'วาเลนไทน์'ปีนี้อย่าตกเป็นเหยื่อ แสร้งรัก...ออนไลน์

ใกล้วันเวาเลนไทน์  แม้ปีนี้ในบ้านเราออกจะเงียบๆ แม้การระบาดของโควิด-19 จะทุเลาลงมาแล้วก็ตาม แต่จากการสำรวจ ของสองสำนักโพล  สวนดุสิตโพล และบ้านสมเด็จโพล ที่รายงานกผลความคิดเห็นของผู้คนเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังให้  ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์ โดยผลสำรวจสวนดุสิตโพลพบว่า ร้อยละ 72.48  มองว่าการมี “ความรักแบบคนรัก” เป็นสิ่งจำเป็นมาก แม้ร้อยละ36.89 จะบอกว่าเคยมีประสบการณ์ความรักแบบแย่ ๆ (Toxic relationship)  และในวันวาเลนไทน์นี้ คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท/ต่อคนที่จะฉลองหรือซื้อของขวัญให้คนรัก  


สวนดุสิตโพลสรุปว่าคนไทยมองว่าความรักยังเป็นสิ่งจำเป็น แม้สังคมที่เปลี่ยนแปลง ทำให้มุมมองต่อความรักนั้นเปลี่ยนไปด้วย เปิดกว้างมากขึ้นเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาความสัมพันธ์มากขึ้น  


ด้าน”บ้านสมเด็จโพล” สำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 54.9 โดยคิดว่าวันวาเลนไทน์เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในสังคมไทย ร้อยละ 48.7 และคิดว่าอยากอยู่ด้วยกับคนรัก/แฟน ในวันวาเลนไทน์ ร้อยละ 45.6  และคิดว่าจะมอบของขวัญในวันวาเลนไทน์

แม้ความรักจะสำคัญ แต่รักแบบไม่ทุกข์หรือทุกข์น้อยจะดีที่สุด ยิ่งเป็นการรักแบบหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ ทรัพย์สินเงินทอง หรือที่เรียกว่ารักลวง หลอกให้รักจะนำความทุกข์ใหญ่หลวงมาให้   ยิ่งในยุคที่อาชญากรรมทางเทคโนโลยีอยู่ในสถานการณ์วิกฤต  มีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลว่า มีประชาชนเป็นจำนวนมาก ที่หลงกลตกเป็นเหยื่อจนได้รับความเดือดร้อน สูญเสียทรัพย์สิน บางรายถึงกับต้องสูญเสียชีวิต  สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีการรับแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมมูลค่าความเสียหาย 29,546,732,805 บาท สามารถติดตามอายัดบัญชี 65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท

และในโอกาสวันวาเลนไทน์  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนว่ามิจฉาชีพอาจหลอกลวงในรูปแบบ “หลอกให้รัก  ” โดยสถิติอาชญากรรมออนไลน์ ประจำเดือนมกราคม 2566 จากศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ พบว่าคดีเกี่ยวกับการหลอกให้รักยังสูงถึง 403 คดี โดยแบ่งเป็นคดีประเภทหลอกให้รักแล้วโอนเงิน 168 เรื่อง และคดีหลอกลวงให้รักแล้วลงทุน 235 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 190 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการหลอก มี 4 วิธีคือ 1.หลอกให้รักแล้วโอนเงิน หรือที่เรียกว่าแก๊ง Romance scam เป็นการโพรไฟล์หรูดูดี มีฐานะ เข้ามาทำความรู้จัก ตีสนิท ให้ความหวัง สุดท้ายจะอ้างว่าจะเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยด้วย พร้อมกับส่งมีค่ามาให้ แต่ติดอยู่ที่ศุลกากร ต้องโอนเงินไปให้เพื่อนำสิ่งของมีค่าออกมาได้

2 . หลอกให้รักแล้วชวนลงทุน หรือ Hybrid scam ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ปลอมด้วยการโอนเงิน หรือ ลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล

3. หลอกให้รักแล้วกดลิงก์ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันรีโมต หรือ Remote access scam ควบคุมสมาร์ตโฟนและทำการดูดเงินในบัญชี

4. หลอกให้รักแล้วแบล็คเมล์ ขู่กรรโชกทางเพศ ด้วยการชวนทำกิจกรรมทางเพศผ่านทางออนไลน์ แล้วนำภาพหรือวิดีโอมาขู่เรียกค่าไถ่  

 ข้อสังเกตมิจฉาชีพออนไลน์ที่จะ”หลอกให้รัก” มี 3 วิธี ได้แก่  1. ใช้รูปโพรไฟล์ของคนหน้าตาดี เข้ามาพูดคุยด้วยความอัธยาศัยดี มีโพรไฟล์หรู 2.2 หลอกขายฝันแสร้งว่ารัก จนเหยื่อหลงเชื่อ จากนั้นก็ชักชวนให้ทำการลงทุนหรือขอความช่วยเหลือทางการเงิน และ 3 . ลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หลอกล่อให้เหยื่อเผยข้อมูลหรือส่งเอกสารส่วนตัวที่สำคัญไปให้ เพื่อนำไปใช้ทำให้เกิดความเสียหาย สำคัญคือประชาชนควรระมัดระวังการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียล และไม่ควรส่งภาพ หรือ คลิปโป๊เปลือยไปให้กับใคร

เกราะป้องกัน ไม่ให้โดนแก๊งมิจฉาชีพ หลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สินโดยใช้ความรักมาล่อลวง นั้นก็คือ การรักและเห็นคุณค่าในตัวเอง  รักอย่างมีสติ ย่อมได้รักมีคุณภาพไม่ว่าความรักนั้นจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผบ.ตร.กำชับตำรวจทั่วประเทศ เล็งม่านรูด ดูแลเยาวชนป้องกันภัยทางเพศ วันแห่งความรัก

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ตร. ) พ.ต.อ.หญิง ฉันฉาย รัตนพานิช รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องในโอก

วาเลนไทน์ปีนี้ ราคากุหลาบแพงขึ้น เหตุแหล่งปลูกภาคเหนือหนาวนาน ออกดอกไม่ทัน

บรรยากาศวันวาเลนไทน์ปีนี้ ในพื้นที่ จ.พิษณุโลก คึกคัก ลูกค้าใช้ช่องทางออนไลน์ สั่งจองช่อกุหลาบจากร้านดอกไม้เพื่อให้ไรเดอร์นำส่งถึงมือคนรักเนื่องในวันแห่งความรัก

กรมราชทัณฑ์ ชวนส่งความรักกำลังใจให้ ‘คนหลังกำแพง’

กรมราชทัณฑ์ มีนโยบายขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมด้วยหลักคุณธรรม 5 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญูและตระหนักในความสำคัญของสถาบันครอบครัว