ความหวังใหม่ อีก 4 ปี ไทยได้ใช้ยาแอนติบอดีรักษาไข้เลือดออก

“แอนดิบอดีที่คิดค้นใหม่นี้ บริษ้ทยาสหรัฐอเมริกา ได้นำไปทดสอบ ที่ประเทศอินเดีย พร้อมกับยาไข้เลือดออกที่อีกหลายประเทศคิดค้น  ซึ่งพบว่าแอนติบอดี ของไทย ดีกว่าอีกหลายบริษัท สามารถลดความรุนแรงของโรคในช่วง 7วันแรกทำให้ไข้ลดลง และลดความรุนแรงในกลุ่มที่ติดเชื้อซ้ำ  ซึ่งปกติจะมีความรุนแรงมาก  เกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ การรั่วของเส้นเลือด  เส้นเลือดตีบ ไม่ไปเลี้ยงอวัยวะ ทำให้ต้องตัดอวัยวะ หรือเสียชีวิตในที่สุด”

โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดไวรัสเดงกี ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ และมักจะเกิดการระบาดในหน้าฝน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งในอดีตจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากในวัยเด็ก แต่ในปัจจุบันพบว่า กลุ่มอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกได้ขยายไปยังวัยรุ่นและวัยทำงานมากขึ้น นอกจากนี้อาการและรุนแรงที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และปัจจุบันยังไมีมียาต้านไวรัสเดงกีโดยเฉพาะ        


ส่วนสถานการณ์ไข้เลือดออกประเทศไทย ในปี 2565( 1 ม.ค. – 5 ต.ค.) มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 27,912 ราย อัตราป่วย 42.18 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วทั้งหมด 25 ราย อัตราตาย ร้อยละ 0.07 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 19 ราย อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 ราย ขณะที่สถานการณ์ของโลกพบว่าในแต่ละปี ประชากรครึ่งโลกเสี่ยงต่อไวรัสไข้เลือดออกที่แพร่โดยจากยุงลาย มีผู้ป่วยถึง 100 ล้านคนที่ต้องเข้าพักฟื้นในโรงพยาบาล แต่จนถึงปัจจุบัน ยังคงไม่มียาเฉพาะในการรักษาโรคนี้ แม้ว่าจะมีนักวิจัยหลายประเทศพยายามคิดค้นวัคซีนป้องกัน และยารักษาโรค ไข้เลือดออก  แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ  

แต่ล่าสุดทีมวิจัยจากศูนย์ความเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดลเปิด พร้อมด้วย  รองศาสตราจารย์ ดร.ปานน้ำทิพย์ รามสูต นักศึกษาปริญญาเอก นางสาวรจนวรรณ   สุทธิโชติ  สามารถพัฒนายาชีวภาพแอนติบอดีชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการลดความรุนแรงของโรคไข้เลือกออกได้สำเร็จ โดยผลสำเร็จนี้ ได้ผ่านการทดลองกับหนู และลิง  พบว่าหากผู้ป่วยไข้เลือดออก ได้รับแอนติบอดีไข้เลือดออก ในช่วง 7วันแรกหลังติดเชื้อ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปานน้ำทิพย์ รามสูต ผู้สร้างแอนติบอดีโคลนใหม่(ซ้าย)


“แอนติบอดีที่ให้จะไปจับโปรตีนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสเข้าเซลล์ไม่ได้  ทำนองเดียวกับวัคซีนโควิดที่ไม่ให้สไปค์โปรตีน เข้าร่างกาย  และผลจากที่เราการทดลองกับลิง โดยใส่ไวรัสเข้าไป  10 ล้านตัว  หลังจากนั้นเราก็ให้ยาแอนติบอดี ซึ่งพบว่าไวรัส เหลือ 0 ตัวภายใน 2 วัน ดังนั้น เราจึงมีเป้าหมายใช้รักษาในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ในช่วง  7 วันแรกของการติดเชื้อ  และปัจจุบันต่อยอดพัฒนาแอนติบอดี ให้สามารถลดความรุนแรงของโรคในช่วง 7 วันหลังอีกด้วย  ซึ่งความสามาารถลดความรุนแรง 7 วันหลังนี้ เป็นปัญหาที่เราหาทางพัฒนามานาน “ศ.พิเศษ ดร.นายสัตวแพทย์พงศ์ราม กล่าว

หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวอีกว่า แอนดิบอดีที่คิดค้นใหม่นี้ บริษ้ทยาสหรัฐอเมริกา ได้นำไปทดสอบ ที่ประเทศอินเดีย พร้อมกับยาไข้เลือดออกที่อีกหลายประเทศคิดค้น  ซึ่งพบว่าแอนติบอดี ของไทย ดีกว่าอีกหลายบริษัท สามารถลดความรุนแรงของโรคในช่วง 7วันแรกทำให้ไข้ลดลง และลดความรุนแรงในกลุ่มที่ติดเชื้อซ้ำ  ซึ่งปกติจะมีความรุนแรงมาก  เกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ การรั่วของเส้นเลือด  เส้นเลือดตีบ ไม่ไปเลี้ยงอวัยวะ ทำให้ต้องตัดอวัยวะ หรือเสียชีวิตในที่สุด

“แม้จะยังไม่ได้ผลทดลองทางคลินิก ทดลองกับคน แต่ผลการวิจัยทดลองกับสัตว์ ทำให้เราได้รับการจดสิทธิบัตร และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก”Biomedicines 2023, 11(1), 227” ในปีนี้แล้ว “

ขั้นตอนต่อไป ก่อนผลิตแอนติบอดีไข้เลือดออกมาวางจำหน่าย  ศ.พิเศษ ดร.นายสัตวแพทย์พงศ์ราม กล่าวว่า คือ การวางสเต็ป ทดลองกับมนุษย์ 3เฟส เริ่มจากปี 2567 เป็นการทดลองกับอาสาสม้ครที่มีสุขภาพแข็งแรง ปี2568 ทดลองกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกแล้ว  50 คน และปี2569 ทดลองกับผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออก 500 คน ปี 2570 เป็นการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) หลังจากนั้นก็เป็นการวางจำหน่าย

 “ในการทดลองในคน   เราพบว่า ขนาดของยาที่ใช้  จะต้องใช้ขนาด 4-6 มก./กิโลกรัม หรือตามน้ำหน้กต้วแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน  ส่วนตัวยาที่วางแผนว่าจะออกวางจำหน่ายในอีก 4ปีข้างหน้า จะออกมาเร็วได้กว่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่เรากำลังคิด เพราะจากกรณีวัคซีนโควิดที่ปกติต้องใช้เวลาวิจัย  3 ปี ก็เหลือเพียงแค่ 3เดือน ส่วนยาไข้เลือดออกจะทำแบบเดียวกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราพิจารณาด้วยเช่นกัน ”  

ศ.พิเศษ ดร.นายสัตวแพทย์พงศ์ราม กล่าวอีกว่า ปัญหาไข้เลือดออก ถือว่าเป็นภัยใกล้ตัว เพราะทุกวันนี้เราพบว่ายุงเยอะมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังหน้าฝน และยุงลายมีเชื้อไวรัสเดงกี่  4สายพันธุ์ เป็นยุงชนิดที่มีช่วงชีวิตทนที่สุด ตอนกลางวันจะแอบซ่อนในบ้าน  ถ้ากัดก็จะปล่อยไวรัสออกมาทันที ซึ่งหลังจากไวรัสเข้าไปในตัวเราแล้ว ร่างกายก็จะสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาจำนวนมาก ทำให้คนติดเชื้อมีอาการป่วย มีไข้สูง ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษาโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ  แม้ว่าที่ผ่านมา จะมีบริษัทซาโนฟี่ ที่ทำวิจัยวัคซีนร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล แต่พบว่าวัคซีนที่ได้ให้ภูมิคุ้มกันป้องกันไม่เท่ากันทุกสายพันธุ์  โดยมีปัญหากับไวรัสสายพันธุ์ที่  2 สามารถป้องกันได้เพียง 36% เท่านั้น  ทำให้ในที่สุด วัคซีนดังกล่าว ก็ไม่ได้มีนำออกมาใช้  

นอกจากนี้ นวัตกรรมแอนติบอดีรุ่นใหม่นี้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ “Lab to Market” จาก “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” (Yothee Medical Innovation District – YMID) ซึ่งอยู่ภายใต้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) โดยขณะนี้มีการจัดตั้งบริษัท Spin off เพื่อพัฒนานวัตกรรมนี้สู่เชิงพาณิชย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.

อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว

เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ

มหิดลตั้ง'ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล' คุมศูนย์ตรวจสอบ สารต้องห้ามในนักกีฬา

ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการรับรองจาก องค์การต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาชุดใหม่ เรียบร้อยแล้ว