“น่าน “ได้ขื่อว่าเป็นเมืองในสายหมอก หลายคนที่เคยไปแล้ว คงไม่มีใครไม่หลงเสน่ห์ธรรมชาติอันงดงามของขุนเขา สอากาศเย็นๆสุดฟิน ความน่ารักเมือง และอัธฌาสัยไมตรีของผู้ของคนในเมือง ได้ฟังชาวน่านอู้กำเมืองเสียงหวาน ถ้าออกไปไกลหน่อย นอกตัวมืองก็จะพบกับชาวชนเผ่าที่ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่าย สัมผัสวัฒนธรรมอันหลากหลายในอดีตที่ยังคงปรากฎให้เห็น
การมาเยือนน่านในครั้งนี้ ยังคงรู้สึกอบอุ่นเหมือนเดิม อาจจะเพราะบรรยากาศของเมืองที่ไม่วุ่นวาย ผู้คนใช้ชีวิตแบบง่ายๆ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คงมีเพียงสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นมา ผสมผสานไปกับแหล่งเที่ยวที่มีอยู่แล้วทำให้น่าน ยิ่งมีเสน่ห์มัดใจนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
ไปเริ่มแอ่วกันในอ.ปัว ที่โรงบ่มปัวคาเฟ่ แอนด์ อีทเทอรี่ ที่เพิ่งเปิดไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ เรียกได้ว่าใหม่แกะกล่องเลยทีเดียว คาเฟ่แห่งนี้ตัวร้านออกแบบเรียบง่าย ส่วนด้านในก็ตกแต่งให้ดูสบายตา แต่ความน่าสนใจคือ ผนังด้านข้างเป็นกระจกใสนั่งจิบเครื่องดื่มพร้อมกับชมโรงบ่มใบยาสูบบ้านเหล่าเก่าแก่ที่มีอายุถึง 68 ปี บนพื้นที่ 100 ไร่ ประมาณ 130 โรง ตั้งเรียงเป็นแถวตอนนี้ได้ปลดเกษียณลงแล้ว ตัวโรงจะก่อด้วยอิฐผสมดิน ด้านหน้าโรงบ่มการก่อลักษณะโค้งเพื่อใช้เป็นเตาก่อไฟ โดยมีท่อส่งความร้อนเพื่อทำการบ่มยา และมีปล่องสำหรับปล่อยควันไฟตรงหลังคา บางโรงมีสภาพชำรุดไปตามกาลเวลา แต่ก็พอจะทำให้มองรอดช่องผ่านกำแพงอิฐที่พุพัง เห็นภายในที่จะเป็นราวเรียงต่อกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ 12 ชั้น เพื่อใช้แขวนใบยา
กิตติพงศ์ เหล่าอารยะ เจ้าของร้าน เล่าว่า ปัจจุบันก็ยังทำโรงบ่มใบยาสูบอยู่แต่น้อยลงเหลือ 24 โรง เนื่องจากเมื่อก่อนด้วยกระบวนการทำที่ต้องใช้ฟืน จึงต้องมีการผสมผสานวิธีการบ่มยาสมัยใหม่เข้ามาด้วย จึงอยากจะสร้างใช้พื้นที่ตรงนี่ให้ผู้คนได้เห็นโรงบ่มยาสูบในอดีตที่หาดูได้ยาก จึงได้ทำเป็นคาเฟ่ ซึ่งเดิมเป็นโรงรับซื้อใบยาสดมารีโนเวท และนำของใช้ในการทำโรงบ่มยาสูบมาตกแต่งร้าน อย่างโต๊ะก็ลังกล้ายาสูบ บัวรดน้ำต้นกล้ายาสูบก็นำมาทำเป็นชั้นกันให้ดูสวยงาม ซึ่งเครื่องดื่มก็มีหลายเมนูให้ได้ลิ้มลอง
เรื่องของผ้า อ.ปัว ก็มีความสนใจที่กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าบ้านเฮี้ย โดยมีแพว เนตรทิพย์ เจ้าของร้านแพวผ้าฝ้าย ที่ปรุงแต่งสร้างสรรค์ฝ้ายจากเดิมที่เป็นผ้าผืนที่ใช้ปูโต๊ะ ทำผ้าปูที่นอน จึงเกิดไอเดียการดีไซน์ที่เจ้าของร้านชื่นชอบ สร้างจุดเด่นให้กับสินค้าจากผ้าม่าน สู่การแปรรูปเป็นเสื้อผ้าให้ส่วมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน โดยมีการที่ใช้ลวดลายดั้งเดิมบนชุด อาทิ ลายช้าง ลายมุกกาบปี ลายขอ 7 ไม้ และนำลายเหล่านี้มาจัดวางใหม่ รวมถึงใช้สีสันให้ดูสวยงามมีความเป็นแฟชั่นมากยิ่งขึ้น จนสินค้าได้รับความนิยม ซึ่งเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้มาทอผ้าอีกด้วย
