2 ก.พ.2566-เมื่อพูดถึงงานวิจัยของประเทศไทย ก็มักจะถูกตั้งคำถามว่าเหตุใด ไทยจึงไม่มีงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ที่จะสะท้อนความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย ประเด็นนี้ จึงเป็นโจทย์สำคัญและเป็นเรื่องท้าทาย ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว. )ที่ต้องล้างภาพเดิมๆ ของงานวิจัยไทย พร้อมกับสร้างศักยภาพจากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)ให้กลายเป็นฟันเฟืองหลัก ในการผลักดันขับเคลื่อนประเทศไทย ให้ก้าวสู่เป้าหมาย การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือก้าวข้ามกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ให้ได้ภายในปี 2580 พร้อมกับ เลื่อนอันดับดัชนีการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากอันดับที่ 44 มาอยู่ในอันดับที่ 35
ล่าสุด คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้เสนอรับการอนุมัติงบประมาณปี2567ให้กองทุนส่งเสริม ววน. วงเงินจำนวน 31,100 ล้านบาท พร้อมกับแนบแผนการดำเนินงานปี 2566-70 ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์เข้าไปด้วย ได้แก่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจให้มี ความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรม 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
ในการพบปะสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ ววน. ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ใน3-4 ยุทธศาสตร์เป็นภาพอนาคต ที่เชื่อมกับงบประมาณปี2567 จำนวน 31,100 ล้านบาท ซึ่งหากเราอยากเป็นประเทศพัฒนาแล้ว จะต้องมีการยกระดับรายได้ประขากรต่อหัว จากปัจจุบันประชากรไทยมีรายได้ 243,100 บาท/คน/ปี ซึ่งการจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ต้องยกระดับรายได้คนไทยให้ถึง 402.000 บาท/คน/ปี เพราะฉะนั้นจะเห็นช่องว่างว่าเราต้องเติมรายได้ให้คนไทยอีก 178,478 บาท ต่อ/คน/ปี เราเอาตัวนี้เป็นตัวตั้งเพื่อหาว่าประเทศต้องลงทุนปีละเท่าไหร่ ซึ่งพบว่าเราต้องลงทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 800,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าการลงทุนดังกล่าวต้องมีทั้งรัฐและเอกชน โดยที่ผ่านมาภาคเอกชนมีสัดส่วนการลงทุนที่สูงกว่า80% ที่เหลือเป็นของภาครัฐ 20%
นอกจากนี้ สกสว. ยังมีเป้าหมายอีกว่า งานวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม จะช่วยให้ประชาชนกว่า 1.4 ล้านครัวเรือน ได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น การดูแลผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายว่า จะต้องทำให้นวัตกรรม และเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงได้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ในกลุ่มเป้าหมายประมาณ 50,000-80,000 คน สามารถการช่วยเหลือคนจน กลุ่มเปราะบาง
ผู้ได้รับประโยชน์ยังมี บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท เอก ประมาณ 1.3 ล้านคน ผู้เรียนหลักสูตรNon-Degree ไม่น้อยกว่า2.5หมื่นคน การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตประมาณ 2.75แสนคน สร้างบัณฑิตทักษะสูง และการพัฒนาคนในภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 1.8หมื่นคน เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่กว่า 500 คน พัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ 1.5 ล้านคน ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไม่น้อยกว่า 1 พันราย ภาคการผลิตสินค้าและบริการ 5อุตสาหกรรม ที่ได้ประโยชน์ รวมทั้ง แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากศอย่างน้อย 20 จังหวัด
