัดงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น ระหว่างวันที่ 21 – 25 เมษายน 2566 ณ บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และวันที่ 21 เม.ย. – 7 พ.ค. 2566 ณ สวนสันติชัยปราการ  เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ รวมถึงสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน เป็นเวลา 241 ปี เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้ เรื่องราวประวัติศาสตร์ของพระบรมราชจักรีวงศ์ ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ และความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากมรดกศิลปวัฒนธรรม ต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ สร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า งานดังกล่าวมีวัด หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม หน่วยงานในสังกัด วธ. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจัดกิจกรรม โดยมีวัดและแหล่งเรียนรู้สำคัญที่ร่วมจัดกิจกรรมงานดังกล่าว 21 แห่ง พร้อมเปิดให้ประชาชนทำบุญไหว้พระรับพร เสริมสิริมงคล และเข้าชมแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ 1.พระบรมมหาราชวัง 2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ 3.สวนสันติชัยปราการ 4.พิพิธบางลำพู 5.วัดบวรนิเวศวิหาร 6.พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน 7.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม 

8.วัดชนะสงคราม 9.พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ 10.วัดสระเกศ 11.หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน 12.วัดราชนัดดาราม 13.วัดสุทัศนเทพวราราม 14.วัดประยุรวงศาวาส 15.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 16. มิวเซียมสยาม 17.วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม 18.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 19.พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม 20.ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และ21.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์โดยมีรถ ขสมก.และรถรางนำชม บริการรับ – ส่ง ตามจุดต่างๆ

ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะมีพิธีบวงสรวงเทพยดาวันที่ 20 เม.ย. และพิธีเปิดงานวันที่ 21 เม.ย. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ ภายในประดิษฐานภาพพระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชสักการะ 10 รัชกาล การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night Museum) การสาธิตอาหารโบราณและอาหารชาววัง ในรูปแบบตลาดย้อนยุค การจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 76 จังหวัด ผลิตภัณฑ์ Cultural Product of Thailand : CPOT / ของดี 50 เขต กทม. จุดถ่ายภาพย้อนยุคบริการประชาชน ฯลฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สืบสานงานศิลป์ 2 แผ่นดิน ศิลปกรรมสยาม

เนื่องในวโรกาสมหามงคล 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ชมรมพุทธศิลป์ศิมาลัยทรงธรรม วัดศิมาลัยทรงธรรม กลุ่มศิลปาศรี ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ

บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม - ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล

ยอดชมมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ 5 วัน 5 แสนคน

16 ก.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