มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มากมาย ที่มีการค้นพบบนแผ่นดินแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอิสานบ้านเรา รวมทั้ง จังหวัดอุดรธานี ก็เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าที่นี่เคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน โดยเฉพาะข้าวของเครื่องใช้ที่มีการขุดค้นพบ และระบุว่าเป็นอารยธรรมบ้านเชียง เป็นเครื่องยืนยันความเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เก่าแก่ของเมืองอุดร และพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ก็เป็นสถานที่รวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี และความรู้ประวัติศาสตร์ของเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มิใช่แค่ความพิพิธภัณฑ์ของเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงยุคของอารยธรรมมนุษย์แห่งหนึ่งบนโลกอีกด้วย
โดยพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรฯตั้งอยู่ ณ อาคารราชินูทิศ อาคารทรงโคโลเนียลอายุกว่า 100 ปี เป็นอาคารโดดเด่นอยู่ริมหนองประจักษ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร ภาพรวมของพิพิธภัณฑ์ถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นอาคารศูนย์บริการพิพิธภัณฑ์ฯ เดิมเป็นอาคารวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ต่อมาจึงบูรณาซ่อมแซ่มให้เป็นพื้นที่ใช้งาน ตัวอาคารมีการออกแบบผนังให้มีลักษณะซ้อนกัน 3 ชั้น ตกแต่งด้วยเหล็กฉลุเป็นลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลายผ้าหมี่ขิดที่ชื่อว่า ขิดลายพระราชทาน ซึ่งเป็นลายที่ชาวนาข่าถักทอเพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีการลดทอนเพื่อให้ระบายอากาศได้ดี และมีแสงสว่างส่องผ่านจึงได้ลดลายละเอียดของลวดลายด้วยการสร้างให้เป็นรูปทรงเราขาคณิตดูงดงามร่วมสมัย โดยแบ่งเป็น 2 ชั้น ด้านล่างไว้สำหรับประชาสัมพันธ์ ขายของที่ระลึก และจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ส่วนชั้นด้านบนเป็นพื้นที่สำหรับร้านอาหาร ร้านกาแฟ
มาถึงตัวอาคารราชินูทิศ ที่ฉาบด้วยสีเหลืองนวลทั้งอาคาร ดูเปล่งประกายเมื่อแสงแดดตกกระทบ เพิ่มความละเอียดให้ได้เห็นความปราณีตงดงาม ของการออกแบบอาคารสไตล์โคโลเนียล ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมตะวันตก ในช่วงการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่5- รัชกาลที่ 6 ตัวอาคารเป็นแบบก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ส่วนด้านหน้ามีการเชื่อมต่อกันคล้ายรูปตัวยู มีมุขบริเวณกึ่งกลางอาคาร รอบๆตัวอาคารรอบล้อมไปด้วยระเบียง ระหว่างช่วงเสามีพนักระเบียงราวลูกกรงปูนปั้น มีซุ้มโค้งเพิ่มมิติ และหัวเสามีศิลปะแบบดอริก ส่วนหลังคาก็เป็นทรงปั้นหยาสูงชัน
แต่ความพิเศษของอาคารแห่งนี้คือ การค้นพบว่ามีการใช้โครงสร้างอิฐ ไม้ ในการก่อสร้าง ตรงบริเวณประตูและหน้าต่าง ซึ่งโครงสร้างลักษณะนี้ไม่เคยปรากฎที่อื่นมาก่อน จึงสันนิษฐานได้ว่าอาจจะมีแห่งเดียวในประเทศไทย เดิมอาคารแห่งนี้ ใช้เป็นโรงเรียนมาสตรีราชินูทิศในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จากนั้นมีการย้ายโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดตั้งเป็นสำนักงานการศึกษาธิการเขต 9 แต่เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว จึงได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯขึ้น
เรื่องราวด้านนอกอาคารก็รู้พอเป็นสังเขปแล้ว ด้านในอาคารก็น่าสนใจแพ้กัน โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการทั้งสิ้น 26 ห้อง ซึ่งจะแบ่งเป็นเรื่องราวๆต่างตามลำดับ โซนชั้นล่างมี 11 ห้อง เมื่อเริ่มเดินเข้าไปในตัวอาคารเหมือนกำลังย้อนกลับในอดีต เพียงเป็นอดีตที่ปรุงแต่งขึ้นมาใหม่ในยุคปัจจุบัน ด้วยการออกแบบสมัยใหม่ร่วมกับการใส่เทคโนโลยีทำให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
มาที่ห้องแรก เกียรติประวัติอาคารราชินูทิศ ได้นำภาพในอดีตสอดแทรกข้อความเล่าถึงที่มา ให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพอาคารแห่งนี้ชัดขึ้น มาที่ห้อง เมืองมีชีวิต ที่เริ่มแนะนำให้รู้จักเมืองอุดรฯ ที่ฉายความเจริญรุงเรืองทางการค้า ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและเทศกาลต่างๆ ก่อนจะดำดิ่ง ลงไปสู่เรื่องราวเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนของภาคอีสานในห้องผืนดินอีสานใต้ทะเล จากการพบหลักฐานไทรโลไบท์ สัตว์จำพวกเดียวกับแมงดาทะเล เชื่อมต่อมาถึงห้องเมื่อธรณีแปรสัณฐาน การถือกำเนิดขึ้นของดินแดนอีสานอันอุดมสมบูรณ์ มีการพบชั้นหินเกลือและแร่โพแทช ยังมีการพบว่าเป็นที่อาศัยของเหล่าไดโนเสาร์กินพืชจำนวนมากอีกด้วย
