เชียงรายเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยมรดกล้านนา และมีชุมชนศิลปะผ่านพิพิธภัณฑ์ วัด การจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ทีมภัณฑารักษ์ นำโดยฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ,กฤติยา กาวีวงศ์ ,อังกฤษ อัจฉริยโสภณ และมนุพร เหลืองอร่าม เสนอแนวคิด”เปิดโลก” (The Open World) จัดเบียนนาเล่ครั้งนี้ เน้นแง่มุมประวัติศาสตร์ซับซ้อนของเชียงรายเป็นจุดเริ่มต้นทำงานเพื่อเผยมุมมองมิติความหลากหลายวัฒนธรรม และระบบนิเวศของเมืองผ่านงานศิลปะร่วมสมัย ที่สำคัญเปิดพื้นที่เชียงรายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและประเด็นร่วมสมัย
ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผนึกภาคีเครือข่าย แถลงข่าวเปิดธีมจัดงาน Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 พร้อมประกาศรายชื่อ 20 ศิลปินจากทั่วโลก กลุ่มแรกที่ตบเท้าร่วมแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ณ วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย อย่างยิ่งใหญ่ มีศิลปินทั่วจังหวัดมาร่วมแสดงพลังอย่างเข้มแข็ง
อิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า เบียนนาเล่ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก” เปิดโลก” มาจากการลงพื้นที่ศึกษาและค้นหาบริบทของเชียงรายมีข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลกที่ประดิษฐาน ณ วัดป่าสัก ป็นสัญลักษณ์ของพหุวัฒนธรรมแสดงถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมหลากหลายในเอเชีย จนเป็นที่มาของ The Open World หรือ เปิดโลก มหกรรมจะจัดระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 2566 ถึง 30 เม.ย. 2567 ณ จ.เชียงราย เพื่อส่งเสริมให้เชียงรายกลายเป็นเมืองศิลปะระดับโลกและเป็นจุดหมายที่นักเดินทางทั่ว เชิญชวนชาวไทยเป็นส่วนหนึ่งเปิดโลกแห่งการรับรู้ทางศิลปะ เปิดประเทศ และเปิดเมืองเชียงราย เชื่อมโยงศิลปะสู่วิถีชีวิต และร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี
เจ้าบ้าน พุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงาน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ ศิลปินเชียงราย สมาคมขัวศิลปะที่มีสมาชิกกว่า 300 คน องค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงภาคธุรกิจ ขณะนี้พร้อมต้อนรับคณะศิลปินและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาชมผลงานศิลปะ หากมาเยือนจะหลงรักความสวยงามธรรมชาติ ตลอดจนวัด แหล่งประวัติศาสตร์ วิถีวัฒนธรรม ประเพณี เป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านทุนวัฒนธรรม มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย งดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนาและเอกลักษณ์สถาปัตยกรรม ทั้งยังเป็นถิ่นปราชญ์ของแผ่นดิน ศิลปินเชียงรายมีชื่อเสียงระดับโลก อย่าง อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นแบบอย่างสำคัญ ทำให้เชียงรายเป็นเมืองศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง
ด้าน ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ผอ.ฝ่ายศิลป์ เบียนนาเล่ บอกว่า ระหว่างที่ทีมงานภัณฑารักษ์ลงพื้นที่และศึกษาข้อมูล จ.เชียงราย พบข้อมูลพระพุทธรูปปางเปิดโลก วัดป่าสัก สร้างสมัยพญาแสนภู ผู้สร้างเมืองเชียงแสน เป็นหลานของพญามังราย พุทธลักษณะสำคัญพระพุทธรูปประทับยืนอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองข้างห้อยลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงเปิดโลก ทั้ง 3 ได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก แสดงให้เห็นถึงปัญญาและการตื่นรู้ “เปิดโลก” มีความหมายที่ตรงไปตรงมา แต่สามารถตีความได้แบบปลายเปิด สื่อความสำคัญการเรียนรู้จากอดีต ทั้งประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของเชียงราย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโบราณ เช่น โยนกนคร เงินยางเชียงแสน เวียงกาหลง และภูกามยาว จุดกำเนิดประเพณีและมรดกล้านนา จนปัจจุบัน เปิดโลกยังสื่อการอพยพของผู้คนและทุนข้ามชาติ ซึ่งหยุดชะงักหลังโควิด ทำให้เศรษฐกิจถดถอย เบียนนาเล่ครั้งนี้เชื่อมโยงความจริงและพาไปสู่การตั้งคำถามด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยว่า เราจะสามารถจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตที่ดีกว่าอีกครั้งได้หรือไม่
สำหรับ 20 ศิลปินกลุ่มแรกเปิดตัวในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ประกอบด้วยศิลปินชาวไทยและต่างประเทศ ได้แก่ all(zone) กรุงเทพฯ ,อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เชียงใหม่ ,บ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม ราชบุรี , บู้ซือ อาจอ เชียงราย ,Citra Sasmita บาหลี , Ernesto Neto รีโอเดจาเนโร , Haegue Yang โซล / เบอร์ลิน , Ho Tzu Nyen สิงคโปร์ ,กมลลักษณ์ สุขชัย กรุงเทพฯ ,Michael Lin ไทเป / เซี่ยงไฮ้ / บรัซเซล , นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล เชียงใหม่ / ฟูกูโอกะ , Nguyen Trinh Thi ฮานอย , นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ กรุงเทพฯ , รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ / กลุ่ม 101 เฮือนโบราณล้านนา เชียงใหม่ , Ryusuke Kido โตเกียว , สนิทัศน์ ประดิษฐทัศนีย์ กรุงเทพฯ ,. Sawangwongse Yawnghwe อัมสเตอร์ดัม , Soe Yu Nwe ย่างกุ้ง ,ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ เชียงราย และ Tobias Rehberger จากแฟรงก์เฟิร์ต
ตลอด 4 เดือนงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 จะมีนิทรรศการหลัก จัดโดยทีมภัณฑารักษ์ ในสถานที่ต่างๆ ทั่วตัวเมืองเชียงรายและเขียงแสน นอกจากนี้ มีการแสดงผลงานคู่ขนานภายใน Pavilion หรือ ศาลา 10 แห่ง ทั่วเมืองผ่านนิทรรศการกลุ่มของศิลปินและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ ในช่วงเบียนนาเล่นจะมีกิจกรรมพิเศษ เช่น จัดเทศกาลดนตรีชาติพันธุ์ร่วมกับมรภ.เชียงราย งานฉายภาพยนตร์ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และการแสดงสดอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้ชมจะมีโอกาสเยี่ยมชมบ้านและสตูดิโอศิลปินเชียงราย ซึ่งกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ของเชียงราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์