แพทย์รพ.ราชวิถีเผยข้อสังเกตุ สัญญาณเตือน 'มะเร็งหัวใจ' ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

1ก.พ.2566-นพ. ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งหัวใจ (Cardiac cancer หรือ Heart cancer) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนใหญ่เป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ แล้วกระจายมาที่หัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ซึ่งสามารถแพร่กระจายมาที่หัวใจได้ แต่ถ้าเป็นมะเร็งหัวใจเองส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า Angiosarcoma ส่วนที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Rhabdomyosarcoma ซึ่งมะเร็งหัวใจของทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองต่อการฉายแสงและยาเคมีบำบัด จึงต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออกให้หมด โดยมะเร็งหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งหัวใจปฐมภูมิ ได้แก่ มะเร็ง Angiosarcoma, Rhabdomyosarcoma, Fibrosarcoma, Malignant schwannoma, Mesothelioma และมะเร็งหัวใจทุติยภูมิ (Secondary cardiac cancer หรือ Metastatic cardiac cancer) ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แน่ชัด โดยอาการของมะเร็งหัวใจมักจะมาด้วยอาการเหล่านี้ ได้แก่ เหนื่อยง่าย หอบ ไอเรื้อรัง มีไข้ต่ำๆ หน้าบวม คอบวม หลอดเลือดดำที่คอโป่ง ตับโต ท้องมานเพราะมีน้ำในช่องท้อง หรือขาบวมกดบุ๋มทั้งสองข้าง สำหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งหัวใจทำได้โดยการตรวจประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ที่สำคัญคือประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจสัญญาณชีพ การตรวจฟังเสียงเต้นของหัวใจด้วยหูฟัง การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอคโคหัวใจ การตรวจสืบค้นอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การตรวจภาพหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และหรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจภาพและหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดง (Cardiac angiography) และการตรวจก้อนเนื้อหรือรอยโรคด้วยการดูดเซลล์มาตรวจที่เรียกว่า การตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

ทั้งนี้ การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกให้หมดด้วยการผ่าตัดเปิดหัวใจโดยตรง (Open heart surgery) และรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัดตามชนิดของแต่ละเซลล์มะเร็ง ซึ่งการรักษาร่วม ทั้งผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับระยะของโรค ขนาดและชนิดของมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันสิรินธรฯ อัปเดตอาการ 'น้องอุ้ม' เข้ารักษาฟื้นฟู ขยับแขนขาได้เอง เริ่มฝึกทรงตัว

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 1 โดยอัปเดตอาการ น.ส.ปุณยวีร์ ศรีดวงแปง หรือ น้องอุ้ม พยาบาลโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก หลังรับบาดเจ็บสาหัส สมองบวม

อาการดีขึ้น ‘น้องอุ้ม’ พยาบาล รพ.อุ้มผาง ย้ายจากราชวิถีไปฟื้นฟูร่างกาย

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ออกประกาศ เรื่อง รายงานความคืบหน้าอาการ "น้องอุ้ม" พยาบาล รพ.อุ้มผาง มารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลราชวิถี (ฉบับที่ 14)

'รพ.ราชวิถี' แนะวิธีกักตัวในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด โดยไม่มีห้องแยก

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ แนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 ในการทำ Home Isolation กรณีที่ไม่มีห้องแยกให้กักตัวในบ้าน แต่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวอย่างไรให้ปลอดภัย

นายกฯ ชื่นชม 'นพ.ไพศาล-นพ.ประกิต' ทำให้สาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับ

นายกฯชื่นชมบุคลากรทางการแพทย์ไทย 2 ท่าน ได้รับรางวัลจากองค์การอนามัยโลก พร้อมขอบคุณความทุ่มเทสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ สาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับระดับโลก

รพ.ราชวิถี เผย 'น้องอุ้ม' ตอบสนองการตรวจ ขยับแขนได้ แต่ยังไม่รู้สึกตัว

โรงพยาบาลราชวิถี ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง รายงานความคืบหน้าอาการ "น้องอุ้ม" พยาบาล รพ.อุ้มผาง มารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลราชวิถี ดังนี้ ความคืบหน้าอาการผู้ป่วยที่ได้ส่งตัวมารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลราชวิถี