นุ่งโจง ห่มสไบ เที่ยวงาน 'แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์' 

สักการะสมเด็จพระนารายณ์ บนพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ ธัญญมหาปราสาท

เมื่อนึกถึง จ.ลพบุรี ภาพแรกที่ผุดเข้ามาในหัวก็คือ เหล่าฝูงวานร บริเวณศาลพระกาฬ ตรงข้ามพระปรางค์สามยอดที่มากกว่า 100 ตัวหรืออาจจะมากถึง 1,000 ตัว ซึ่งนอกจากเหล่าลิงที่ปีนป่าย กระโดดไปมา สถานที่ตรงนี้คือแหล่งประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ เพราะเคยเป็นที่ตั้งของเมืองละโว้ อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรเในแถบนี้ หลักฐานที่ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่คือ พระปรางค์สามยอด ที่มีรูปแบบศิลปะแบบบายน 

แผ่นดินลพบุรีรุ่งเรืองสุดขีด ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ทรงโปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง และยังเสด็จประทับอยู่หลายครั้ง นำมาซึ่งการสร้างพระราชวัง อีกทั้งยังทรงบูรณะและก่อสร้างสิ่งต่างๆ อาทิ ศาลพระกาฬ โบราณสถาน กำแพงเมือง ป้อมปืน หอดูดาว ระบบท่อประปาดินเผา เป็นต้น 

นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททองนับตั้งแต่ครองราชย์ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 รวม 32 ปี ที่ทรงพัฒนานำความเจริญมาสู่ประเทศ ชาวลพบุรีจึงได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานไว้กลางวงเวียน หรือที่เรียกกันว่า วงเวียนพระนารายณ์มหาราช

ขบวนแห่ประวัติศาสตร์ ขบวนข้างสุดยิ่งใหญ่

และในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จึงมีการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ “แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช” โดยในปี 2566 ทางกระทรวงวัฒนธรรม และจังหวัดลพบุรี ได้จัดงานขึ้นที่ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.ลพบุรี และโบราณสถานต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ภายใต้ธีม นุ่งโจง ห่มสไบ แต่งไทย  ทั้งเมือง เพื่อสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวลพบุรี  โดยงานจะเริ่มจัดตั้งแต่วันนี้-19 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป 

ขบวนทหารน่าเกรงขาม

มาถึงลพบุรีตามธรรมเนียมก็ต้องเสริมสิริมงคลก่อน ไปไหว้สักการะศาลพระกาฬ ซึ่งด้านหลังศาลเป็นศาสนสถานศิลาแลงมีรูปแบบศิลปะขอมที่พังทลายลงมา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์จึงทรงโปรดให้มีการสร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูนขึ้นมา ตรงข้ามสามารถมองเห็นพระปรางค์สามยอด ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งโบราณสถานศิลปะขอมเช่นกัน ในบริเวณเดียวกันนี้ยังมีวัดนครโกษา เป็นโบราณสถานที่พังทลายซับซ้อนกันหลายสมัย ซึ่งในสมัยของพระองค์ก็มีการบูรณะ โดยสันนิษฐานว่า พระยาโกษาธิบดี(เหล็ก) เป็นผู้ดำเนินการ จึงได้ชื่อว่า วัดนครโกษา เวิ้งโบราณสถานตรงนี้มีข้อควรระวังคือ เหล่าลิง ที่ชื่นชอบการหยอกล้อกับมนุษย์ ผู้ที่มาจึงต้องระวัดระวังสัมภาระให้ด มิฉะนั้นอาจจะโดนทักทายจากลิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ 

จำลองขบวนทหารเปลี่ยนเวรเฝ้ายาม
ทหารเฝ้ายามแบบในอดีต ที่พระที่นั่งพระนารายณ์นิเวศน์
สวนนารายณ์นฤมิตร

มารองท้องก่อน. ตะลุยชิมที่ร้านล้วน มีจุดเด่นคือ ซุปน้ำใสเข้มข้น เนื้อวัวและเนื้อหมูก็นุ่มละมุ่น ทานคู่กับกากหมูกรอบคือเข้ากันมาก ตบท้ายที่ลอดช่องหวานๆชื่นใจ 

อิ่มท้องเราก็เคลื่อนขบวนมาที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ สถานที่งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จะพาทุกคนเข้าไปสู่ยุคของการจำลองบรรยากาศ ย้อนกลับไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยในวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเปิดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นประธานพิธีเปิดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และนายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี โดยมีการเดินขบวนแห่ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงขนบธรรมเนียมในราชสำนักสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างยิ่งใหญ่ มีผู้ร่วมขบวนกว่า 1 พันคน 

สวนดอกไม้หลากสีสันหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์

เราเริ่มเที่ยวชมงานกันตั้งแต่ช่วงบ่ายอากาศแม้จะร้อนไปนิด แต่ผู้คนก็ทยอยเดินทางมาร่วมงาน ทั้งหนุ่มสาว  คนรุ่นใหญ่ เด็กๆ ก็แต่งชุดไทยประยุกต์สวยงามเดินชม ชิม ช้อปของตามบูธต่างๆ ภายในงานมีการจัดเป็นโซนกว้างขวางไม่แออัด เดินเข้ามาช่วงแรกจะเป็นลานเวทีกิจกรรมการแสดงยามค่ำคืนที่จะอัดแน่นนาฏศิลป์ การร่ายรำ สุดอลังการ  ตรงข้ามเวทีพื้นที่จำหน่ายผ้าไทย ชุดไทย ผ้าพื้นบ้านของภาคกลาง เครื่องเงินที่นำมาวางขายในราคาย่อมเยาว์ 

ลานตลาดย้อนยุค

เดินเข้ามาสู่ด้านในพระที่นั่งพระนารายณ์นิเวศน์ โซนนี้เรียกได้ว่าเต็มไปด้วยวิจิตรของการตกแต่งสวนนารายณ์นฤมิตร ที่นำเหล่าสัตว์ในป่าหิมพานต์มาจัดวางไว้กลางสวน มีทั้ง ช้างเอราวัณ พญานาค พญาครุฑ คชสีห์ และอื่นๆ ซึ่งตามความเชื่อป่าหิมพานต์นั้นตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ  หรือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จัดวางรอบล้อมเรือครุฑยุคนาคนารายณ์ทรงสุบรรณ แบบจำลองที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อย่างปราณีตสวยงาม อีกฝั่งจะลานกิจกรรมการแสดงดนตรีไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่คอยบรรเลงขับกล่อมสร้างบรรยากาศเพลินๆ 

ขบวนแห่ยามคำคืน

อีกบูธที่น่าสนใจคือ การสืบสานตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งที่นี่ได้มีการสืบทอดตำรับยานี้ที่มีมากว่า 300 ปี 4 สูตร ได้แก่ ยาหอมอุดม ยาพระอังคบพระเส้น ยาทาพระเส้น น้ำมันมหาจักร และยังมีกิจกรรมนวดฟรี โดยหมอนวดจากลูกศิษย์ของอ.หวน สังข์พราหมณ์ ชื่อดังในจังหวัดอีกด้วย 

ไฟประดับบริเวณพระที่นั่งดุสิตฯ
การแสดงพื้นบ้านลพบุรี

มาแล้วก็ไม่ลืมที่จะเข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ที่  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐาน โดยพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ซึ่งบริเวณเดียวกับพระที่นั่งจันทรพิศาลได้จัดเป็นพื้นที่แสดงโบราณวัตถุก่อนประวัติ สมัยทวารวดี ศิลปะเขมร ศิลปะอยุธยาและรัตนโกสินทร์  ซึ่งทำให้ได้เห็นวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในเมืองลพบุรีที่ทรงคุณค่าและหาชมได้ยาก ทั้งด้านบนชั้นสองยังได้แสดงพระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย 

พระที่นั่งสุทธาสวรรย์

อีกฝั่งของกำแพงพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เข้าสู่เขตของพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ ธัญญมหาปราสาท มีอายุกว่า 300 ปี  สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ยังคงหลงเหลือเค้าโครงเมื่อครั้งใช้เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกรับคณะราชทูต ศิลปกรรมแบบไทยผสมผสานกับเปอร์เซีย ด้านในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ผู้คนได้มากราบสักการะ

