เมื่อโลกอินเตอร์เน็ตไม่ปลอดภัย 'Google' ผุดหลักสูตรสอน-ปกป้องเด็กรู้เท่าทัน

นักเรัยนเล่นเกม เพื่อทดสอบความเข้าใจการใช้อินเตอร์เน็ตปลอดภัยควรทำอย่างไร

เรื่องราวของดช.บุญเกิด  คำผุย เมื่อสมัยอายุ 12 ปีเขาเคยถูกหลอกให้บอกรหัสผ่านการเข้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย  ทำให้หลังจากนั้น เขาเกิดความไม่มั่นใจที่จะเข้าไปใช้งานในโลกอินเตอร์เน็ต แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะได้อบรม หลักสูตร Be Internet Awesome (BIA) หลังอบรมเขาได้ความรู้ และข้อคิดหลายอย่างมากมาย  เช่น คิดก่อนแชร์ ไม่บูลลี่ทางออนไลน์ รู้จักตั้งคำถามกับข่าวที่เห็น   แม้ว่าหลังจากนั้นเขาจะถูกหลอกล่อเพื่อเอารหัสผ่านอีกครั้ง แต่คราวนี้บุญเกิดไม่หลงกล เขาแคปหน้าจอและข้อความคนที่มาหลอก บอกเล่าเรื่องราวให้แม่และคุณครูฟัง พร้อมกับเตือนเพื่อนๆ

Be Internet Awesome (BIA) เป็นหลักสูตรอบรมรู้เท่าทันโลกอินเตอร์เน็ต ที่  Google ออกแบบ มาสอนเด็กและเยาวชนทั่วโลก โดยGoogleประเทศไทยเปิดตัวหลักสูตร Be Internet Awesome (BIA)  อย่างเป็นทางการ โรงเรียนพญาไท เมื่อ 3ปีที่แล้ว โดยได้รับความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เนื้อหาหลักสูตร มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ เพื่อให้การสอนเด็กมีความง่าย โดยไม่ไปบวกเวลาให้เด็กต้องเรียนเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติ จวบจนปัจจุบันมีครูและนักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมไปแล้วกว่า 3.4 ล้านคน

แจ็คกี้ หวาง

แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนท่องโลกออนไลน์มากขึ้น ในปี 2565 พบว่ามีการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying  ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่คนไทยให้ความสนใจค้นหาบน Google มากเป็นอันดับต้น ๆ  โดยมีการค้นหาเพิ่มขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปี 2560  ดังนั้น การลงทุนลงแรงเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในพันธกิจของกูเกิ้ล

หัวใจหลักของเนื้อหา ที่เด็กต้องเรียนรู้ คือ 1. คิดก่อนแชร์ ให้นักเรียนตระหนักว่า ข้อมูลที่แชร์บนอินเตอร์เน็ตอาจถูกส่งต่อ คัดลอกหรือปรากฎในที่ต่างๆ  2.ไม่ตกหลุมพรางกลลวง เด็กต้องคิดให้รอบคอบก่อนเสนอก่อนทำสิ่งใดๆบนโลกอินเตอร์เน็ตและต้องแยกแยะข้อมูลจริงและข้อมูลเท็จออกจากกัน  3.เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่ออุปกรณ์ ชื่อเสียงและความสัมพันธ์  4. เป็นคนดีเท่จะตาย การบล็อกพฤติกรรมที่น่ารังเกียจหรือไม่เหมาะสมทางออนไลน์และใช้พลังอินเตอร์เน็ตในเชิงบวก 5.สงสัยเมื่อไหร่ก็ถามได้ ในสิ่งที่พบบนโลกออนไลน์ ควรปรึกษาผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจได้

ที่สำคัญ Google ยังติดตามผลลัพธ์ของโครงการ ในช่วง 3ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากผลการวิจัยของบริษัท Kantar  ได้สำรวจความคิดเห็นของครูผู้สอนที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการนี้่ ระหว่างวันที่ 1 ก.ย.-25ต.ค.2565 จากครูกลุ่มตัวอย่าง 368 คน  ภาพรวมครูให้ความเห็นว่า หลักสูตรมีจุดเด่น ในแง่เป็นเครื่องมือช่วยครูสอน และเนื้อหายังสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับแผนการสอนแบบดั้งเดิม มีบทเรียนและแบบฝึกหักที่เด็กใช้ได้จริง  สร้างการตระหนักรู้ของนักเรียน ให้มีฤติกรรมเชิงบวก มีความระแวดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต มากยิ่งขึ้น

