'100 ปี ศิลปสู่สยามฯ' รำลึก อ.ศิลป์ พีระศรี

หลายคนเคยได้ยิน “ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว” หรือ “อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก รู้อยู่ตลอดเวลา” ประโยคคุ้นหูที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยเคยกล่าวไว้ และสร้างแรงบันดาลใจให้เหล่านักศึกษาศิลปะ ศิลปินในวงการศิลปะจนถึงปัจจุบัน 

ปี 2566 นี้ เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี ชาวอิตาเลียน พร้อมกับครอบครัวได้ย้ายมาพำนักที่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2466 จนถึงแก่กรรม พ.ศ.2505 

รูปปั้นกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผลงานชิ้นแรก

ย้อนเหตุการณ์ที่นำพา อ.ศิลป์ มาอยู่แดนสยาม เกิดจากพระประสงค์ของรัชกาลที่ 6 ต้องการผู้เชี่ยวชาญงานศิลปะตะวันตก กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฯ ได้เลือกอ.ศิลป์เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง และให้สัญชาติไทย หลังอิตาลีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 

ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างผลงานต้นแบบประติมากรรม และจิตรกรรมมากมาย อาทิ อนุสาวรีย์รัชกาลต่างๆ อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรม ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อวางรากฐานและเป็นต้นแบบในการสร้างศิลปะสมัยใหม่ในไทย 

วาระสำคัญนี้ กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย”  เผยแพร่ประวัติและผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ จำลองบรรยากาศห้องทำงานเดิม จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัว ภาพร่าง และงานประติมากรรมทรงคุณค่าของอ.ศิลป์ รวมทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ของกลุ่มลูกศิษย์รุ่นบุกเบิก ที่เคยจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ที่อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ – 9 เม.ย. 2566 

แผนผังการสอนศิลปะกรีกโรมันที่เคยใช้

สถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า อ.ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์และทรงคุณค่า ที่มีเรื่องราว วิวัฒนาการ และเป็นต้นแบบของศิลปะร่วมสมัยที่ได้ทำมากกว่า 40 ปี  อย่าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น เป็นผู้ที่อุทิศทั้งร่างกายและจิตวิญญาณวางรากฐานศิลปะในไทย รวมถึงเผยแพร่ศิลปะไทยโดยก่อตั้งการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติขึ้น จัดสืบเนื่องจนปัจจุบัน ชวนมารำลึกผ่านโอกาสสำคัญนี้

คอลเลกชั่นของ อ.ศิลป์ ที่นำมาโชว์อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ปัจจุบันปิดปรับปรุง ผลงานนำมาเก็บที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และบางส่วนมาจัดแสดงครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 ห้องหลัก รวมถึงไทม์ไลน์ช่วงระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในไทย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

ต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.1 ฝีมือ อ.ศิลป์

ห้องที่ 1 จำลองบรรยากาศห้องทำงานเดิมและผลงานของ อ.ศิลป์ มีประติมากรรมปลาสเตอร์ ทั้งงานส่วนตัวและสำริด เช่น รูปปั้นมาลีนี พีระศรี-ภรรยา โรมาโน เฟโรชี-ลูกชาย และอิซาเบลลา-ลูกสาว ส่วนผลงานในราชการ เช่น ประติมากรรมรัชกาลที่ 8, รัชกาลที่ 9  เป็นต้น ถัดมาเป็นตู้หนังสือส่วนตัวและแผนผังการสอนของจริงที่ อ.ศิลป์ใช้ ซึ่งเป็นแผนผังเศิลปะกรีกโรมัน อีกมุมเป็นโต๊ะทำงาน จัดวางอุปกรณ์ทำงสน เหรียญที่ได้รับพระราชทาน เหรียญที่ระลึกที่อ.ศิลป์ ออกแบบก่อนมายังไทย   

ห้องที่ 2 เสนอผลงานชิ้นแรกตั้งแต่เข้ามาสยาม รูปปั้นกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฯ จำลอง ของจริงอยู่ที่ตำหนักปลายเนิน อีกชิ้นสำคัญ ต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 นอกจากมีภาพร่างจิตรกรรมพระพุทธรัตนสถาน เทคนิคเปอร์สเปคทีฟกว่า 10 ภาพ จัดแสดงครั้งแรก  เล่าเรื่องพุทธรัตนสถาน และพระราชประวัติของร.9 ต่อมาโปรดให้บูรณะเขียนใหม่เป็นแบบไทยประเพณี 

ส่วนห้องที่ 3 และ 4  โชว์ผลงานลูกศิษย์ อ.ศิลป์ รุ่นบุกเบิกกว่า 40 ชิ้น ปัจจุบันขึ้นชั้นศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ  แต่ละชิ้นงานมีความสำคัญต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ยุคแรกของไทย เช่น งานขนะศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 ประติมากรรม เสียงขลุ่ยทิพย์ ของ อ.เขียน ยิ้มศิริ ที่มีความเป็นไทยประเพณีร่วมสมัย หรือจิตรกรรมย่านเก่ากรุงโรมของลูกศิษ์รุ่นแรก อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ที่มีความสามารถหลากหลายในการเขียนงานร่วมสมัยและงานไทยประเพณี ยังมีผลงาน อ.ดำรง วงศ์อุปราช อ.สิทธิเดช แสงหิรัญ อ.ชลูต นิ่มเสมอ ฯลฯ น่าชม

ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ 100  ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดวันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum

กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย 

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา

คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า