อีกจุดที่ต้องแวะ ศูนย์เครื่องเงินดอยซิวเวอร์ แฟคทอรี่ ที่สืบทอดการทำเครื่องเงินลวดลายอัตลักษณ์ของชาวอิวเมี่ยน จากบรรพบุรุษของครอบครัว รุ่งรชตะวาณิช ที่ประสบการณ์การทำมากว่า 70 ปี ที่นี่นอกจากเครื่องเงินที่มีความละเอียดปราณีตงดงามแล้ว ยังการจัดนิทรรศการโดยเป็นของส่วนตัวของ พิมพร รุ่งรชตะวาณิช ที่นำมาจัดแสดงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอิวเมี่ยนที่ใช่เงินแท้ในการทำเป็นเครื่องดับ หรือใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้า ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยสุดท้ายของชีวิต อย่าง เป้อุ้มเด็กที่ประดับด้วยกระดิ่งเงิน หมวกปักจากมือมีการประดับด้วยเงิน
ในวัยออกเรือน สินสอดก็จะเป็นเงินแท่งประมาณ 25 บาท และชุดแต่งงานก็ปักด้วยลวดลายต่างๆสวยงามพร้อมประดับด้วยเงินหากประดับเยอะก็จะแสดงถึงฐานะทางบ้าน ในวันสุดท้ายของชีวิตก็ต้องสวมใส่ชุดที่ประดับด้วยเครื่องเงิน บางครอบครัวที่รวยก็จะทำตะปูเงินในการตอกโลงศพ รวมไปถึงเครื่องมือในการทำเงินแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผลงานของนักศึกษาทวิภาคีกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สังกัดบริษัทดอยชิลเวอร์แฟคตอรี่จำกัด โดยชิ้นไฮไลท์ คือ ขันเงิน ที่ใช่เทคนิคสลักดุนในการสร้างลวดลายป่าหิมพานต์ ที่ใช้ในขบวนสลุงหลวง ในงานประเพณีหกเป็งฯ ปีนี้ด้วย
มาที่ อ.เวียงสา สัมผัสธรรมชาติด้วยการพายซัพบอร์ด กิจกรรมทางน้ำชิวๆ กับทางชมรมซัพบอร์ดเวียงสา ที่ชาวคณะต่างกระตือรือร้นเตรียมพร้อมวอร์มแขนขาใส่อุปกรณ์เรียบร้อย นำทีมโดยพี่คมสัน สิมมทอง ก็จะพาล่องไปตามเส้นทางลำน้ำว้าระยะทาง 6 กิโลเมตร ลูกทีมต่างพายซัพกันอย่างแข่งขัน นั่งบ้างยืนบ้างตามความถนัด ทดสอบความท้าท้ายกับแก่งน้ำเป็นจุดๆ สร้างความตื่นเต้น คนดูก็ลุ้นไปด้วย
ระหว่างเส้นทางล่องมาก็จะได้เห็นป่าตามสองข้างทาง อย่างต้นไคร้น้ำและต้นไผ่ที่กันตลิงพัง ยังเป็นที่อยู่ของนกจาบ นกจอก นกกระแตแต้แว้ด ในน้ำก็ยังมีปลาท้องถิ่น เช่น ปลาจอก ปลาตะเพียน ปลาคัง รวมถึงเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในการเลี้ยงสัตว์ ทำสวน มีจุดให้พักสำหรับทำกิจกรรมแคมปิ้ง ทานบาร์บีคิว ปลาย่าง น้ำดื่มเย็นๆ ซึ่งก็เป็นการอุดหนุนของในชุมชน ยังมีอีกเส้นทางคือน้ำน่านแต่ช่วงนี้น้ำแห้ง ลำน้ำว้าจึงเหมาะกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำในแต่ละเดือน ซึ่งหลังจากเดือนกุมภาพันธ์น้ำจะแห้ง ใครสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่พี่คม โทร.086-908-8428
