16 ก.พ. 2566- นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) ในประเทศอิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea) ในแอฟริกากลาง ที่ทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 9 ราย โดยได้รับรายงานว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีอาการติดเชื้อรุนแรง เป็นไข้และอาเจียนเป็นเลือด และยังมีผู้ป่วยสงสัยอีก 16 ราย ส่วนใหญ่มีอาการไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนเป็นเลือดและท้องเสีย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการสอบสวนโรคเพิ่มเติม และองค์การอนามัยโลกได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญไปสอบสวนโรคในเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อติดตามแยกกักผู้สัมผัส และให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่แสดงอาการ รวมถึงบริหารสถานการณ์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ประเทศไทยกำหนดให้เป็น 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีอัตราการป่วยเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 88 เป็นไวรัสในสกุลเดียวกับไวรัสอีโบลา คือ Filoviridae ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง หลายรายมีเลือดออกและอุจจาร่วงอย่างรุนแรง สามารถติดต่อได้ทางเลือดและอุจจาระเช่นเดียวกับไวรัสอีโบลา พบไวรัสในค้างคาวและแพร่เชื้อมาสู่คน นอกจากนี้ ยังติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ หรือสัมผัสเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัสที่รักษาโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กได้ จะให้การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการ
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก แต่ปัจจุบันมีการเดินทางจากประเทศต่างๆ มายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น กรมควบคุมโรคจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจากองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ยังไม่มีการประกาศห้ามการเดินทาง แต่เน้นมาตรการคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศอิเควทอเรียลกินี และประเทศใกล้เคียง ล่าสุดมีรายงานข่าวพบผู้ป่วยสงสัยเพิ่ม 2 รายบริเวณชายแดนประเทศแคเมอรูน ติดกับพื้นที่ระบาดในประเทศอิเควทอเรียลกินี จึงได้เพิ่มระดับการเตรียมความพร้อมระบบการเฝ้าระวังและคัดกรองที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทุกแห่ง ตลอดจนแจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ
หากพบผู้ป่วยสงสัยให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการและรายงานผู้ป่วยที่สงสัยภายใน 3 ชั่วโมง และหากประชาชนพบผู้ที่สงสัยโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
รัฐบาลพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน เช็กสุขภาพ-เยียวยาจิตใจทันที
นายกฯ รับรายงานพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน ด้าน สธ. เตรียมทีมดูแลสุขภาพกาย-จิตใจ ทันทีที่เหยียบแผ่นดินไทย
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่