24 มี.ค. 2566- นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรจำนวน 3 รายในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12-23 มีนาคม 2566) จากข้อมูลการสอบสวนทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้ป่วยทั้งสามรายเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 27 – 40 ปี เป็นชาวไทย 2 ราย และต่างชาติที่มีประวัติอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาประมาณ 10 ปี อีก 1 ราย ทั้งสามราย ไม่เคยรู้จักกัน ทั้งนี้ ผู้ป่วย 2 รายล่าสุดให้ประวัติว่ามีเพศสัมพันธ์กับชายแปลกหน้าในสถานบริการที่ไปใช้บริการ โดยกรมควบคุมโรคร่วมกับกรุงเทพมหานคร ส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคลงพื้นที่ พร้อมแยกกลุ่มเสี่ยงสัมผัสโรค ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 3 สัปดาห์
นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2566) พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานรยืนยัน จำนวน 86,646 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 112 ราย พบใน 110 ประเทศ โดยแนวโน้มการระบาดของทั่วโลกลดลง แต่ยังคงพบโรคฝีดาษวานรในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับเพศชาย (MSM) อย่างต่อเนื่อง โดยประเทศที่มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงสุดในรอบ 21 วันเป็น 10 ลำดับแรก ได้แก่ โบลิเวีย (21 ราย) เอล ซัลวาดอร์ (20 ราย) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (18 ราย) สหราชอาณาจักร (17 ราย) กรีซ (14 ราย) เนเธอแลนด์ (14 ราย) สวิสเซอร์แลนด์ (14 ราย) เปอโต ริโก (14 ราย) เลบานอน (12 ราย) และไนจีเรีย (11 ราย)
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรทั้งสิ้น 18 ราย โดย 15 รายก่อนหน้านี้ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว ส่วนผู้ป่วย 3 รายล่าสุดได้รับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร และอาการผื่นเริ่มดีขึ้นแล้ว ซึ่งตำแหน่งที่พบตุ่มหนองอยู่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งมีโอกาสติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กับชายแปลกหน้าในสถานบริการที่มืดสลัว ลักษณะคล้ายคลึงกับการระบาดของโรคฝีดาษวานรในต่างประเทศ เช่น สเปน แคนาดา เมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกโรงพยาบาลเตรียมพร้อมกรณีที่พบผู้สงสัยติดเชื้อหรือผู้มีอาการเข้าข่าย ให้ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันหาเชื้อ และแยกผู้ป่วยจนกว่าจะทราบผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และเน้นย้ำว่า ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษวานรได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ และมีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้าหรือไม่รู้ประวัติมาก่อน หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว
หากมีอาการสงสัย เช่น มีผื่นตามลำตัว เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มตกสะเก็ด หลังจากมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะประชาชนผู้มีประวัติเสี่ยง สามารถแจ้งประวัติเสี่ยงและเข้ารับการตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ท่านได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไข้หวัดนกโผล่ อเมริกันติดเชื้อ ป่วยขั้นรุนแรง
กรมควบคุมโรคเผย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ที่รัฐลุยเซียนา
กรมควบคุมโรค เผย ชาวอเมริกันติดไวรัสไข้หวัดนกจากฝูงนกหลังบ้านเป็นรายแรก หนัก!นอนICU
กรมควบคุมโรค เผยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) รายงาน ผู้ติดเชื้อไวรั
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่