แต่งตัวย้อนยุคร่วมงาน
โบราณสถานความงดงามกับคนในยุคปัจจุบัน

เดินผ่านประตูพระที่นั่งดุสิต ก็จะพบกับสวนดอกไม้ที่จัดตกแต่งหลากหลายสีสัน จัดเป็นซุ้มให้ประชาชนได้ถ่ายรูปมุมต่างๆ หรือจะถ่ายในในอุโมงค์ดอกไม้ก็มี เรียกได้ว่าใครที่ชื่นชอบดอกไม้จะถ่ายรูปจนแบตหมดแน่นอน จุดนี้จัดประดับตกแต่งอยู่ตรงด้านหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งช่วงปลายรัชกาลได้ประทับที่พระที่นั่งแห่งนี้จนสิ้นพระชนม์ แม้ในตอนนี้จะเหลือเพียงฐานของพระที่นั่ง หากย้อนกลับไปในอดีตพระที่นั่งแห่งนี้คงงดงามมาก  

เด็กแต่งชุดไทยนุ่งโจงกระเบนถ่ายรูปสนุกสนาน

ลัดเลาะออกไปด้านหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ก็จะเป็นโซนตลาดย้อนยุคเมืองละโว้ อาหารโบราณ อาหารสมัยใหม่ ที่ตั้งแผงรอให้ผู้ร่วมงานได้มาทานจนอิ่มท้อง แถมพ่อค้าแม่ขายก็แต่งกายนุ่งโจมห่มสไบ เหมือนผู้ร่วมงานรวมกับว่าเรากำลังเดินเที่ยวอยู่ในตลาดพระนารายณ์เลย พระที่นั่งต่างๆที่กล่าวมานั้นในยามค่ำคืนจะสว่างสไวงดงามจากไฟประดับระย้าทั่วบริเวณพื้นที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และการแสดงยามค่ำคืนสุดตระการตา

มะม่วงกรอบ หวาน มัน อร่อยจากสวน

สำหรับตารางกิจกรรมเบื้องต้นจนถึงวันที่ 19 ก.พ.นี้   ประกอบด้วย วันที่ 11 ก.พ. การแสดงดนตรีลูกทุ่งวินิตศึกษาฯ, วันที่ 12 ก.พ. การเดินแบบผ้าไทย, วันที่ 13 ก.พ. การแสดฃชมรมวัฒนธรรมดนตรีไทยจ.ลพบุรี และชมรมลิเก จ.ลพบุรี, วันที่ 14 ก.พ. การแสดงของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, วันที่ 15 ก.พ. การแสดงดนตรีจากสาขาวิชาการดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, วันที่ 16 ก.พ. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะมีการรำบวงสรวงถวาย ซึ่งจะมีผู้ร่วมรำบวงสรวงฯ ประมาณ 5 พันคน ที่สำคัญชาวลพบุรีพร้อมใจแต่งไทยทั้งเมืองอีกด้วย, วันที่ 17 ก.พ. การแสดงดนตรีสากลและการปนะกวดทหารเอกพระนารายณ์ มหาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี, วันที่ 18 ก.พ. การแสดงดนตรีหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และวันที่ 19 ก.พ. การประกวดธิดาละโว้/การแสดงโปงลาง มหาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี เข้าชมฟรีตลอดทั้งงาน ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป

ขนมปากหม้อทำสดใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวธ.ชวนประกวดเยาวชนต้นแบบมารยาทไทย ชิงรางวัลถ้วยพระราชทานกรมสมเด็จพระเทพฯ

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับ กองทุน ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศจัดการประกวด "เยาวชนต้นแบบด้านมารยาทไทยและมารยาทในสังคม ปี 2568"

วธ. แถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ปีงบประมาณ 2568 จำนวน 113 โครงการ รวมกว่า 44 ล้านบาท

นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร

สุดม่วน! วธ.จัด ‘หมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์’ หนุนยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด Sustainable Brands (SB) Thailand และ บริษัท

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม