ไทยขอ'ยูเนสโก' ขึ้นทะเบียน 'ผ้าขาวม้า' มรดกจับต้องไม่ได้

28 ก.พ.2566- นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เสนอเรื่อง ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย เพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ไปยังยูเนสโกภายในเดือนมีนาคม 2566 นี้ เป็นไปตามเอกสารแนวทางการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Operational Directives for the implementation of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) หัวข้อที่ 1.15 กำหนดให้รัฐภาคียื่นเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จำเป็นต้องดำเนินการภายในเดือนมีนาคมของทุกปี รวมไปถึง ครม.ได้เห็นชอบในเอกสารนำของผ้าขาวม้า และเห็นชอบให้อธิบดี สวธ. ในฐานุเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการผ้าขาวม้า เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003) ของยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 ไทยได้เสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวนทั้งสิ้น 5 รายการ คือ โขน (พ.ศ. 2561) นวดไทย (พ.ศ. 2562) โนรา (พ.ศ. 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (จะพิจารณาในปี 2566) และต้มยำกุ้ง (จะพิจารณาในปี 2568) โดยเบื้องต้น รายการ โขน นวดไทย และ โนรา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโกแล้ว คาดว่ารายการสงกรานต์ในประเทศไทย จะได้รับการประกาศในปี 2566 ต้มยำกุ้ง คาดว่าจะได้รับการประกาศปี 2568 จากนั้นคาดว่าผ้าขาวม้า จะได้รับการพิจารณาและประกาศปี 2570

ทั้งนี้ ผ้าขาวม้า เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ทอโดยใช้เทคนิคที่เรียบง่าย มักทอเป็นลายตารางหรือลายแถบที่มีสีสัน มีการย้อมสีและสามารถทอใช้ได้เองในครัวเรือน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และคนหนุ่มสาว อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อย่างหลากหลาย มีการใช้งานสารพัดประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวัน และในประเพณีพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของชีวิต ตลอดจนเป็นของกำนัล แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไทย มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สืบทอดมาอย่างยาวนานโดยส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน ในศูนย์ทอผ้าของชุมชนในท้องถิ่นและมีการพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผ้าขาวม้า มีความสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามนิยามในอนุสัญญาฯ ใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ 1) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมงานเทศกาล 2) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และ 3) งานช่างฝีมือดั้งเดิม และสอดคล้องกับเกณฑ์ประเภทรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ของยูเนสโก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สืบสานงานศิลป์ 2 แผ่นดิน ศิลปกรรมสยาม

เนื่องในวโรกาสมหามงคล 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ชมรมพุทธศิลป์ศิมาลัยทรงธรรม วัดศิมาลัยทรงธรรม กลุ่มศิลปาศรี ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ

บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม - ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล

ยอดชมมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ 5 วัน 5 แสนคน

16 ก.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