ชวนย้อนอดีตที่ พิพิธภัณฑ์ร้านค้าสะดุดเวลา(หนานหล่อ) ด้วยความตั้งใจของ ณฤต พุฒิกุลางกูร เจ้าของร้านที่ได้บูรณะอาคารอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น หลังแรกในอ.เวียงสา ซึ่งเดิมแล้วอาคารหลังนี้เป็นร้านขายของชื่อว่า ร้านค้าไช่ฮงเส็ง(หนานหล่อ) ของครอบครัวตั้งแต่รุ่นอากงอาม่า มีการจำหน่ายของใช้ทุกประเภทตั้งแต่เสื้อผ้า รองเท้า หมวก ยา เครื่องสำอาง สบู่ เครื่องสังฆภัณฑ์ เครื่องบวชนาค ของขวัญ อุปกรณ์การเกษตรต่างๆ เรียกได้ว่าสิ่งใดที่จำเป็นในอดีตที่ร้านค้าแห่งนี้มีแทบทุกอย่าง ส่วนตังอาคารมีการสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบชาวจีนแคระตั้งแต่ปี 2490 มีความเชื่อในการสร้างแบบบ้านมังกร คือ ตรงชั้นบนจะมีการทำช่องสี่เหลี่ยมกลางบ้านให้มีลานโล่ง เพื่อให้เห็นท้องฟ้า และใช้เป็นพื้นที่ในการเก็บสต๊อกของ ส่วนด่านล่างก็จะเปิดเป็นร้านค้า จึงมีแนวคิดที่อยากจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงของใช้ต่างๆ ที่เคยจำหน่ายในอดีต ให้ผู้คนได้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนี้
ล่าเมืองน่านเดินทางเข้าอ.เมือง ด้วยการเรียนรู้อักษรธรรมล้านนา ที่บ้านตั๋วเมืองคุ้ม 9 โดยอ.บุญโชติ สลีอ่อน ที่มีประสบการณ์ด้านอักษรธรรมล้านนามากว่า 10 ปี ได้จัดทำขึ้นให้ผู้ที่สนใจมาทำกิจกรรมเขียนธรรมอักษรล้านนา เพื่อให้คนได้รู้จักมากขึ้น ซึ่งตัวอักษรนี้จะอยู่ตามวัด ใช้ลงอักขระในคัมภีร์ใบลาน ตำรายา ลงยันต์ต่างๆ ซึ่งการสะกดก็จะต่างจากภาษาไทย เพราะตัวสะกดจะไว้ด้านล่าง ซึ่งอาจารย์ก็มีการทำตัวอักษรล้านนาเทียบเคียงกับอักษรไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น พร้อมกับการเขียนตัวอักษรลงบนกระเป๋าซึ่งก็สามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้อีกด้วย
ถึงแม้กายหยาบจะกลับมาเมืองกรุงแล้ว แต่กายทิพก็ยังคงมีความสุขอยู่เมืองน่าน เมืองที่มาแล้วจะไม่มีคำว่ามาแค่ครั้งเดียว เพราะอยากจะต้องกลับมาอีกครั้งแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พะเยา-เชียงราย-แพร่-น่าน จัด'วิ่งเลาะเวียงเมืองล้านนาตะวันออก' 4จังหวัด4สนาม
พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ผนึกกำลัง 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 จัดใหญ่งานวิ่งเลาะเวียงเมืองล้านนาตะวันออก กว่า 700 คนเหล็กเตรียมตบเท้าเข้าร่วม 4 จังหวัด 4 สนาม เริ่มสนามแรก วันที่ 30 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 ที่จังหวัดพะเยา
เตือน น่าน เชียงราย พะเยา เฝ้าระวังฝนตกหนัก
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานฯ ที่มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
‘อุ๊งอิ๊ง’ แจ้นตรวจนํ้าท่วม ชาวบ้านลำบากแต่ยิ้มได้
นายกฯ อิ๊งค์ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมภาคเหนือ เสียงสั่นเครือเห็นใจชาวบ้านยังคงลำบากไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ชาวบ้านยังยิ้มแย้ม ดีใจและโบกมือให้
ประมวลภาพ นายกฯอิ๊งค์ ลุยโรงครัวปรุงอาหาร ช่วยชาวน่านประสบอุทกภัย
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและให้กำลังใจประชาชนที่ประสบอุทกภัย
นายกฯอิ๊งค์ ถึงน่านแล้ว รุดโรงครัวปรุงอาหาร ทอดไข่เจียว ช่วยผู้ประสบอุทกภัย
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน