เพื่อระลึกถึงอาจารย์วราพร สุรวดี ผู้ก่อตั้ง”พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” และบุคคลต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายแห่ง ทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่อพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ มูลนิธิอินสาท-สอาง และ มูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน ชวนคนไทยร่วมเปิด ‘เรือนวราพร’พื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ เพื่อชุมชนในซอยเจริญกรุง 43 และที่ทำการของมูลนิธิฯ เพื่อระลึกถึง อาจารย์วราพร สุรวดี และสานต่อเจตนารมณ์การทำงานของอาจารย์ในการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม โบราณคดี พุทธศาสนา สาธารณสุข ตลอดจนสนับสนุนกิจการเพื่อคุณภาพชีวิตและมลภาวะ
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ขาวบางกอกย่านเจริญกรุง
ย้อนไปวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560 อาจารย์วราพรหมดลมหายใจในวัย 82 ปี ภายหลังการสูญเสียทั้งสองมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างเรือนวราพรขึ้นอย่างเรียบง่าย ทว่าร่มรื่นสบายตาบนพื้นที่ขนาด 105 ตารางวา ผืนดินที่อาจารย์วราพรและคนไทยร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินมูลค่า 40 ล้านบาท เพื่อยุติการก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชาวบางกอกในช่วง พ.ศ. 2470-2500 ซึ่งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกส่งมอบให้กรุงเทพมหานครเมื่อปี 2547
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบางกอก
การต่อสู้เพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวและทำให้พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกรอดพ้นจากวิกฤตมาได้ โดยอาจารย์วราพรได้ใช้เงินส่วนตัว 30 ล้านบาท และยอดบริจาคจากคนไทยทั้งประเทศกว่า 10 ล้านบาท จากการระดมทุนภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน กลายเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความหวงแหนของคนไทยที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น แรงบันดาลใจนี้นำไปสู่การก่อสร้าง ‘เรือนวราพร’ ที่คนไทยต่างก็เป็นเจ้าของพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ แห่งนี้ร่วมกัน
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกก่อตั้งโดยอาจารย์วราพร
โอกาสสำคัญนี้ มูลนิธิฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเรือนวราพรไว้อย่างเรียบง่าย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เมือง-มิตร-ดี” สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของย่านการค้าเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ผสมผสานความเป็นพหุวัฒนธรรมของย่านเจริญกรุง ตลาดน้อย ทรงวาด และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีเสน่ห์และร่วมสมัย โดยมีกุลยา กาศสกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิอินสาท-สอาง และมูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน เป็นภัณฑารักษ์
“ สำหรับเรือนวราพร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเปิดพื้นที่ให้กับชุมชนและประชาชนทั่วไปมาใช้บริการ เช่น การจัดตลาดนัดสีเขียว การจัด Workshop ด้านงานศิลปะ การเปิดพื้นที่สำหรับการเสวนาด้านศิลปวัฒนธรรม “ กุลยา กาศสกุล กล่าว
พื้นที่สีเขียวของเรือนวราพรเพื่อชุมชน
กรรมการมูลนิธิฯ กล่าวด้วยว่า ตามแผนงาน ทางมูลนิธิฯ จะประสานงานกับสำนักงานเขตบางรัก ในการจัดอบรมภาษาอังกฤษให้กับอาสาสมัครนำชมพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก และการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะวัตถุมาซ่อมแซมสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ซึ่งมีการชำรุดตามกาลเวลาเพื่อที่จะรักษาข้าวของเครื่องใช้จำนวน 2800 ชิ้น ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ อีกด้วย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมเรือนวราพรได้ ภายในงาน Bangkok Design Week 2023 ระหว่างวันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 ติดกับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ในซอยเจริญกรุง 43 หลังจากนั้น ทางมูลนิธิฯ จะดำเนินการก่อสร้างพร้อมตกแต่งเรือนวราพรให้สมบูรณ์ติดตามความเคลื่อนไหวได้ทาง https://www.facebook.com/BkkMuseum
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วาทะ พาตาย!! | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
วาทะ พาตาย!! | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
ลัคนามีนกับเค้าโครงชีวิตปี2568
สรุป-ตลอดทั้งปีทุกข์สองอย่างคือ ค่าใช้จ่ายและทุกข์ถึงตัวตรงๆ ยังอ้อยอิ่งในชีวิต มีโอกาสสู
แม่หมอ..มองทะลุ ปี 68 เปลี่ยนนายกฯ ..ยุบสภา-ลาออก!!.. I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568
เคลื่อนทัพ...เคาะโผนายพล | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568
‘สมชาย’เตือน รธน.ฉบับใหม่ ตายยกสภา !! | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568