ความเชื่อเรื่องพญานาคอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน เห็นได้จากวัดวาอารามมีรูปปั้นพญานาค หรือสถานที่หลายแห่งมีเรื่องเล่าเชื่อมโยงกับพญานาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่มีประเพณีและความเชื่อผูกพันกับพญานาคอย่างเด่นชัด อย่างงานประเพณีบั้งไฟพญานาคสะท้อนคติความเชื่อของชาวพุทธริมแม่น้ำโขง กับการเสด็จมาโลกมนุษย์ของพระพุทธเจ้า ในวันออกพรรษา
จังหวัดที่ติดน้ำโขงล้วนเคารพสักการะพญานาค เชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และแม่น้ำโขงเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองมนุษย์และเมืองบาดาลที่พญานาคอาศัย จะเห็นประติมากรรมพญานาคตั้งอยู่ริมโขง
ประติมากรรมพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราชที่วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์
ความเชื่อเรื่อพญานาคนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงระบุ นาคมีลักษณะคล้ายงูใหญ่ แต่มีหงอน ดวงตาสีแดง เกล็ดหลากสี อาศัยอยู่บริเวณบาดาลใต้เขาหิมพานต์ กึ่งสัตว์ กึ่งเทพ มีพละกำลังและอิทธิฤทธิ์มาก สามารถแปลงตนและจำแลงกายได้
เจดีย์หลวงปู่วัง ถ้ำนาคา
สำหรับพญานาคที่อยู่ในพิภพบาดาล ตามตำนานกล่าวว่า มีนาคกษัตริย์ปกครองอยู่ 9 พระองค์ ดังนี้ พญาอนันตนาคราช พญามุจลินท์นาคราช พญาภุชงค์นาคราช พญาศรีสุทโธนาคราช พญาศรีสัตตนาคราช พญาเพชรภัทรนาคราช พญานาคดำแสนศิริจันทรานาคราช พญายัสมัญนาคราช และ พญาครรตะศรีเทวานาคราช
การตามรอยความเชื่อลุ่มน้ำโขงเป็นที่นิยม ล่าสุด นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นำผู้บริหารกรมการศาสนา (ศน.) ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มน้ำโขง 4 จังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร บึงกาฬ นครพนม และหนองคาย ซึ่งแต่ละจังหวัดมีแหล่งที่เป็นที่มาของความเชื่อ ความศรัทธาแห่งพญานาคมากมาย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ติดริมแม่น้ำโขง
พญาศรีสัตตนาคราชริมน้ำโขง จ.นครพนม
นายชัยพล กล่าวว่า ศน.จะร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จัดทำเส้นทางเชื่อมโยงสถานที่ที่มีความสำคัญมีความเชื่อเรื่องพญานาค เชิญชวนนักท่องเที่ยวสักการะขอพร โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความเป็นมงคลในชีวิต ประกอบด้วย ใน จ.มุกดาหาร ได้แก่ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ มีประติมากรรมพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช รูปปั้นพญานาคเศียรเดียวองค์ใหญ์ชูเศียรไปทางแม่น้ำโขง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 มีประติมากรรมพญานาคอนันตนาคราช พญานาคที่พันล้อมรอบเสาต้นใหญ่ และยังมีลานพญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช
ตามรอยเส้นทางธรรม สักการะบูชาพระธาตุพนม
ขณะที่ จ.นครพนม มีไฮไลต์สำคัญที่ พระธาตุพนม พระธาตุประจำวันเกิดปีวอก และลานพญาศรีสัตตนาคราช องค์พญานาค 7 เศียร ที่พระศอมีสร้อยสังวาลย์นำเอาสัญลักษณ์เหนือซุ้มประตูพระธาตุพนมมาสวมไว้ จ.บึงกาฬ มีถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา ศาลเจ้าปู่อือลือ ราชา บึงโขงหลง และวัดโพธาราม สำหรับ จ.หนองคาย สักการะวัดพระธาตุหล้าหนอง พระธาตุกลางน้ำ วัดพระธาตุบังพวน แล้วไปกราบหลวงพ่อพระใสที่วัดโพธิ์ชัย ลานพญานาคคู่ริมโขง และสระมุจลิน หนึ่งในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อีกทั้งภายในวัดยังมีสิ่งก่อสร้างตามคติพุทธสาสนาที่เรียกว่า สัตตมหาสถาน ด้วย
ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา
การเยือนลุ่มน้ำโขงครั้งนี้ นอกจากปลุกเส้นทางตามรอยพญานาค อธิบดีกรมการศาสนาได้หารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเข้าวัดวันธรรมสวนะ ตั้งเป้าให้ชาวพุทธเข้าวัด นำหลักคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตมากขึ้นทุกจังหวัด โดยหารือกับเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุบังพวน และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ซึ่งทุกวัดสำคัญให้การสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยที่วัดพระธาตุบังพวนได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนมาสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ช่วงเย็นของทุกวัน และจะมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลงแล้ว
เส้นทางสู่พระธาตุกลางน้ำ จ.หนองคาย
ส่วนที่วัดโพธิ์ชัยเชิญชวนชาวหนองคายมาร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตร สวดมนต์ และยังมีแนวคิดที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งมีต้นแบบจากที่วัดนำไปประดิษฐานไว้บริเวณริมโขง เป็นไฮไลต์ใหม่ของ จ.หนองคาย คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 160 ล้านบาท สำหรับวัดพระธาตุพนมเชิญชวน พุทธศาสนิกชน รวมถึง พระภิกษุ มาสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา บริเวณโดยรอบพระธาตุ
สำหรับกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธาจะช่วยพัฒนาศักยภาพของวัด ศาสนสถาน องค์กรและพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีคุณภาพ พร้อมรับการท่องเที่ยว สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่จากการท่องเที่ยว รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากจากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ
'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา
หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน
รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'
ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน
เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้
ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา
เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ
หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก
เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