อย.จับมือมูลนิธิกสิกรไทย บพข. และ TCELS เชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าการพัฒนายาจากพืชยาใต้ป่า ภายใต้โครงการน่านแซนด์บอกซ์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ณ ธนาคารกสิกรไทย อาคารราษฎร์บูรณะ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ดร.จิตต์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS และนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชสมุนไพร ในพื้นที่จังหวัดน่าน บนความพยายามแก้ไขปัญหาให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้ที่ยั่งยืน สามารถเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นในประเทศ

เลขาธิการฯ อย. เปิดเผยว่า ทั้ง 4 หน่วยงาน จะร่วมกันจัดตั้งโครงการบ่มเพาะต้นแบบในลักษณะคลินิกให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมการวิจัย ผลักดัน และสนับสนุนการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืช ให้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพภายใต้ พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน และยกระดับอุตสาหกรรมพืชยาให้มีความปลอดภัยมีคุณภาพและมาตรฐานสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อเป็นประโยชน์หรือกรณีศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการขึ้นทะเบียนกับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ อีกทั้งจะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืช เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการคืนกลับมาของป่าในจังหวัดน่าน ตามแนวทางของโครงการ “น่านแซนด์บอกซ์” ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสิกรไทยโชว์กำไรปี 67 ทะลุ 4.8 หมื่นล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว้ได้ในระดับที่สูงกว่าปี 2566 โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าบางหมวดที่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยีขยายตัวได้ดี แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังมีสัญญาณอ่อนแอท่ามกลางแรงกดดันต่อเนื่องจากปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ข้อจำกัดของกำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศ และปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง