ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ ที่คนไทยกำลังเผชิญ และเป็นปัญหาหนักหน่วงที่รอการแก้ไข ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ในที่โล่ง ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้วาโก้ แบรนด์ชุดชั้่นในชื่อดัง มาเชิญชวนให้ทุกคนตื่นตัวและตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงสานต่อโครงการวาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ เป็นปีที่ 12 ด้วยการรับบริจาคบราหรือชุดชั้นในเก่าทั้งหญิง-ชาย น าไปกำจัดโดยการเผาอย่างถูกวิธี แบบ Zero Waste (เปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์) แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ทั้งยังลดขยะชุมชน ลดปัญหาโลกร้อนและลดฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้และสร้างจิตสำนึกที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
อินทิรา นาคสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะที่ไทยวาโก้ เป็นผู้นำธุรกิจชุดชั้นใน มาตลอด 53ปี และมีความตระหนักรับผิดชอบต่อสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯให้ความสำคัญและดูแลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งผลิตภัณฑ์วาโก้ทุกชิ้นที่ผ่านกระบวนการผลิตปลอดสารพิษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงหลังการขาย ในกระบวนการจัดการกับผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี กับโครงการวาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอรับบริจาคบราหรือชุดชั้นในเก่า ซึ่งปีนี้ เปิดรับบริจาคชุดชั้นในทุกแบรนด์ ไม่ได้มีแต่ของวาโก้แบรนด์เดียว และไม่ได้รับบริจาคเฉพาะชุดขั้นในผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการรับบริจาคชุดชั้นในเพศชายเพื่อไปกำจัด โดยการเผาอย่างถูกวิธีอีกด้วย โดยร่วมกับ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP นำชุดชั้นในที่ได้รับการบริจาคไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ทดแทนการใช้ถ่ายหินในการผลิตกระแสไฟฟ้าในระบบปิด ทำให้ไม่เกิดฝุ่น PM2.5 เล็ดรอดออกไปภายนอก นับว่าเป็นการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล และลดผลกระทบมลภาวะจากฝุ่นพิษที่เรากำลังเจอปัญหาอยู่
ผอ.ฝ่ายการตลาดของวาโก้ ให้ข้อมูลอีกว่า จากสถิติปี 2566 อ้างอิงจาก populationpyramid.net พบว่าจ านวนผู้หญิงไทยอายุระหว่าง 10-69 ปี มีจ านวนกว่า 29,351,011 คน หากคาดการณ์จำนวนผู้หญิงไทยที่ซื้อชุดชั้นในใหม่ จำนวนปีละ 5-12 ตัวต่อปี คาดว่าจะเกิดการทิ้งชุดชั้นในเก่าที่เสื่อมสภาพคนละ 2 ตัวต่อปี เท่ากับว่าจะเกิดขยะพลาสติกจากชุด ชั้นในเก่าเพิ่มขึ้นกว่า 5,870 ตันต่อปี ถือเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ
“บรา หรือชุดชั้นในเป็นไอเท็มสำคัญสำหรับทุกคน วัสดุส่วนใหญ่ผลิตจากโพลิเมอร์ส่งผลให้บรา 1 ตัว ใช้เวลาย่อยสลายกว่า 400 ปี อีกทั้งการเผาในที่โล่งยังสร้างมลพิษและฝุ่น PM 2.5 การเผาของบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบสภาพภูมิอากาศ หรือกระทบต่อภาวะโลกร้อน “อินทิรากล่าว
นับตั้งแต่ก่อตั้งโครงการ “วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ” ในปี 2555-2565 วาโก้ มีส่วนช่วยกำจัดบราเสื่อมสภาพไปแล้วจำนวน 720,664 ตัว รวมน น้ำหนัก 72,066 กิโลกรัม หรือลดขยะชุมชนไปได้กว่า 72 ตัน ทดแทนการใช้พลังงานถ่านหินได้กว่า 468 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ถึงกว่า 39,036 ต้น
พิชญ์สินี วีระสุทธิมาศ หรือ “โบกี้ ไลอ้อน” นักร้องสาวมากความสามารถ กล่าวเสริมว่า ก่อนอื่นต้องขอบคุณวาโก้ที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนบราหรือชุดชั้นในเก่าที่ไม่ได้ใช้ต้องทิ้งเท่านั้น โบกี้คิดว่าอย่าไปเสียดาย เพราะไม่ดีต่อสุขภาพเต้านมของเรา แค่นำชุดชั้นในเก่าทุกแบรนด์มาบริจาคกับวาโก้เพื่อนำไปก าจัดอย่างถูกวิธี แค่ทิ้งให้ถูกที่ก็ช่วยโลกได้แล้ว
ทั้งนี้ ทางวาโก้ คาดว่าโครงการในปีนี้ ที่เปิดกว้างการรับบริจาคชุดชั้นในทุกแบรนด์ และทุกเพศทุกวัย จะทำให้ยอดบริจาคบราหรือชุดชั้นในเก่า เพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนชิ้น นอกจากนี้ ในการสั่งซื้อสินค้าวาโก้ทางออกไลน์ จะมอบถุงรับบิจาคให้ลูกค้า เพื่อนำบราหรือชุดชั้นในเก่า ไปบริจาคที่เคาน์เตอร์วาโก้ทุกแห่งทั่วประเทศไทย หรือส่งทางไปรษณีย์ส่งถึงฝ่าย CSR บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) 132 ซอยเจริญราษฎร์ 7 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก The Youth Fund ผนึก ทช.-เอสซีจี เปิดตัวโครงการใหม่ปกป้องทะเลไทย
กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิสืบฯ ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอุทยานฯทับลาน 2.6 แสนไร่
นายภาณุเดช เกิดมะลิ ในฐานะประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรสืบ ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 2 แสนกว่า