นโยบายแบบไหน เปลี่ยนการศึกษาไทยได้จริง (1)

การศึกษาไทยมีปัญหามานาน ลงรากลึก คุณภาพโดยรวมไม่ค่อยดี  ไม่ได้มีแต่เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนแล้วใช้งานไม่ได้ แต่จริงๆ มีปัญหาทุกเรื่อง เช่นการ สอบPISA ปี 2018 พบว่าเด็กไทย  60% ไม่ผ่านเกณฑ์นำความรู้มาใช้งานเบื้องต้นได้  โดยครึ่งหนึ่งไม่สามารถใช้คณิตศาสตร์ประยุกต์แก้ปัญหาได้ในโลกจริง

6 มี.ค.2566-Thailand Education Partnership (TEP) หรือภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย จัดเสวนา หัวข้อ “นโยบายแบบไหน เปลี่ยนการศึกษาไทยได้จริง”   พร้อมเปิด เวทีนโยบายการศึกษากับพรรคการเมืองโดยให้ตัวแทนแต่ละพรรคแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการศึกษาไทย

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ  ที่ปรึกษาภาคีเพื่อการศึกษาไทย และอดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษากล่าวว่า การจัดเวทีครั้งนี้มีความสำคัญ เพราะการจะทำให้ประเทศเกิดความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะกติกา แต่เป็นเพราะคน ต้องทำให้คนมีคุณภาพมากขึ้น และการศึกษาเท่านั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนมีคุณภาพได้  จึงต้องมีการมาคุยกับพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย  ก่อนนำไปสู่การปฎิบัติ  ซึ่งความเห็นพรรคการเมืองต่าง ถือว่าเป็นสัญญาว่าจะเป็นไปตามนโยบายหรือไม่  อย่างไรก็ตาม ปัญหาการศึกษาไทย ต้องแก้ด้วยการให้ความสำคัญกับหลักสูตรสมรรถนะ  ซึ่งทั้งโลกใช้หลักสูตรสมรรถนะกันเยอะมาก และทำกันมานานแล้ว  ปัญหาการศึกษาไทยคือ การเรียนแล้วไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ  16 ปี มากสะกดคำได้ และใช้ไวยยากรณ์ถูกต้อง แต่เอาเข้าจริงกลับไม่สามารถใช้งานไม่ไดื จึงถึงเวลาเราต้องพูดถึงหลักสูตรสมรรถนะ และเราต้องการเห็นนวัตกรรม เพื่อยกระดับคนในประเทศของเรา  เพราะการปฎิรูปจะสำเร็จได้ก็อยู่ที่คน

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ  นำเสนอ    TEP White Paper กล่าวว่า การศึกษาเป็นการสร้างคนต้องใช้ระยะเวลา ไม่ควรเปลี่ยนกันบ่อยๆ วันนี้จะเอาข้อเสนอของภาคีการศึกษาไทย  มาเป็นหัวข้อชวนให้พรรคการเมือง ร่วมคิดหนุนเด็กไทยก้าวทันโลก  ทั้งนี้ การศึกษาไทยมีปัญหามานาน ลงรากลึก คุณภาพโดยรวมไม่ค่อยดี  ไม่ได้มีแต่เรื่องการเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนแล้วใช้งานไม่ได้ แต่จริงๆ มีปัญหาทุกเรื่อง เช่นการ สอบPISA ปี 2018 พบว่าเด็กไทย  60% ไม่ผ่านเกณฑ์นำความรู้มาใช้งานเบื้องต้นได้  โดยครึ่งหนึ่งไม่สามารถใช้คณิตศาสตร์ประยุกต์แก้ปัญหาได้ในโลกจริง  แม้ว่าจะไม่ใช่ปัญหาซับซ้อนก็ตาม รวมทั้งไม่สามารถใช้ความรู้วิทยาศาสตร์แก้ปัญหาพื้นฐานได้ ดังนั้นภาพรวมการศึกษาไทยจึงถือว่าคุณภาพไม่สูง  

เหนือไปกว่านั้นอีก ความเหลื่อมล้ำในสังคมยังมีอยู่มาและสูงไปเรื่อยๆ เด็กไทยผลการเรียนดี กับผลการเรียนไม่ดี สิ่งที่มาอธิบายอยู่ที่ฐานะทางครอบครัวของเด็ก  ไม่ได้เกิดจากตัวเด็กเอง  สิ่งที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำอย่างยิ่ง เห็นได้จาก คะแนนการอ่านระหว่างเด็กที่มาจากครอบครัวรายได้สูงกับครอบครัวรายได้ต่ำที่เคยห่างกัน 8% พบว่า ได้ขยายกลายเป็น 12 % เมื่อเป็นอย่างนี้โอกาสที่จะสร้างสังคมไทยที่เจริญ และลดความเหลื่อมล้ำให้ต่ำลง ก็คงเป็นไปได้ยาก นี่คือปัญหาที่มีอยู่ก่อน แต่เมื่อเกิดโควิด 19 ระบาด ปัญหาได้ขยายใหญ่ขึ้น โดยเด็กสูญเสียการเรียนรู้  หรือ Learning Lost จากการปิดโรงเรียน ทำให้เวลาเรียนเด็กลดลง เรียนไม่ต่อเนื่อง เด็กจึงมีผลการเรียนลดลงเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย อนุบาล  Executive Function หรือความสามารถจัดการ ทักษะการคิด ก็หายไปด้วย และ

อีกปัญหาช่วงโควิด  พบว่ามีเด็กหลุดออกจากนอกระบบมากขึ้น ปี2563-2564 มีเด็กยากจนพิเศษหลุดจากระบบการศึกษา 2.5แสนคน เด็กเหล่านี้ครอบครัว มีรายได้ 1,200 บาทต่อเดือน แต่พอมีโควิดรายได้ลดลงเหลือ  1,100บาท ต่อเดือน การหลุดจากระบบการศึกษาเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กไทย ต้องขยับสมรรถนะ ความสามารถ  ความรู้ทักษะ และทัศนคติที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้น เพราะมีปัญหาท้าทาย Climate Change จะกระทบกับอาชีพเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน คนทำงานกลางแจ้ง  จะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน   จะทำงานแบบเดิมไม่ได้ ดังนั้น คนภาคเกษตรจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ซึ่งมีแรงงานไทยอยู่ตรงนี้  30%  อีกทั้ง การเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า แทนรถยนต์ที่เป็นสันดาป จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์และการเรียนการสอนอาชีวะ


ที่สำคัญ จะลืมไม่ได้เลยคือ การที่เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ เกิดการแปลงก้าวกระโดด ครั้งใหญ่  ซึ่งเกิดต่อเนื่องมา 30 ปี  โดยคอมพิวเตอร์เอาชนะคนเล่นหมากรุก เล่นหมากล้อม  และในที่สุดคอมพิวเตอร์ ก็สามารถพูดคุยสนทนากับคนได้ โดยเอไอ เปรียบเสมือน คนที่จบมหาวิทยาลัยและมีความรู้ด้านภาษาดีมาก  ที่เพิ่งออกมา 2-3 เดือน และเราคงเห็นแล้วว่ามีการแข่งขันกันของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ก็จะเกิดการก้าวกระโดดปฎิวัติทักษะเทคโนโลยีครั้งใหญ่ ทำให้ทักษะที่เรียนที่สอนกันในมหาวิทยาลัย  โรงเรียนล้าหลังไป

ทั้งนี้ ในการปฎิรูปการศึกษา เด็กไทยจำเป็นต้องการทักษะใหม่ คือ  1. ทักษะการคิดขั้นสูง Higher Thinking  แปลว่านอกจากคิดเชิงพื้นฐานได้แล้ว ยังต้องคิดเชิงวิพากษ์  มีความคิดสร้างสรรค์  มีความสามารถสื่อสาร ทำงานเป็นทีมได้ และที่สำคัญต้องใช้เทคโนโลยีเป็น ต้องมีจิตใจที่มี Growing mindset ที่เชื่อว่าคนสามารถพัฒนาให้ต่อเนื่องได้  และสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว นี่คือ ทางออกการศึกษาไทย

ดร.สมเกียรติ ได้หยิบยก 4ปัญหาการศึกษาไทยคือ  1. หลักสูตรที่ใช้ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว เพราะใช้ตั้งแต่ปี  2551 แม้จะมีการปรับเล็กปรับน้อยบ้าง แต่โดยพื้นฐานไม่ได้เอื้อต่อการสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ของเด็ก การปฎิรูปการศึกษาใดๆ  จะไม่สามารถทำได้ หากไม่แก้หลักสูตรให้ทันสมัยพอ  สามารถสร้างสมรรถนะ  ความสามารถให้กับนักเรียน  ที่จะไปเรียนรู้ต่อยอดในอนาคต  หลักสูตรของเราที่มีอยู่แม้จะมีการปรับเล็กบ้าง แต่ยังไม่ตอบโจทย์ แม้จะเน้นสมรรถนะบ้าง แต่ยังขาดไปหลายวิชามาก  ไม่มีการโครงสร้างเวลาการเรียนรู้ ที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับดัชนีชี้วัด หรือ KPI  ที่กำหนดไว้2 พันตัว ทำให้ครูไม่มีเวลาเหลือพอที่จะสอนในแนวทางใหม่  หรือให้นักเรียนทดลองทำจริง  

“ประเทศไทย เสียโอกาส จากหลักสูตรล้าสมัย แม้มีความพยายามปรับหลักสูตร ให้มีลักษณะอิงกับสมรรถนะ แต่พอจะเอามาใช้ แต่ก็มีการไม่ส่งเสริมจากทางฟากการเมือง   ซึ่งบางคนบอกว่าถ้าเปลี่ยนจะกระทบกับสำนักพิมพ์ตำรา และเป็นภาระพ่อแม่ ซึ่งไม่จริง เพราะรัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สังคมจึงสงสัยว่าที่ไม่ปรับหลักสูตรเพราะกระทบกับผลประโยชน์สำนักพิมพ์หรือขวางผลประโยชน์ “

ดร.สมเกียรติ ยกตัวอย่างการปรับเปลี่ยนหลักสูตรที่เสนอ วิชาที่กระทรวงศึกษาให้ความสำคัญ คือวิชาประวัติศาสตร์ที่มีดัชนีชี้วัดการคิดขั้นสูงน้อยมาก ในบรรดา 71 ดัชนีชี้วัด วิชานี้มี 6 ตัวเท่านั้นที่เป็นการวัด Higher Thinking ซึ่งการคิดขั้นสูง จะเป็นตัวทำให้เด็กอยู่รอดได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงกว่าที่จะให้เด็กเกิดการคิดขั้นสูง ต้องรอถึงม.1 แสดงว่า  6ปีแรกการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ขาดทุนไปแล้ว

  2.  โครงสร้างประชากรของไทย  เด็กเกิดน้อยลง จากปีละ 1 ล้านคน เหลือ 5แสนคน โรงเรียนในสพฐ. นักเรียนในสังกัดลดลง 7แสนคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  รร.ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กลายไปเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้น 2,200โรง   กลายเป็นโจทย์ใหญ่  ทำให้โรงเรียนมีครูไม่ครบวิชา ทำให้ต้นทุนการศึกษาสูง ไม่สามารถบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้  ง  ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะมีต้นทุนบริหารจัดการการศึกษาที่สูงขึ้น แต่ยังไม่ได้การศึกษาที่ดี ปัญหานี้เราต้องก้าวข้ามให้ได้ ถึงแม้จะมีความพยายามเกลี่ยครู จากโรงเรียนที่เกินมาโรงเรียนที่ขาด โดยเรายังขาดครูอีก22,000 คน ซึ่งปัญหานี้ธนาคารโลกได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา  ให้มีการควบรวมโรงเรียนเล็ก จัดสรรโรงเรียนที่ห่างไกล ได้รับงบฯเพิ่มขึ้น มีโรงเรียนที่ห่างไกลเรียกว่าเป็น Protected School  เพื่อให้การศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้น ประหยัดงบประมาณ แม้รัฐจะออกค่าเดินทางให้กับนักเรียน แต่ก็ยังใช้งบถูกลง  800 ล้านบาท

3. มีแนวโน้มการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนักเรียนเพิ่มขึ้น  เมื่อสังคมเปลี่ยนไป การเลี้ยงดูของพ่อแม่เปลี่ยนไป พ่อแม่มีแนวคิดเสรีนิยมเพิ่มขึ้น แต่แนวทางการศึกษายังออกไปทางอนุรักษ์นิยม ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพในโรงเรียน  ศธ. ประกาศห้ามลงโทษรุนแรง แต่ก็ปรากฎยังมีการทำ  และการละเมิดสิทธิเสรีภาพ หรือการบูลลี่กันในโรงเรียน ได้ทำให้นักเรียน ได้รับความเดือดร้อน และมีผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งผลกระทบทางจิตใจทำให้ทักษะการคิด แย่ลง  ลองคิดดูถ้าไปโรงเรียนแล้วไปอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมแห่งความกลัว  จะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ หรือเกิดการคิดขั้นพื้นฐาน หรือขั้นสูงไม่ได้ด้วยเช่นกัน  หากปฎิรูป ให้ัการศึกษาไทยให้มีทักษะคิดขั้นสูง ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องมีความปลอดภัย

  4. ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษาใน 3เรื่องข้างต้น เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิด วัฒนธรรมการทำงาน  ต้องกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ เพราะถ้ายึดติดกับสิ่งเก่าเราจะไม่สามารถก้าวข้ามทำสิ่งที่ท้าทายใหม่ๆได้  ต้องปรับวัฒนธรรม ให้กล้าทำสิ่งใหม่ กล้าคั้งคำถามกับสิ่งทีเคยปฎิบัติมา กล้าทดลองสร้างนวัตกรรมหใม่ เรียนรู้ความสำเร็จจากความล้มเหลว

ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า ภาคีการศึกษาไทยได้ทำข้อเสนอเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย 5 เรื่อง คือ 1.ต้องปรับหลักสูตรแกนกลางให้สำเร็จ อยากเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรัฐบาลใหม่ มีหลักสูตรที่อ้างอิงกับฐานการเรียนรู้   และทำให้นักเรียนเกิดสมรรถนะเรียนรู้ภายใน 3 ปี โดยสามารถใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีร่างอยู่แล้ว มาปรับปรุงต่อยอด ทดลอง ซึ่งขณะนี้ มีการนำหลักสูตรสมรรถนะ ในพื้นที่นวัตกรรมแล้ว และมีการให้คูปองครู ในการช่วยพัฒนาครู เพราะการจัดการศึกษาใหม่ ต้องพัฒนาครูพร้อมไปด้วย เพื่อให้ครูสามารถสอนโดยออกแบบการสอน ที่มีการให้เด็กทำจริง เพราะสมรรถนะไม่ได้เกิดจากการเล็กเชอร์ ต้องเกิดจากการทำจริงเท่านั้น   ครูต้องสามารถประเมินการพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลง จึงอยากเห็นรัฐบาลใหม่ ประกาศแนวนโยบายนี้ให้ชัดเจน เปิดหาแนวร่วมช่วยกันเดินหน้า อย่าไปชะลอการปรับเปลี่ยนดังกล่าว เพราะการขัดขวางของกลุ่มผลประโยขน์

2.การบรหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เหลือโรงเรียนเน็ตเวิร์ค ฮับ สกูล  ต้องมีการให้ทรัพยากรพิเศษพร้อมกับโรงเรียนห่างไกล ที่ไม่สามารถควบรวม หรือยุบได้ ทำอย่างไรจะให้ครูไปอยู่โรงเรียนที่มีความสำคัญ พรรคการเมืองอาจต้องสร้างแรงจูงใจครู  ส่วนการยุบโรงเรียน ที่ศธ.เจออุปสรรคแรงต้านจากท้องถิ่นอาจแก้ด้วย การมอบพื้นที่โรงเรียน ให้ท้องถิ่นนำไปใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น

3. รมว.ศธ. คนใหม่ จะต้องส่งสัญญาณ ให้มีการปรับหลักสูตร ที่เป็นสมรรถนะ และการเรียนต้องเป็นแบบ Active Learning  เพราะฉะนั้นจะไม่มีเวลาทำกิจกรรม ที่ไม่มีปรดโยชนต่อการเรียนรู้  เปิดไฟเขียว ให้รร. หรือจังหวัด ปฎิเสธ โครงการที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้  เพื่อนำครูกลับสู่ห้องเรียน  

4. การประกาศนโยบายการไม่ยอมรับความรุนแรงในโรงเรียน สื่อสารให้เด็ก ผู้ปกครองรู้มาตรการป้องกันตนเอง  มีกลไกประเมินความปลอดภัยของโรงเรียนเป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่ง ในการประเมินโรงเรียน    

.
5. ท่าทีของรมว.ศธ. ประกาศท่าทีแล้วทำให้เป็นตัวอย่าง ว่าต้องเป็นวิธีการทำงานแบบใหม่  ให้โรงเรียนมีการกล้าทดลอง สนับสนุนนักเรียนทำสิ่งที่ดี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแบบใหม่ ครู ก็กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ  ทั้งวิชาการและการเรียนการสอน ส่งเสริมเรียนรู้ความผิดพลาด  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' รับฟังข้อเสนอประธาน ทีดีอาร์ไอ ทั้งเห็นด้วย-เห็นต่างนโยบายรัฐบาล

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำคณะผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือประเด็นนโยบายด้านการวิจัย

'ธีระชัย' เห็นแย้งถ้ากู้เงินได้แต่ต้องใช้หนี้คืนภายในรัฐบาลนี้ จะไม่มีใครต้องรับผิดชอบเลย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า

'ผอ.ทีดีอาร์ไอ' ชำแหละหลุมดำดิจิทัลวอลเล็ต เกิดค่าเสียโอกาสพัฒนาปท.

ผอ.ทีดีอาร์ไอ ชำแหละหลุมดำดิจิทัลวอลเล็ต เกิดค่าเสียโอกาสพัฒนาประเทศ เตือนกระทบความเชื่อมั่นในเรื่องของวินัยการคลังของรัฐบาล  จนนำไปสู่ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ กระทบการลงทุนจากต่างชาติ

นักวิชาการ 'ทีดีอาร์ไอ' เผยผลศึกษาโครงการแจกเงินรัฐ พบเงินหมุนไม่ถึงครึ่งรอบ ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

นายสมชัย จิตสุชน นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อ นักเศรษฐศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Somchai Jitsuchon