รศ.ดร.ปัทมาวดี ยอมรับว่า ระบบบริหารจัดการงานวิจัย รูปแบบเดิม ที่รวมถึงการจัดการงบประมาณด้านการวิจัย ไม่ได้ถูกบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยที่มียังไม่สามารถนำมาแก้ปัญหาตอบโจทย์ความต่้องการของประเทศได้ มีความซ้ำซ้อนของโครงการ ซึ่งเกิดจากการนำเสนอคำขอไปยังแหล่งทุนต่างๆ อีกทั้ง การกำหนดนโยบาย ออกโดยส่วนราชการ ที่ไม่ได้รวมศูนย์อยู่ทีเดียว ทำให้ไม่มีนโยบายด้านการวิจัย
“ภาพรวมของทั้งประเทศการทำวิจัยแบบกระจัดกระจาย เป็นเบี้ยหัวแตก ต่างคนต่างทำ ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ กฎหมาย และ Ecosystem ที่ไม่เอื้อให้ทำงานวิจัยได้อย่างสะดวกไม่มีระบบติดตามผลการดำเนินงานวิจัย ทั้งผลลัพร์ ผลกระทบที่สามารถนำไปบริหารงานวิจัย และนำไปใช้แก้ปัญหาของประเทศ นี่คือpain point ของการวิจัยของเราในช่วงที่ผ่านมา “
จึงเป็นที่มาทำให้ สกสว.ทำแผน ฏิรูประบบบริหารจัดการงาน ววน.เน้นการขับเคลื่อนงานวิจัย ที่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาประเทศ คำของบประมาณด้าน ววน. ทั้งหมด เสนอผ่าน กสว. ซึ่งกำกับการบริหารกองทุนนโยบายภาพรวมด้าน อววน. ของประเทศ โดยสภานโยบายฯและแผนด้าน ววน. ระยะ 5 ปี ของประเทศ ส่วนระบบการทำงานร่วมกันแบบ “จตุรภาคี” ได้แก่ ภาควิชาการ เอกชน หน่วยงานรัฐ และประชาชน กฎหมาย และ ecosystem ที่เอื้อให้งานวิจัยสะดวกขึ้น และสนับสนุน การใช้ประโยชน์งานวิจัย มีระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิจัย ทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ ที่สามารถนำไปบริหารจัดการงานวิจัย และ นำไปใช้แก้ปัญหาของประเทศ
ปัญหางานวิจัยถูกทิ้งไว้บนหิ้ง จนฝุ่นจับ เพราะไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นอีกประเด๊นที่สำคัญ รศ.ดร.ปัทมาวดี ขยายความในเรื่องนี้ว่า ในแผนใหม่งานการใช้งบฯปี 67 จะมีการขับเคลื่อนผลงานวิจัยให้่นำมาใช้จริง ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 โดยยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดใหม่ ปัญหาไม่ได้มีแต่ประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่ในต่างประเทศก็มีปัญหานี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งของไทยที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ทำให้ล่าสุด สกสว.ได้เข้ามาดูแลปัญหานี้ โดยจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้มีการออกแบบงานตรงนี้ และคุยกับภาคเอกชน หรือประชาสังคม รวมทั้ง แสวงหาอินทีเรียร์เก่งๆ มาช่วยออกแบบ หาทางที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และอีกแง่หนึ่งยังมีแนวคิด ดึงเอาUser หรือผู้ใช้งานวิจัย มาร่วมออกแบบงานวิจัยตั้งแต่ต้น
“รวมทั้ง เรื่องประเมินผลงานของระบบ ในไทยต้องยอมรับว่าไม่ค่อยมีนักประเมินผลเท่าใดนัก สกสว.กำลังริเริ่มระบบนี้ และมองว่าการประเมินผลจะต้องเป็นเครื่องมือ ในการทำแผนและพัฒนาระบบ”ผอ.สกสว.กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความซ้ำซ้อนงานวิจัย ซึ่ง รศ.ดร.ปัทมา ยอมรับว่าเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเวทีสภาการเมือง เป็นอีกเรื่องที่จะต้องสร้างความเข้าใจ กับสังคมต่อไป และต้องมีการจัดการบางอย่าง
“เรายังมีแผนที่จะปรับกระบวนการทำงานอีกหลายเรื่อง การวิจัยที่ตอบโจทย์ หัวข้อวิจัยเป็นชิ้นๆ แบบเบี้ยหัวแตก แตะทุกเรื่องแต่ไม่เก่งสักเรื่อง ต่างคนต่างคิด เกิดความซ้ำซ้อนและขาดพลัง ต้องปรับให้เป็นงาน พัฒนาความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี เป็นการวิจัยและนวัตกรรมที่มาจาก Demand Sideตอบโจทย์ประเทศ ตอบโจทย์สังคม ตอบโจทย์เอกชน มีวาระการวิจัยเรื่องใหญ่ ๆ ที่ชัดเจน “รศ.ดร.ปัทมากล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” หนุน สกสว. ขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024” ดึงภาครัฐ-เอกชน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand :