ท่องแดนสนธยาของ’ช่วง’ จิตรกรผู้เห็นมดยิ้มสวย

ช่วง มูลพินิจ ศิลปินผู้ได้รับฉายาว่า “จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวย” จากศิลปินแห่งชาติ และนักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ กลับมาจัดแสดงผลงานศิลปกรรมอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 4 ปี ภายใต้ชื่อนิทรรศการ “แดนสนธยา 3 ” เนื่องในวาระ 8 ทศวรรษ ช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2556 ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน พื้นที่อาร์ทใจกลางเมือง

แน่นอนว่า เมื่อกลับมาแสดงผลงานอีกครั้ง ช่วง มูลพินิจ ก็รวบรวมผลงานศิลปกรรมทั้งจิตรกรรม ภาพลายเส้น ประติมากรรม งานออกแบบต่างๆ มาจัดแสดงเต็มพื้นที่ และมีความน่าสนใจอย่างมากทั้งแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน  เทคนิคการวาดภาพที่ไม่เหมือนใคร รวมไปถึงผลงานที่สร้างชื่อเสียง โดยนิทรรศการครั้งสำคัญนี้เผยให้เห็นพลังในการทำงานและความรักศิลปะของศิลปินแห่งชาติผู้นี้

สำหรับอาจารย์ช่วง มูลพินิจ เป็นศิลปินชั้นครู ผลงานที่สร้างชื่อให้กับเชามาจากการเขียนภาพปกและภาพประดับในหนังสือและนิตยสารชั้นนำของไทยในยุคสมัยหนึ่ง อาทิ ช่อฟ้า, ชาวกรุง, เฟื่องนคร และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานเขียนลายเส้นแบบฟรีแฮนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงได้เขียนลายเส้นที่หน้าปกหนังสือ เสเพลบอยชาวไร่ ของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ และหน้าปกหนังสือ กามนิต วาสิฏฐีด้วย จากนั้นได้ลาออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมหลังจากทำอยู่ 9 ปี เพื่อเริ่มงานใหม่ ที่บริษัทโฆษณาอีก 3 ปี และหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นศิลปินอิสระแบบเต็มตัว ใช้ชีวิตโลดแล่นบนเส้นทางสายศิลปะอย่างเต็มที่

งานของช่วง มูลพินิจ ในระยะแรกเริ่มจากภาพลายเส้นที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำและสีน้ำมัน แต่ยังคงเอกลักษณ์เรื่องลายเส้นผสมผสานเข้ากับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว

ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างมากมายทั้งงานออกแบบ จิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติก ไปจนถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต เป็นการผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม 

สำหรับผลงานที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งคือ การออกแบบตัวหนังสือชื่อเรื่องและโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยในแนววรรณคดีหรือนิทานพื้นบ้านของไทย เช่น แผลเก่า, เลือดสุพรรณ, เพื่อน-แพง, ไกรทอง, กากี ซึ่งภาพโปสเตอร์เรื่อง เพื่อน-แพง ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในโปสเตอร์ที่งามที่สุดในโลกในการส่งเข้าประกวด ที่สถาบันโรงภาพยนตร์แห่งชาติ กรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2526 อีกด้วย สร้างชื่อให้ประเทศไทย และเผยแพร่ผลงานของศิลปินไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล

ภายหลังที่อาจารย์ช่วงเป็นศิลปินอิสระมาระยะหนึ่ง นอกจากสร้างงานส่วนตัว ศิลปินผู้นี้ได้เริ่มก่อตั้งหอศิลป์ ช่วง มูลพินิจ จัดแสดงผลงานที่เก็บสะสมตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบผลงาน เช่น  ภาพลายเส้น, สีน้ำ, สีน้ำมัน, ภาพพิมพ์, งานประติมากรรม, งานออกแบบต่างๆ ที่สำคัญ เปิดหอศิลป์เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะ และเปิดโอกาสแก่ นักศึกษา และผู้สนใจงานศิลปะได้เข้าชมผลงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วยชีวิตและผลงานที่พัฒนาวงการศิลปกรรมไทย จึงได้รับการประกาศยกย่องเชิดชุเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2556  ปัจจุบันในวัย 82 ปี ศิลปินยังทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีวันหยุด

สำหรับเหล่าคนรักงานศิลป์เข้าสู่นิทรรศการ”แดนสนธยา 3 ” ของอาจารย์ช่วง จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวยได้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม- 26 กุมภาพันธุ์ 2566 ที่หอศิลป์ BACC

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

12 ศิลปินแห่งชาติมือฉมัง ปั้นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ

เป็นอีกครั้งที่ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ชื่อดังมาถ่ายทอดความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์บนถนนนักเขียนเพื่อจุดประกายให้นักเขียนรุ่นใหม่มีความรู้และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการเขียนทั้งนวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี และกวีนิพนธ์ กว่า 80 คน

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา