'eisa' พานักศึกษาลงพื้นที่ 'ชุบชีวา'ผ้าทอบ้านหนองลิง โลดแล่น

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยโครงการ eisa (Education Institute Support  Activity) โครงการที่สนับสนุนกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ (สาขาแฟชั่น)และหลักสูตร DBTM คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้า “ร้อยลายดี”บ้านหนองลิง จังหวัดสุพรรณบุรี


ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่มีรากฐานแข็งแรงพร้อมพัฒนาอยู่เสมอ ผ้าทอบ้านหนองลิงเป็นผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนไทยเชื้อสายมอญซึ่งลูกหลานชาวมอญบ้านหนองลิงได้สืบทอดภูมิปัญญาการทอเอาไว้ ตั้งแต่การปลูกฝ้าย การปั่นฝ้าย การทอผ้า การตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มตามเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มาจนถึงวันนี้  

การออกแบบแนววัยรุ่น


แม้หลายสิ่งหลายอย่าง จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่กระแสการใช้ผ้าขาวม้ากลับได้รับความนิยมมากขึ้น  ซึ่งหากได้คนรุ่น โดยเฉพาะนักศึกษาให้เข้ามาช่วยยกระดับผ้าขาวม้าให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าใหม่ๆให้มากขึ้นจากการออกแบบผลงานที่มีความทันสมัย และเข้าใจบริบทของกลุ่มลูกค้า  ก็จะช่วยสืบทอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาในชุมชนได้อย่างดี
สิ่งสำคัญคือเป็นการสร้างประสบการณ์การทำงานจริงให้กับนักศึกษา ในการทำงานร่วมกับชุมชนจากโจทย์ที่ท้าทาย นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับความรู้ต่างๆมากมาย กลับไปพัฒนาตนเองได้ในอนาคต และถือเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาด้านการออกแบบผ้าขาวม้าของชุมชน ที่สร้างความหลากหลายพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ รวมถึงฟื้นฟูและศึกษาเพื่อดำเนินงานอนุรักษ์สืบสานผ้าทอมือพื้นเมืองให้ยั่งยืนสู่คนรุ่นหลัง

การทำงานของนักศึกษาก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับชุมชน ในด้านของสถาบันการศึกษา   ผศ.ศิรินทร์ ใจเที่ยง อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ   ผู้ขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้แก่ชุมชนบ้านหนองลิงกล่าวว่า วันนี้คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ ได้ลงพื้นที่บ้านหนองลิง เพื่อนำนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในวิชาการออกแบบแฟชั่นเพื่อชุมชนมาเก็บข้อมูลและรับโจทย์จากผู้นำกลุ่มทอผ้าจาก”ป้าแต๋ว ” นางนิตยา ใจโต ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านหนองลิง  ผู้ผลิตผ้าไทยภายใต่ชื่อแบรนด์ “ร้อยลายดี”   ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากไทยเบฟโดยโครงการ eisa อย่างต่อเนื่อง  การที่นักศึกษาได้มาลงพื้นที่ในชุมชน ถือเป็นประโยชน์กับนักศึกษามากและหลายคนพบว่า เขาสามารถออกแบบตรงได้กับความต้องการของชุมชนได้มากขึ้น  และได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ของจริง

น้องๆจับต้องชิ้นงานของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองลิงก่อนวางแผนออกแบบ

 “นอกจากนี้ ทางชุมชนก็มีความคาดหวังว่าน้องๆจะมาช่วยพัฒนาสินค้าต่อยอดให้มีรายได้มากขึ้น แนวการออกแบบทางคณะก็มีแนวโน้มให้อยู่ในชาติพันธุ์ ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ของชุมชน   เรามีความคาดหวังว่าแบบที่นักศึกษาได้คิดขึ้นมาหลังจาก ได้ลงพื้นที่ ทางกลุ่มทอผ้าจะสามารถนำแบบไปต่อยอดตัดเย็บออกมาเป็นสินค้าอย่างเป็นรูปธรรมค่ะ”ผศ.ศิรินทร์  กล่าว

นักศึกษาเลือกผ้าที่จะออกแบบ

ที่จะลืมไม่ได้เลย ก็คือ  2 นักศึกษา มธ. ต่างคณะ ที่ได้ลงพื้นที่บ้านหนองลิง  ในการวางแผนพัฒนาธุรกิจการตลาดและการออกแบบการตัดเย็บจากผ้าขาวม้าให้กับชุมชนฯ  

