26 จังหวัดPM2.5 เกินระดับปลอดภัย จับตา 4-10 มีนาฯ.กทม.ค่าฝุ่นพิษพุ่ง

3 มี.ค. 2566- นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคยังคงติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) แม้ในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์ฝุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะลดน้อยลง แต่ในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และบางจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือยังอยู่ในเกณฑ์เกินค่ามาตรฐาน กรมควบคุมโรคได้ติดตามข้อมูลรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 3 มีนาคม 2566 2566 ณ เวลา 07:00 น. โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พบว่า ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเกินค่ามาตรฐานใน จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ สมุทรสาคร เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ราชบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ตราด และ เลย อีกทั้งกรมควบคุมมลพิษได้คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ระหว่างวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2566 ว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ และ 17 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและล่างยังคงมีแนวโน้มพบค่าฝุ่นละอองสูงขึ้น

นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้เฝ้าระวังสถานการณ์การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคตาอักเสบ และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) พบว่า ในเดือนมกราคม 2566 อัตราป่วยทั้งหมด 699.96 รายต่อประชากรแสนคน โดยอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ 308.92 รายต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ (147.71) กลุ่มโรคตาอักเสบ (130.58) และโรคหัวใจและหลอดเลือด (102.34) ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี อัตราป่วย 108.90 รายต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (77.30) อายุ 40-49 ปี (73.69) อายุ 30-39 ปี (56.91) อายุไม่เกิน 9 ปี (56.85) อายุ 20-29 ปี (55.21) และอายุ 10-19 ปี (40.27) ตามลำดับ

ด้านนพ. อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า การสัมผัส สูดดมฝุ่น PM2.5 อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอ ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใจสั่น ระคายเคืองตา หรือเป็นผื่นคันตามร่างกาย และผู้ที่รับสัมผัสฝุ่นอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง คือ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และ กลุ่มโรคตาอักเสบ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะมีอาการผิดปกติเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป

“โดยในช่วงที่สถานการณ์ฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน ขอให้ประชาชน 1.ปิดบ้านให้มิดชิด โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้ป่วยพักอาศัยอยู่ เพื่อป้องกันฝุ่น 2.เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้านให้ตรวจเช็กค่าฝุ่น PM 2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน air4thai หากค่าฝุ่นเกิน 50 mg/m3 ให้สวมหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่นและใช้เวลาอยู่ภายนอกสั้นๆ ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง 3.หากค่าฝุ่นมากกว่า 91mg/m3 ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตาอักเสบและโรคผิวหนังอักเสบ ไม่ควรออกจากบ้านเพราะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงขึ้น 4.หากประชาชนมีอาการผิดปกติ ให้รีบกลับเข้าสู่ที่พักที่ปลอดฝุ่น และรีบปรึกษาแพทย์ทันที หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422” นายแพทย์อภิชาต กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 281 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 5 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 287 ราย ดับเพิ่ม 3 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 กันยายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 287 ราย

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า