หลักสูตร Be Internet Awesome 

นอกจากนี้ ในผลสำเร็จในแต่ละด้าน พบว่า ครู 99 % ระบุว่านักเรียนมีความเข้าใจดีขึ้นในวิธีการที่จะฝึกเป็นคนฉลาด ตื่นตัว ปลอดภัย ใจดี และหล้าหาญบนโลกออนไลน์ , ครู 93%  ระบุว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการสอนเด็กๆ เรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ครู 100% ยอมรับว่า Be Internet Awesome  ช่วยให้นักเรียนมีความระมัดระวังในการใช้งานออนไลน์มากยิ่งขึ้น , ครู 99 % ยอมรับว่าตั้งแต่สอน หลักสูตรนี้ ได้เห็นนักเรียนมีปฎิสัมพันธ์ทางออนไลน์เชิงบวกมากขึ้น ครู99% มีแนวโน้มที่จะแนะนำโครงการนี้ ให้กับครูคนอื่นๆ ,ครู กว่า 9 ใน 10 คน พบว่า Be Internet Awesome  ให้ความรู้ ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมและใช้งานง่าย  ครู99%  กล่าวว่านักเรียนมีความเข้าใจดีขึ้นในวิธีการที่จะฝึกเป็นคนฉลาด ตื่นตัว ปลอดภัย ใจดี และกล้าหาญบนโลกออนไลน์ ครู7ใน 10 คน เห็นว่า Be Internet Awesome  มีประสิทธิภาพในการสอนเรื่องความปลอดภัยออนไลน์มากกว่าเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มอื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน

“พบว่าหลักสูตรนี้นักเรียนทำให้นักเรียนรู้จักปกป้องข้อมูลส่วนตัวตั้งรหัสที่ปลอดภัย นักเรียนคนที่ถูกบูลลี่ มีความเข้าใจมากขึ้นว่าถ้ามีปัญหาจะต้องไปปรึกษาใคร “บทสำรวจกล่าวย้ำ

ในด้านผู้นำหลักสูตรไปใช้งานจริง โอภาส ภูครองนาค ผอ. กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมกิจการเด็ก และเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ามีเด็กและเยาวชนลูกละเมิดและถูกคุกคามบนโลกอินเตอร์เน็ตเยอะมาก ขึ้นเรื่อยๆ ในการทำงานเพื่อปกป้องเด็ก พบว่าหลักสูตร Be Internet Awesome  ดีมากๆ เด็กเรียนแล้วรู้สึกสนุก  และไม่ได้ทำให้เด็กรู้เท่าทันภัยอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังไปมีผลถึงพ่อแม่ ส่วนครูก็จะตระหนักปัญหามากขึ้น เพราะแค่การถ่ายภาพเด็กลงรูปบนโซเชียลก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเด็กแล้ว  

ส่วน รศ.ดร. ประกอบ กรณีกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่เด็กได้เรียนรู้หลักสูตรนี้ จะทำให้เด็กได้ซึมซับ รู้ถึงอันตรายในโลกอินเตอร์เน็ต ในเนื้อหาที่สอน ยังครอบคลุมรอบด้านทุกปัญหาสังคมที่มาจากโลกออนไลน์  เด็กสามารถนำไปสอนผู้ปกครองได้ นอกจากนี้ ในโปรแกรมยังมีหลายภาษา จะทำให้เกิดการบูรณาการเด็กเรียนรู้ภาษาอื่นๆได้ อีกทั้งการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กผ่านเกม จะไม่ทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าเป็นการเรียน เพราะมุ่งมั่นที่จะเอาชนะเกม และยังได้ประกาศนียบัตรหลังการเล่นเกม  จึงถือว่าหลักสูตรนี้มีความน่าสนใจและประสบความสำเร็จมากในการทำให้เด็กได้เรียนรู้ภัยจากอินเตอร์เน็ต

สุดท้ายทัศนีย์ พิมพ์ดี ศึกษานิเทศชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กล่าวว่า  เป็นการสอนเด็กผ่านเกม ผลของการเรียนทำให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกต่อเด็ก เพราะหลังเลิกเรียนเด็กกล้ามาเล่าปัญหาภัยอินเตอร์เน็ตที่เจอให้ฟัง  เช่น เด็กเล่าว่าเล่นเกมออนไลน์กับคนไม่รู้จัก ไม่เห็นหน้า อีกฝ่ายขอไอเท็มไป พอเด็กให้ฝ่ายนั้นก็ยึดไปเลย เป็นบทเรียนที่พอเขามาเรียนหลักสูตรนี้ ก็ทำให้จำไม่ลืม มีความระแวดระวังมากขึ้น นอกจากนี้ การเรียนผ่านเกม ยังเป็นลักษณะการเรียนแบบActive Learning  ที่ดีต่อเด็กมากๆอีกด้วย

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไทย Countey Marketing Manager  , Google ประเทศไทย  กล่าวว่า ผลการอบรมครูนักเรียน 3ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผ่านการอบรมรู้สึกมีความมั่นใจในการท่องโลกออนไลน์มากขึ้น และGoogle ยังคงพัฒนาหลักสูตร โดยจัดทำหลักสูตรใหม่ปี 2566 ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อให้หลักสูตรมีความกลมกลืนกับหลักสูตรการเรียนการสอนปกติของเด๊กให้มากยิ่งขึ้น

คุณครูสอนนักเรียนในหลักสูตร Be Internet Awesome 

นอกจากนี้  Google ยังพร้อมขยายหลักสูตร Be Internet Awesome  ออกไปสู่โรงเรียนอื่นๆมากขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนที่ชาดแคลนทรัพยากร โดยจะเข้าไปติดตั้งระบบ ChromeOS Flex ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่ChromeOS ในอุปกรณ์ของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเดอร์ พีซี หรือแท็บแล็ต ที่เป็นรุ่นเก่า ให้มีระบบปฎิบัติการที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดการตั้งค่าผู้ใช้แบบอัติโนมัติได้ และสามารถจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ได้  พร้อมกับผนวกหลักสูตรBe Internet Awesome  เข้าไปในเวลาเดียวกัน  โดยจะนำร่องก่อนที่เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมน์ เชต 2ในไตรมาสนี้ หลังจากนั้นจะเข้าไปดำเนินการปรับโฉมอุปกรณ์ของโรงเรียน 500 แห่ง ให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่รวดเร็ว จัดการง่าย ใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก ภายในปีนี้

ลักษณะความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยในปี 2565 (เทียบกับปี 2564)  

1.SMS ฟิชชิ่ง (Smishing), +160% หรือ การหลอกลวงทางข้อความ  เพื่อพยายามขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินของเหยื่อ   2. เครื่องสร้างรหัสผ่านแบบสุ่ม +140% 3. สปายแวร์ +85% 4.  ระดับความแข็งแกร่งของรหัสผ่าน +70% 4.  RSA, +70% 5.  ระบบตรวจจับการบุกรุก +60% 7.  การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต +60% 8. ฟิชชิ่งด้วยเสียง +60% 9. ทีมรับมือเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ +50% 10.  การปลอมแปลงการโจมตี +50%

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยบนเส้นทาง Data Center Hub: ปลดล็อคศักยภาพ สู่ "Digital Thailand" อย่างยั่งยืน

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญบนแผนที่ Data Center โลก เมื่อยักษ์ใหญ่สายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft, Google ต่างประกาศลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย

ทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก Google ได้ง่าย ๆ ด้วย Local SEO

การทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจต้องการอย่างมาก เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณได้

ทำไมถึงควรใช้บริการ “รับทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก Google”

ในปัจจุบัน การทำการตลาดออนไลน์กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจทุกประเภท การทำเว็บไซต์เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและส

โฆษกรัฐบาลปัดข่าว 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ต่อรองค่าไฟก่อนลงทุน

โฆษกรัฐบาลชี้แจง Google, Microsoft และ Tesla ไม่เคยต่อรองราคาค่าไฟกับรัฐบาล สิ่งที่ต้องการคือพลังงานสะอาด ซึ่งรัฐบาลไทยสามารถรองรับได้