กฤตณัฐ ว่องนัยรัตน์  หรือปันปัน

คนแรก กฤตณัฐ ว่องนัยรัตน์  หรือปันปัน นักศึกษา หลักสูตร DBTM (Design, Business &Technology Management) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง  มธ. ผู้ที่จะมาช่วยพัฒนาในส่วนของช่องทางการตลาดได้บอกความรู้สึกในการลงพื้นที่บ้านหนองลิงว่า  ได้มาร่วมกิจกรรมของ eisa มาดูในส่วนวางแผนการตลาดผ้าของป้าแต๋ว และแบรนด์“ร้อยลายดี” จากการที่ได้พูดคุยก็ได้รู้ว่า กลุ่มลูกค้าเดิมของป้าแต๋วจะอยู่ในวัยกลางคน 40 -60 ปีปัญหาที่พบคือความยูนีคของสินค้ายังมีไม่มาก ด้วยเหตุผลเรื่องของราคา และคุณภาพที่สูง  เป้าหมายที่จะช่วยป้าแต๋วได้คือ การขายแบบออนไลน์ ซึ่งจะต้องทำแบบต่อเนื่อง และการดีไซน์ผ้า ต้องออกแบบให้มีความพิเศษมากยิ่งขึ้น  มีความไอคอนิก ที่เป็นจุดเด่นของผ้า“ร้อยลายดี”   ซึ่งมองว่าหากทำได้ ตัวสินค้าแนวนี้ จะได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยแน่นอน   เพราะสะท้อนความเป็นไทยได้ดี   และคิดว่าน่าจะลองไปทำตลาดที่มีต่างชาติเยอะๆ เช่น พัทยา หัวหิน  
“ด้านการวางแผนการตลาดผมคิดวางแผนไว้ว่า จะเพิ่ม Range ของลูกค้าในกลุ่ม  First Jobberหรือคนอายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป  ทำให้ต้องปรับปรุงดีไซน์ของโปรดักส์ให้ทันสมัยตามเทรนด์มากขึ้นครับ ความคาดหวังของผมอยากให้โปรดักส์ของป้าแต๋วเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในชุมชนเป็นเครื่องหมายการค้าที่โดดเด่น  โครงการนี้ ผมคิดวาได้รับอย่างแรกเลยคือประสบการณ์ จากเดิมเรียนหนังสือทำงานในมหาวิทยาลัยตลอดเวลา ไม่เคยได้ลงพื้นที่จริงแต่การลงพื้นที่ ได้ศึกษาการค้าขายจริงๆ ได้เห็นจุดบกพร่องของชุมชน ว่าอยู่ตรงไหน แล้วเราจะเข้าไปช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นพัฒนาขึ้นชุมชนมีรายได้มากขึ้น อันนี้คือสิ่งที่เราอยากจะมอบให้กับชุมชนครับ” ปันปันกล่าว

ปณิธาน สุบงกช  หรือ แพท

อีกด้านของนักศึกษาต่างคณะ นายปณิธาน สุบงกช  หรือ แพท  นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ มธ. ได้พูดถึงความรู้สึกถึงแผนงานออกแบบผลิตภัณฑ์ว่า  การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประวัติศาสตร์รวมถึงเรียนรู้การทอผ้าได้พูดคุยกับคนทอผ้าคนตัดเย็บ หรือคนที่เป็นประธานกลุ่มทอผ้าบ้านหนองลิง ปัญหาที่ทางเราจะเข้ามาช่วยแก้ไขพัฒนาคือการออกแบบตัดเย็บ  ซึ่งได้เรียนรู้ว่าป้าแต๋วมีความคิดที่อยากจะช่วยป้าๆคนอื่นๆให้มีรายได้มากขึ้น และเห็นว่าผลงานผ้าทอของป้าแต๋วยังได้ต่อยอดภูมิปัญญาดั้วเดิม   เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านทางผ้า ผ่านทางชิ้นงานที่ทำออกมาขาย สินค้าที่กลุ่มทำ ไม่ได้มีแค่เสื้อผ้าที่สวมใส่  แต่ยังมีทั้งของแต่งบ้านด้วย


“ป้าแต๋วได้บอกกับผมว่าอยากได้ลูกค้าใหม่ที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งพวกผมก็จะออกแบบชุดเสื้อผ้าที่ลดอายุ เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายใหม่ ผมก็แนะนำกับป้าแต๋วให้ตามเทรนด์ของวัยรุ่นดูว่า   วันนี้วัยรุ่นเขาใส่อะไรกันมีอะไรอัพเดทไปขนาดไหนที่สำคัญจะต้องตามตลาดวัยรุ่นให้ทัน”น้องแพทเล่า

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้แพทบอกว่า ตั้งเป้าอยากทำให้่ชุมชนมีรายได้ที่ดีขึ้น มีการอัพเดทการออกแแบบให้เข้าถึงวัยรุ่นมากขึ้น และส่วนตัวได้ประโยชน์คือ   ได้ฟังเสียงของคนอื่นที่ไกลตัวเรา สิ่งนี้ทำให้เราได้รับรู้ว่า  ในชุมชนยังมีคนที่เขาต้องการความพัฒนาจากเราจากคนรุ่นใหม่  คนที่พร้อมที่จะให้ความรู้ใหม่ๆกับพวกเขา  


เมื่อวันที่ 9 มีนาคม  ที่ผ่านมา “ป้าแต๋ว” และสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองลิง ได้เดินทางมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อดูผลงานการออกแบบ สินค้าและผลงานการวางแผนธุรกิจด้านการตลาดของน้องๆ ซึ่งน้องๆได้นำเสนอผลงานหลังจากลงพื้นที่รับโจทย์ โดยป้าแต๋วเมื่อได้เห็นผลงานของน้องๆแล้ว

ป้าแต๋ว


หลังดูงาน”ป้าแต๋ว” กล่าวชื่นชมผลงานน้องๆว่า   โดบยบอกว่า พวกเราตื่นตาตื่นใจกับการออกแบบเป็นร้อยๆชิ้น รู้สึกเกินความคาดหวังเห็นผลงานการออกแบบที่ทันสมัย คิดว่าน่าจะทำให้สามารถ เจาะกลุ่มตลาดวัยรุ่นได้ดีถูกใจผลงาน ของน้องๆเป็นร้อยๆชุด ไม่คิดเลยว่าผ้าของเราจะออกแบบมาได้สวยขนาดนี้  ได้เลือกชุดที่จะนำไปตัดเย็บและขายได้จริง เพราะพาช่างตัดเย็บมาดูงานด้วย  ซึ่งช่างก็บอกว่าชุดแบบนี้เหมาะสมกับกลุ่มไหนขายได้จริงไหม  

ชุมชนช่วยกันเลือกแบบ ที่นักศึกษาออกแบบ


“รู้สึกเป็นเกียรติมากที่นักศึกษาช่วยออกแบบชุดให้ดูทันสมัยเป็นวัยรุ่นมากขึ้น การตลาดก็จะได้เพิ่มมากขึ้น ท้ายนี้ป้าแต๋วก็ขอขอบคุณบริษัท ไทยเบฟ โครงการ eisa ที่ให้น้องๆมาช่วยออกแบบชุดต่างๆรวมถึงน้องๆคณะสถาปัตย์ที่มาช่วยวางแผนธุรกิจการตลาดร่วมกันก็ต้องขอขอบคุณน้องๆศิลปกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยนะค่ะ” ป้าแต๋วกล่าว

โดยทั่วไปแล้วกระบวนการในการทำผ้าทอมือในแต่ละพื้นที่ มีความคล้ายคลึงกันแต่สิ่งที่ทำให้ผ้าทอมือในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างออกไป นอกจากวัตถุดิบที่แตกต่างกันแล้วก็คือลวดลายและเทคนิคการทอผ้า  ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีรากฐานมาจากวิถีทางวัฒนธรรมของ แต่ละชุมชน ความเชื่อของกลุ่มชนนั้น ๆ รวมไปถึง แรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อมจินตนาการของผู้ทอทำให้ผ้าทอแต่ละผืนมีความแตกต่างและสามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิรภพ" รับรางวัล "ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณค่าต่อสังคม"เนื่องในวันธรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567 นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ “ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณค่าต่อสังคม” ในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

'คาลิล ราวน์ทรี จูเนียร์' UFC'สายมู'ชาวอเมริกัน สวมมงคล-ผูกผ้าขาวม้า-ห้อยพระ ขึ้นชั่งน้ำหนัก

คาลิล ราวน์ทรี จูเนียร์ นักสู้วัย 34 ปีชาวอเมริกัน จะขึ้นชกชิงแชมป์รุ่นไลต์เฮฟวีเวต UFC กับ อเล็กซ์ เปเรย์รา เจ้าของแชมป์ชาวบราซิเลียน ในการชั่งน้ำหนักที่ Salt Palace Convention Center วันนี้ คาลิล ได้สร้างความฮือฮา ด้วยการสวมมงคลมวยไทยและผูกผ้าขาวม้าไว้ที่เอว และที่กลายเป็นไวรัลคือเขาห้อยพระเครื่องหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ขณะขึ้นชั่งน้ำหนัก

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘เจิมศักดิ์’ ซัดกาสิโนไม่มีผลดี ถามตระกูลชินวัตร ถ้ามีคนในครอบครัวติดการพนันจะดีใจหรือไม่

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อาจารย์พิเศษประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่า  การพนัน คือการชิงทรัพย์ด้วยเกมที่กำหนดขึ้น เจ้ามือสามารถแบ่งทรัพย์ เป็นของตนในรูปของต๋ง ส่วนรัฐบาลก็ได้แบ่งทรัพย์ในรูปภาษี

นายกฯ นำคณะ สวมชุดผ้าขาวม้า เดินโชว์กลางเมืองมิลาน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะใส่ชุดผ้าขาวม้า เดินโชว์กลางเมืองมิลาน ซึ่งเป็นเหมือนแห่งแฟชั่น เพื่อให้เจ้าของแบรนด์และชาวอิตาลี รวมทั้งนักท่องเที่ยว ได้เห็นถึงความสวยงามของผ้าขาวม้าและผ้าไทย