เป็นภารกิจที่ชาวไทยต้องร่วมขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เมื่อองค์การยูเนสโก (UNESCO ) อนุมัติให้ ”ประเพณีสงกรานต์ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น Tentative list เพื่อพิจารณาในที่ประชุมในช่วงปลายปี 2566 ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ( Intangible Cultural Heritage – ICH) ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ ไทยเคยได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาแล้ว ได้แก่ โขน ขึ้นทะเบียนปี 2561 นวดไทย ขึ้นทะเบียนปี 2562 และรำโนราห์ของภาคใต้ ขึ้นทะเบียนปี 2564
ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นหมวดหมู่ในวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ยังมีอีกหลายรายการเตรียมพิจารณาลงทะเบียนกับ UNESCO
ประเพณีสงกรานต์ เป็นขนบธรรมเนียมที่งดงามของไทยและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ได้รับพิจารณาให้เข้าสู่ Tentative list สะท้อนว่าทั่วโลกให้ความสำคัญและเป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยตระหนักถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของวัฒนธรรมไทย ซึ่งสงกรานต์แต่ละภาคของไทยมีอัตลักษณ์ต่างกัน ซึ่งทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทจัดทำข้อมูลตามหลักเกณฑ์และนำเสนอ ตลอดจนทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเผยแพร่คุณค่าความสำคัญ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการดำรงรักษาประเพณีสงกรานต์
ล่าสุด นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ. พร้อมด้วยนางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. ลงพื้นที่ภาคเหนือเชียงราย-พะเยา โดยพบปะกับพระเมธีวชิโรดม ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2555 ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เพื่อหารือแนวทางการจัดงานประเพณีสงกรานต์ของชาวเหนือหรือชาวล้านนา
นายโกวิท กล่าวว่า แนวทางการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ ปี 2566 จะเน้นสร้างการรับรู้คุณค่าและสาระของประเพณีสงกรานต์ และแนวปฏิบัติทางสังคม แต่ละภาคแตกต่างกัน ซึ่งในพื้นที่ล้านนาประเพณีปีใหม่เมืองจะมีวันยาวนานกว่าสงกรานต์ภาคอื่น ๆ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันสังขารล่อง เป็นวันส่งท้ายศักราชเก่า วันเนาหรือวันเน่า วันพญาวัน วันปากปี วันปากเดือน และวันปากวัน แต่ละวันจะมีพิธีและความเชื่อตามวิถีวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนแสดงถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำของประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าฯ 2 จังหวัดยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น
“ การท่องเที่ยวมีความสำคัญกับประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสงกรานต์ล้านนาปีนี้ สิ่งที่จะได้กลับไปเป็นเนื้อหาสาระของประเพณีสงกรานต์ล้านนา นำมาสู่ความเข้าใจคุณค่าและร่วมรักษาประเพณีนี้ ไม่ใช่รู้จักแต่ Water Festival Thailand อาจจะจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สองภาษาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ เผยแพร่คุณค่าสาระดั้งเดิมของประเพณีปีใหม่เมือง ทั้ง 15 อำเภอของ จ.เชียงราย และ 9 อำเภอของจ.พะเยา เตรียมนำเสนออัตลักษณ์สงกรานต์ของชุมชน หลังเสร็จสิ้นสงกรานต์แล้ว เทศกาลประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆ ของจังหวัด จะสร้างการรับรู้คุณค่าเช่นกัน อย่างพะเยา ตนยังหารือแนวทางการจัดงานเวียนเทียนกลางน้ำเนื่องในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ด้วย “ นายโกวิท กล่าว
การเดินหน้าเผยแพร่คุณค่าที่แท้จริงของประเพณีสงกรานต์ไทยนั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมจดทะเบียนสงกรานต์ขึ้นมรดกโลก อธิบดี สวธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้องค์การยูเนสโกจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาสงกรานต์ของประเทศไทยในช่วงปลายปี ระหว่างวันที่ 4-9 ธ.ค. นี้ ณ สาธารณรัฐบอตสวานา “ หากยูเนสโกพิจารณาให้ความเห็นชอบขึ้นทะเบียนสงกรานต์มรดกทางวัฒนธรรมแล้ว จะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมประเพณีสงกรานต์ของไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้น ปีนี้เราต้องเตรียมความพร้อมและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ ป้องกันการทำลายคุณค่าวัฒนธรรมไทย ซึ่งตรงกับเป้าหมายยูเนสโกที่สนับสนุนให้รักษา สืบสานประเพณี ไม่ส่งเสริมด้านธุรกิจท่องเที่ยวอย่างเดียว เชื่อมั่นทุกประเพณี เทศกาล การละเล่นพื้นบ้านของไทยมีคุณค่า สามารถต่อยอดความสำเร็จ ผ่านการสืบสาน พัฒนา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต “ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวในท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the