‘ฟ้อนเมืองปูจาพญามังราย’ Soft Power รูปแบบใหม่

อ่อนช้อยงดงามเป็นเอกลักษณ์สำหรับการจัดแสดง “ฟ้อนเมืองเชียงราย” บวงสรวงพญามังรายมหาราช ในโอกาสครบรอบสถาปนาเมืองเชียงรายครบ 761 ปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีเทิดพระเกียรติพญามังราย ผู้ทรงสถาปนาเมืองเชียงราย 

การแสดงครั้งนี้แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีกรณ์   ศิลปินแห่งชาติที่มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการศิลปะการแสดงพื้นเมืองเชียงราย นำช่างฟ้อนแต่งกายด้วยชุดล้านนาสีม่วงเชียงรายกว่า 1,000 ชีวิต ฟ้อนบวงสรวงถวายสักการะพญามังรายมหาราชอย่างพร้อมเพรียง เป็นการฟ้อนเล็บที่ยิ่งใหญ่ ตระการตาสุดๆ ในพิธีบวงสรวง เผยแพร่ศิลปะการฟ้อนพื้นบ้านล้านนาให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย  ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 26 ม.ค. 2566 ณ บริเวณถนนรอบอนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช (ห้าแยกพ่อขุน) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จ.เชียงราย ท่ามกลางความสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก  

ทั้งนี้ ก่อนวันงานบวงสรวง นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เยี่ยมบ้านศิลปินแห่งชาติ นางบัวเรียว รัตนมณีกรณ์  ศิลปินแห่งชาติ  พ.ศ.  2559  สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) พร้อมติดตามภารกิจโครงการสืบสานศิลปะการแสดงพื้นเมืองเชียงราย ครั้งที่ 7  ณ ศูนย์เรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านบ้านลา ม่อนม่วนใจ๋ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งมีเยาวชนคนรุ่นใหม่ ประชาชน ตลอดจนลูกศิษย์แม่ครู สนใจร่วมอบรม ซึ่งผู้ร่วมอบรมจำนวนหนึ่งได้ร่วมฟ้อนบวงสรวงพญามังรายมหาราชปีนี้ด้วย

นายโกวิท ผกามาศ กล่าวว่า สวธ.ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะเป็นสมบัติชาติและเอกลักษณ์วัฒนธรรม ปัจจุบันมีศิลปินที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 343 คน มีศิลปินแห่งชาติ 170 คน ที่ยังมีชีวิต ในภาคเหนือ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ เป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นช่างฟ้อนที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องและถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้แก่ผู้ที่สนใจ ลูกศิษย์แม่ครูรุ่นแล้วรุ่นเล่าคือผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่ง สวธ.โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมได้ร่วมกับแม่ครูบัวเรียว จัดโครงการสืบสานศิลปะการแสดงพื้นเมืองเชียงราย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะการแสดงสายสกุลช่างฟ้อนแม่ครูบัวเรียว  และเพิ่มศักยภาพการแสดงศิลปวัฒนธรรม ขณะเดียวกันศิลปินแห่งชาติแม่ครูบัวเรียวรับหน้าที่ฝึกสอนช่างฟ้อน ตลอดเป็นผู้นำฟ้อนบวงสรวงพญามังรายช่วงเช้าและเย็นปีนี้อีกด้วย

“ เป็นครั้งแรกที่มีการฟ้อนเล็บถวายพญามังรายกว่าพันคน โดยศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ฝึกสอนและนำฟ้อน ถือเป็นนาฏกรรมชุมชน คณะช่างฟ้อนจาก 18 อำเภอ ร่วมฟ้อนถวายกษัตริย์ผู้สร้างเมือง ถือเป็น Soft Power ท้องถิ่น แสดงศักยภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมิติต่างๆ  สร้างรายได้เข้าท้องถิ่น สร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยว  สวธ.มีแนวคิดจะส่งเสริมนาฏกรรมชุมชนให้เกิดขึ้นแต่ละจังหวัด  อย่าง จ.นครราชสีมา เตรียมจัดพิธีรำบวงสรวงและสดุดีท้าวสุนารี หรือย่าโม จะมีนางรำร่วมกว่า 1.5 หมื่นคน เราจะมาร่วมสร้างนาฏกรรมชุมชนแต่ละท้องถิ่น   “ อธิบดี สวธ.กล่าว

ด้าน แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีกรณ์   กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาแห่งนี้ใช้เผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นเมืองล้านนาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการทำโครงการสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาที่ สวธ. สนับสนุนปีนี้  จัดอบรมฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเล็บ ฟ้อนดาบฟ้อนเจิง ผู้ร่วมอบรมรวม 220 คน และจะทำงานสืบสานวัฒนธรรมตลอดไป 

“ แม่และลูกศิษย์ถ่ายทอดความรู้ศิลปะพื้นบ้านล้านนา  ปลื้มใจที่คนรุ่นหลังสืบทอด  แสดงถึงการยอมรับของคนในสังคม ส่งลูกหลานมาเรียน โดยเฉพาะฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ที่มีลีลาฟ้อนอ่อนช้อย เคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา ช่วงโควิดก็ไม่หยุด สอนผ่านระบบออนไลน์ หลังโควิดคลี่คลายศูนย์แห่งนี้เปิดอบรมตามปกติ เด็กๆ ที่ร่วมอบรมโครงการนี้ได้คัดเลือกให้ร่วมฟ้อนเมืองบวงสรวงพญามังราย ส่วนช่างฟ้อนในชุมขนซึ่งมีพื้นฐาน แม่ใช้สื่อออนไลน์เพื่อสอนทบทวน พิธีนี้มีความสำคัญแสดงถึงพลังศรัทธาของชาวเชียงรายที่มีต่อพ่อพญามังรายที่สร้างบ้านแปลงเมืองจนบัดนี้ครบ 761 ปีแล้ว  และแสดงความสมานสามัคคีของคนในจังหวัด  “ แม่ครูบัวเรียว กล่าวด้วยความภูมิใจ

นางสาวพนัสนันท์ วงค์ยาง นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า  ซึ่งเข้าอบรมโครงการฯ และร่วมการแสดงฟ้อนเมืองไหว้สาปูจาพญามังรายในวันจริง กล่าวว่า เรียนฟ้อนตั้งแต่อายุ 4 ปี จากลูกศิษย์แม่ครูบัวเรียว ต่อมามีโอกาสรับความรู้จากแม่ครูศิลปินแห่งชาติที่มีชื่อเสียง ท่านใจดี มีเมตตา สอนจนเราฟ้อนเก่ง  ภูมิใจได้สืบสานเอกลักษณ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเชียงราย  ส่วนอบรมครั้งนี้เลือกฐานฟ้อนดาบฟ้อนเจิง เพราะอยากเพิ่มทักษะศิลปะการแสดงด้านนี้

“ เราได้เรียนรู้การฟ้อนเล็บ ซึ่งต้นฉบับมาจากแม่ครูบัวเรียว วันจริงหนูและช่างฟ้อนทั้งหมดฟ้อนด้วยท่วงท่าที่เป็นเอกลักษณ์ เผยแพร่วัฒนธรรมล้านนาอย่างถูกต้อง  อนาคตอยากเป็นศิลปินนาฏศิลป์ “ ช่างฟ้อนวัย 16 ปี เผยดีใจเป็นส่วนหนึ่งการแสดงครั้งประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย

สำหรับการฟ้อนเมืองเชียงรายจะเป็นตัวอย่าง ทำให้เห็นว่า การรวมพลังขับเคลื่อน Soft Power ท้องถิ่นอย่างจริงจังเกิดประโยชน์กับชุมชนและประเทศมากกว่าที่คิด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ

21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562  นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี” 

อาลัย! สิ้น 'เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา' ศิลปินแห่งชาติ ราชานวนิยายลึกลับสยองขวัญของไทย

แฟนเพจ "ตรี อภิรุม" แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "อ.เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2562

'สิงห์ปาร์ค'ร่วมฉลองครบ10ปี 'เชียงราย โร้ด คลาสสิค 2024' กระตุ้นเศรษฐกิจ-สู่เมืองกีฬา

บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับ สิงห์ปาร์ค เชียงราย, จังหวัดเชียงราย, สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย และเครือข่ายชมรมจักรยาน จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “เชียงราย โร้ด คลาสสิค 2024” ปีที่ 10 ที่ สิงห์ปาร์ค เชียงราย

“พิพัฒน์” จ้างงานเร่งด่วน ระดมช่างไฟฟ้าซ่อมในอาคารกว่า 100 หลัง สร้างเชียงรายโมเดล ช่วยฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้ประกอบอาชีพได้

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน KICK OFF กิจกรรมการให้บริการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย

TSB ลุยช่วยสังคมต่อเนื่อง จับมือนักธุรกิจเอกชน ฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย

ไทย สมายล์ บัส และบริษัทในเครือ ร่วมกับ มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ และนักธุรกิจภาคเอกชน เดินหน้าสานต่อโครงการ “สังคมร่วมใจ คืนความสดใสให้วัดและโรงเรียน จ.เชียงราย” เร่งฟื้นฟูวัดและโรงเรียนน้ำท่วม