ก้าวต่อไป'รถอีวี' ปัญหาอุปสรรคที่ต้องทลายกำแพง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเช่น บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จํากัด บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด และบริษัท อีวี คาร์(ไทยแลนด์) จำกัด และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เป็นต้น สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง อีอีซี และศูนย์วิจัยเเละพัฒนา มูลนิธิสถาบัน พลังงานทางเลือกเเห่งประเทศไทย เป็นต้น ร่วมกับ คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง และระบบกักเก็บพลังงานและคณะอนุกรรมาธิการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โดรนและชลยานไร้คนขับเพื่อการพัฒนา และคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร  จัดนิทรรศการแสดงยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง และจัดการสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็น ครั้งที่ 2 เรื่อง“ข้อเสนอแนวทางการสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion)เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ณห้องประชุมสัมมนา บี 1-2 ชั้นบี 1 อาคารรัฐสภา  

นายธนาคาร วงษ์ดีไทย เลขานุการและอนุกรรมาธิการคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ  ได้นำเสนอถึงปัญหาอุปสรรคและความท้าทายสำคัญที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงจะเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา แบ่งออกเป็น 9 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) วิกฤติค่าพลังงานเชื้อเพลิงราคาสูงหากมีการดัดแปลงรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า จะช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้ถึง 5 เท่า และประหยัดค่าซ่อมรถ 15 เท่าต่อปี 2)หนี้ครัวเรือน 90% ของจีดีพี รวมถึงกลุ่มประชาชนรากหญ้า แบกภาระซื้อรถไฟฟ้าป้ายแดงไม่ไหว 3)การที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวน 111 ล้านตัน ให้ได้ภายใน 8 ปีโดยมาจากภาคขนส่ง 41 ล้านตัน คิดเป็นรถไฟฟ้ารวม 12 ล้านคัน 4) ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ 80%มาจากภาคขนส่ง รถกระบะดีเซลในกรุงเทพฯ 250,000 คัน ที่รถใหม่แก้ปัญหานี้ไม่ได้

ธนาคาร วงษ์ดีไทย

5)ประเทศไทยมีผู้ประกอบการ Tier 3 จำนวนกว่า 2,000 บริษัทที่ไม่มีเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขาดเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านเสี่ยงต่อการปิดตัวลง 6) ประเทศไทยมีอู่ 20,000 อู่ที่จดทะเบียน 50,000อู่ที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งอู่เหล่านี้ซ่อมรถไฟฟ้าไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนผ่านฉับพลันจะทำให้ตกงานแต่ถ้าเปลี่ยนส่วนประกอบให้เป็นรถไฟฟ้าบางชิ้นอู่จะสามารถซ่อมและเรียนรู้ได้ 7)บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย 95% มีทักษะด้านเครื่องกล มีเพียง 5% ที่มีทักษะด้านไฟฟ้ารวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ไม่มีการฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการ ยังต้องการเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่าน

 8)ความต้องการอะไหล่ที่มีราคาไม่แพงในตลาดหลังการขาย (After market) ของรถไฟฟ้าที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยสามารถทำชิ้นส่วนเหล่านี้ได้ 9) ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงในรูปแบบรถกระบะถ้าได้รับการสนับสนุนจะมีราคาเหลือ 300,000 บาทต่อคัน รถกระบะทั่วประเทศมี 7 ล้านคัน อายุ 10 ปีขึ้นไป 4 ล้านคัน ถ้าดึงส่วนนี้มาดัดแปลงแค่ 10% คือ 4 แสนคัน จะทำให้มีเงินหมุนในประเทศกว่า 120,000 ล้านบาท ไปที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอู่ในประเทศ

จาก (ร่าง) ผลการศึกษายานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯสามารถแบ่งข้อเสนอแนะมาตรการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรการทางการเงินและมาตรการที่ไม่ใช่การเงินและให้การสนับสนุนใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำการดัดแปลง กลุ่มผู้ใช้งาน และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโดยมีรายละเอียดดังนี้
1. มาตรการสนับสนุนทางการเงิน (Financial)กลุ่มนิติบุคคลที่ทำการดัดแปลงยานยนต์น้ำมันให้เป็นไฟฟ้า (Converted Vehicles) เช่นการยกเว้นภาษีนำเข้า ยกเว้นภาษีสรรพสามิต ในระยะ 5 ปีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง  สนับสนุนเงินลงทุนเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นที่ใช้ในสถานประกอบการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของแบตเตอรี่ที่ใช้ในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เป็นต้น

ในกลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะ และผู้เดินรถ (Vehicles Users and Fleet Operator) เช่นมาตรการช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการประกันภัย อุดหนุนค่าใช้จ่ายทางด่วน เป็นต้นและกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสายส่งและระบบอัดประจุไฟฟ้า (Infrastructure) เช่นสนับสนุนค่าไฟฟ้าในการอัดประจุ สนับสนุนค่าติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าประจำบ้านสนับสนุนให้หน่วยงานเอกชนติดตั้งสถานีอัดประจุบนพื้นที่จอดรถและให้ผู้บริการ เป็นต้น