มาสู่ห้องอาณาจักรเกลือ ที่เป็นตัวสำคัญในการปฏิวัติสังคมอีสาน เชื่อมโยงมายังห้องจากชุมชนสู่วัฒนธรรม เพราะชุมชนแถบลุ่มน้ำโขงที่ติดประเทศพม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม ถือเป็นอู่อารยธรรมทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ถัดมาที่ห้องจากวัฒนธรรมสู่อารยธรรม กับอารยธรรมที่สำคัญคือ อารยธรรมบ้านเชียง ไม่ว่าจะเป็นไห โลหะสำริด โครงกระดูกต่างๆ มายังห้องมรดกจากบรรพบุรุษ การขุดพบทางโบราณคดีส่งผลต่อสังคมในอุดรฯ และต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุระดับประเทศ ต่อมาที่ห้องเมื่อพระพุทธศาสนามาถึง ที่แวบแรกแอบหลอนนิดหน่อยเพราะห้องมีการตกแต่งด้วยต้นโพธิ์ตามความเชื่อของในอดีต ที่นับถือผี ก่อนบทบาทจะลดลงเพื่อผู้คนเริ่มหันมาหาพุทธศาสนา ห้องของดีเมืองอุดร ที่นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวและอาหารยอดนิยม
มาที่ชั้นเดินขึ้นบันไดประดุจนางงามที่ต้องระมัดระวัง เพราะพื้นไม้ขัดเงาอาจจะทำให้ลื่นได้ ชั้นนี้มีทั้งสิ้น 15 ห้อง เช่น ห้องกำเนิดหมากแข้ง ที่จะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์ของสร้างเมืองอุดรฯ จากมณฑลลาวพวนกลายมาเป็นเมืองอุดรฯ ในปัจจุบัน เชื่อมกับห้องมือที่สร้างเมือง โดยรวบรวมรายชื่อบุคคลสำคัญที่วางรากฐานในการสร้างเมืองอุดรฯขึ้น สู่ห้องเมื่อความเปลี่ยนแปลงมาเยือน ห้องนี้ทำให้เราได้เห้นวิวัฒนาการใหม่ที่เริ่มนำมาใช้ในพื้นที่อย่าง การเดินทางด้วยรถไฟ ห้องไอร้อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมี ยุทธเวหา ฐานบินปฏิบัติการกองทัพอากาศครั้งแรกของไทยอยู่อุดรฯ
มาที่ห้องระอุสงครามเย็น ซึ่งเกิดถนนมิตรภาพขึ้น หลังจากที่ได้ร่วมกับสหรัฐต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน นำความเจริญมาสู่อุดรฯ ห้อง G.I. ทหารเกณฑ์มะกัน ซึ่งทำให้อุดรฯเกิดวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมาก มาอีกห้องที่สำคัญ คือ ห้องพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม และห้องศรีอุดร รวบรวมภาพของบุคคลสำคัญฯที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจังหวัดแห่งนี้
ชมพิพิธภัณฑ์เสร็จพระอาทิตย์ก็จวนจะตกดิน เราเลยเดินมาทางด้านหนองประจักษ์ที่ได้ทำเป็นพื้นที่สาธารณะสวยงาม นั่งมองอาคารแห่งนี้ด้วยใบหน้าอิ่มเอม ที่ได้ซึมซับเรื่องราวของเมืองอุดรฯ ถึงแม้ว่ามาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ฯมันอาจจะไม่สนุกสนาน แต่ก็เพลิดเพลินแถมยังได้ความรู้เพิ่ม ที่สำคัญคือได้เข้าใจว่าบ้านเมืองกว่าจะมีทุกวันนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' ย้ำพรรคร่วมมีเป้าเดียวทำเพื่อประชาชนส่วนจะอยู่ได้แค่ไหนก็แค่นั้น
'อนุทิน' ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน - ประเทศ หลังทักษิณชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี
จักรภพไม่พลาด! แต่งกลอนอวยนายใหญ่ลงอุดรธานี
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประสำนักนายกรัฐมนตรี
'กรมพัฒนาธุรกิจการค้า' จัดกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 ส่วนภูมิภาค จังหวัดอุดรธานี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรม แฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 โดยยกขบวน แฟรนไชส์ชั้นนำกว่า 40 แบรนด์ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ และค้าปลีก มาให้ผู้สนใจได้เลือกสรรตามความสนใจและความถนัด
นายกฯอิ๊งค์ทัวร์ 'อุดรธานี-หนองคาย' 17 ต.ค.
นายกฯ บินหนองคาย 17 ต.ค. ตรวจฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำท่วมอีสาน พร้อมเปิดงานบั้งไฟพญานาค ชู 'ซอฟต์พาวเวอร์'
กมธ.ที่ดิน ลงพื้นที่ภูผาเหล็ก ยังไร้ข้อยุติความขัดแย้งชุมชน-อุทยานฯ
คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายอภิชาติ ศิริสุนทร ได้มาลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและรับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ชาวบ้านผลกระทบจากป่าสงวนแห่งชาติภูผาเหล็กทับซ้อนที่ดินทำกิน
'ชาวหนองวัวซอ' ยื่นผู้ว่าฯอุดรธานี ขอให้กรมธนารักษ์พิสูจน์สิทธิในที่ดินทับซ้อน
ชาวบ้านอำเภอหนองวัวซอกว่า 100 คนได้รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเพื่อยื่นขอพิสูจน์สิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนระหว่างค่ายทหาร มทบ.24 กรมธนารักษ์และชาวบ้าน ทั้งนี้ชาวบ้านอำเภอหนองวัวซอยืนยัน