มูลนิธิคึกฤทธิ์แสดงโขน-โนรา ส่งต่อมรดกชาติ

เดินหน้าส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยตลอดปี 2566 หลังจากหยุดชะงักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ปีนี้มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เตรียมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยของสถาบันคึกฤทธิ์ขึ้น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างนักแสดงโขนรุ่นเยาว์ สืบทอดคุณค่าของศิลปะการแสดงโขน นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย ไม่ให้สูญหายไป

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80  ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด สถาบันคึกฤทธิ์ที่มีบทบาทสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ต้องหยุดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม หยุดการจัดสอนดนตรีนาฏศิลป์ไทยมากมาย  เสียดายเวลา เสียดายโอกาสของคนไทย โดยเฉพาะเยาวชน  ปีนี้โรคร้ายเบาบาง เราเดินหน้าทำงาน ตั้งเป้าหมายให้เข้มข้นที่จะเผยแพร่ ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ สู่เด็กๆ สู่ชุมชน  ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ของสถาบันคึกฤทธิ์  รวมถึงกลับมาเปิดการเรียนการสอนภายใต้ศูนย์ศิลปะการแสดงสถาบันคึกฤทธิ์ มีเยาวชนมาเรียนโขนยักษ์ โขนพระ โขนลิง ละครพระ ละครนาง  เรียนดนตรีไทย ระนาด ซอ จะเข้

ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ยกตัวอย่างกิจกรรมเด่นให้ฟังว่า งานหลักที่คนแวดวงศิลปวัฒนธรรมให้ความสำคัญ คือ วันคึกฤทธิ์  ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 20 เมษายนของทุกปี ส่วนวันคึกฤทธิ์ ประจำปี 2566 จะเป็นปีที่เราภาคภูมิใจที่สุด เพราะจะนำเยาวชนที่ฝึกโขนมาตลอดหลายปี ทำการแสดงโขนถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอน โมกขศักดิ์   นอกจากนี้ มีการแสดงบรรเลงดนตรีไทย  รำถวายพระพร วันนั้นจะรวมครูโขนละคร ครูดนตรี นักเรียนโขนละคร และนักเรียนดนตรี เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เตรียมเปิดรับสมัครอีกครั้งเดือน พ.ค.นี้

“  งานวันคึกฤทธิ์จะมีพิธีมอบรางวัลคึกฤทธิ์ ประจำปี 2566  สาขาศิลปะการแสดงและสาขาวรรณศิลป์ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และถ่ายทอด เผยแพร่ศิลปะในสาขานั้น สร้างประโยชน์แก่ประเทศอีกด้วย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการคัดเลือกและสรรหา ถือเป็นปีที่มูลนิธิต้องทำงานหนัก เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปในการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะศิลปะการแสดงและดนตรี  เพื่อให้คนไทยและเยาวชนไทยมีแรงบันดาลใจ ภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย รักและหวงแหน  นำไปสู่การดูแลรักษาปกป้องมรดกของชาติต่อไป  “ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร กล่าว

นอกจากนี้ ตลอดปี 66 สถาบันคึกฤทธิ์จะจัดกิจกรรมเสวนาและสาธิต 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 เสวนาและสาธิตภายใต้หัวข้อ “โนรา มรดกมนุษยชาติ มรดกภูมิภาค  และมรดกประเทศไทย ”  โดยดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า  กออนันตกูล ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง  ศ.พรรัตน์ ดำรุง  ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สุขสันติ  แวงวรรณ วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม  2566 เวลา 13.00-15.00 น.  ณ โรงละครสถาบันคึกฤทธิ์ สถาบันคึกฤทธิ์ ซอยงามดูพลี   ภายในงานนอกจากเสวนาออกรส ชวนชอป ชิม  อาหารพื้นเมืองภาคใต้

ส่วนครั้งที่ 2 จัดกิจกรรมเสวนาด้านสังคมศาสตร์  ครั้งที่ 3 เสวนาด้านเศรษฐกิจ และครั้งที่  4 เสวนาด้านวรรณกรรม “การสื่อวรรณกรรมไทยสู่สากล” เพื่อถ่ายทอดคุณค่าของภาษาไทยและวรรณกรรมไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

คนรักศิลปวัฒนธรรมสามรรถติดตามและร่วมกิจกรรมการแสดงศิลปะฒนธรรมของไทยจากมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหกรรม'วิถีถิ่น วิถีไทย' 4 ภาค พาไทยสู่ระดับโลก

มรดกทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมอันหลากหลายของประเทศไทย ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวที่ชวนเพลิดเพลินและความภาคภูมิใจของคนไทย แต่ถือเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรรมที่สำคัญของประเทศ มรดกวัฒนธรรมเหล่านั้นยังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนแต่ละท้องถิ่น  สร้างความเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจในหลาย

วธ.พา'โนรา'อวดโฉมเทศกาลไทยกลางกรุงโตเกียว

10 พ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดทำแผนโครงการส่งเสริมและเผยแพร่อำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยในกรอบทวิภาคีประจำปี

กระหึ่ม! ยูเนสโก ใช้รูป’โนรา’ไทย ขึ้นเป็นcover page บนเว็บไซต์UNESCO ฉลอง 20 ปี

“โนรา” มรดกภูมิปัญญาของไทยดังกระหึ่มไปทั่วโลก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ใช้ภาพ “โนรา”

'ศุภวุฒิ' หนุนนโยบายทลายทุนผูกขาด ชี้อยากทำรัฐสวัสดิการต้องกล้าขึ้นภาษี VAT

'ศุภวุฒิ' หนุนนโยบายทลายทุนผูกขาด แต่แนะให้หาจุดสมดุลในการรีดภาษี เพราะกระทบการลงทุน ยันหากจะหาเงินทำรัฐสวัสดิการ การขึ้น VAT เป็นคำตอบที่ง่ายสุด

มูลนิธิคึกฤทธิ์ฯ เพิ่มรางวัลใหม่ให้’ศิลปินพื้นบ้าน’

รางวัลคึกฤทธิ์ เป็นรางวัลที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อมอบให้แก่ศิลปิน นักเขียน และผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับ มีความรู้ความสามารถ สร้างองค์ความรู้ในด้านนั้นอย่างลึกซึ้ง เป็นประจำในทุกๆปี