2. มาตรการสนับสนุนที่ไม่ใช่ทางการเงิน (Non-Financial)สำหรับกลุ่มนิติบุคคลที่ทำการดัดแปลงยานยนต์น้ำมันให้เป็นไฟฟ้า (Converted Vehicles) เช่นการเปิดอู่รถดัดแปลงพร้อมมีประกาศนียบัตร จะได้ลดหย่อนภาษี ภาครัฐสนับสนุนการฝึกอบรมโดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้ 200% ในกลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะ และผู้เดินรถ (Vehicles Users andFleet Operator) เช่น การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำรถที่ใช้งานอยู่มาดัดแปลงให้เป็นรถไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า50% ภายในเวลา 2 ปี  อนุญาตให้ข้าราชการที่ใช้รถไฟฟ้าดัดแปลงสามารถนำรถมาอัดประจุได้ที่หน่วยงานราชการที่สังกัดอยู่เป็นต้น และในส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสายส่งและระบบอัดประจุไฟฟ้า (Infrastructure) เช่นการปรับระบบและอนุญาตให้ยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามพื้นที่สาธารณะได้

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ให้ความเห็นที่หลากหลายและร่วมแลกเปลี่ยนถึงปัญหาอุปสรรครวมถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติม สามารถจัดกลุ่มออกเป็น 7 กลุ่ม และเรียงลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้


1. การสนับสนุนทางการเงิน การลดภาษีในระยะแรกเริ่ม เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากรภาษีประกอบแบตเตอรี่ และภาษีประกอบตัวรถ จะสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจุบันรถไฟฟ้าดัดแปลงหลายกลุ่มจะแพงกว่ารถไฟฟ้าใหม่ที่นำเข้าจากจีน เช่น รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงซึ่งเป็นรถขนาดเล็กเมื่อคิดภาษีเหล่านี้จะมีราคาใกล้เคียงกับรถที่นำเข้าจากจีนทั้งคัน เนื่องจาก FTA และมาตรการสนับสนุนการนำเข้าและผลิตรถไฟฟ้าใหม่ที่มีในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงควรมีราคาถูกกว่าค่าซ่อมบำรุงของยานยนต์ไฟฟ้าใหม่เสนอให้มีการสนับสนุนเงินทุนด้านการสร้างความรู้และช่วยเรื่อง Finance และลดดอกเบี้ยในการซื้อ EV Conversion การลดค่าการจดทะเบียนเพราะกลายมาเป็นต้นทุนที่สูงการลดค่าไฟฟ้าที่ปัจจุบันแพงหน่วยละ 8 บาทและในระยะยาวภาษีนำเข้าชิ้นส่วนควรจะคงไว้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการชิ้นส่วนในประเทศแต่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเร็ว


2. การมีหน่วยงานรัฐเป็นเจ้าภาพเป็นศูนย์กลาง จะสามารถทำให้เกิดการรวบรวมความต้องการมี volumeเพียงพอที่จะสามารถลดต้นทุนได้ ให้มีการ certify อู่ไหนปลอดภัย ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงยังไม่มีLeasing อยากให้มี Leasing อยากให้มี Sandboxและมีหน่วยงานกลางในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการทดสอบให้มีราคาถูกลงทำให้มีศักยภาพในการเติบโตที่ดีขึ้น อยากให้มีการแบ่งและรวมกลุ่มผู้ประกอบการที่ช่วยเหลือกันได้ตาม value chainซึ่งจะทำให้มีการรวมกลุ่มและแบ่งงานกันทำและภาครัฐสามารถกำหนดว่าเรื่องนี้จะให้ใครทำและสามารถให้การสนับสนุนเป็นกลุ่ม ปัจจุบันผู้ประกอบการทุกคนต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองและอยากให้รัฐเป็นศูนย์กลางในการจับคู่ business matching กับผู้ประกอบการจากทั่วโลก

3. คุณภาพมาตรฐานความลอดภัย การบูรณาการมาตรฐานชิ้นส่วน โดยเฉพาะตัว battery และตัวสายไฟ 4. การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ Key success คือต้องให้สามารถ scale up ให้ได้และเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดการผลิตอาจจะต้องทำ technology และนวัตกรรมร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการและอยากให้มีโรงงานแบตเตอรี่แห่งชาติในประเทศไทยที่ผลิตและขายออกให้ผู้ประกอบการรายย่อยนำไปพัฒนา applications 5. การพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ ผู้ประกอบการยังมีความรู้ไม่เพียงพออยากให้มีการ upskill, reskillภาคเอกชนเปิดรับเด็กนิสิตนักศึกษา ปวช. ปวส. ที่จบใหม่ และภาคเอกชนช่วยพัฒนาหลักสูตร ผลิตกำลังคน 6. การวิจัยและพัฒนา ภาครัฐสนับสนุนการพัฒนาชิ้นส่วนหลักๆ ที่มีอยู่ไม่เกิน 10ชิ้นให้มีคุณภาพดีและราคาที่ผู้ประกอบการไทยสู้ไหวและสามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้ด้วย7. การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับ แม้ว่ามีคนไทยออกแบบและผลิตชิ้นส่วนได้เองและใช้งานได้ดี เช่น board electronic แต่เนื่องจาก EV และ EV Conversionถือว่าเป็นเรื่องใหม่คนเลยยังไม่มั่นใจของที่พัฒนาและผลิตโดยคนไทยอยากให้ภาครัฐเป็นผู้ใช้งานและผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ และผลักดันให้สามารถส่งออกไปสู่ต่างประเทศได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แก้ปัญหาเมืองด้วย AI ส่องฟีเจอร์ใหม่ทราฟฟี ฟองดูว์

กว่า 9.4 แสนปัญหาเมือง  ทั้งน้ำท่วมขังหน้าคอนโด ถนนชำรุด  เสียงดังก่อสร้าง ทางเท้าชุ่ย ก่อสร้างผิดกฎหมาย  จุดกลับรถอันตราย  ต้นไม้โค่นล้ม รถจอดถนนแคบ ไฟฟ้าริมทางดับ และอีกสารพัดเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนและทำให้ชีวิตคนเสี่ยงอันตราย ในจำนวนนี้ 6.4 แสนเรื่อ