“ประชากรไทยน่าจะติดเชื้อไปแล้ว 70% ถ้าพูดว่าคนไทยเป็นลองโควิดกันเท่าจำนวนผู้ติดเชื้อ เราคงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ส่วนตัวคิดว่าลองโควิด เป็นอาการในแง่จิตใจมากกว่า และการจะเกิดลองโควิด หรือไม่ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคด้วย “
26 ม.ค.2566- บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จัดสัมมาพิเศษหัวข้อ “A NEW NORMAL WITH COVID-19 IN 2023 ” โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในภาพรวมของโควิด-19 ทั่วโลก ศ. นพ.ยง ย้อนเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พร้อมกับกล่าวถึง การก้าวสู่ปีที่ 4 ของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า มีประชากรที่ถูกบันทึกว่าติดเชื้อโควิด แล้วกว่า 600 ล้านคน และเสียชีวิต 1.3 ล้านคน แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจริงๆอาจจะมากถึง 5,000-6,000 ล้านคน หากเปรียบเทียบตัวเลขของการระบาดในเดือน ม.ค.ปี 2565 น้อยกว่าปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งการรายงานนี้อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้นหากยังคงมีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ในอนาคตอันใกล้องค์การอนามัยโลกคงจะยุติการรายสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพราะการรายงานผู้ติดเชื้อที่ไม่เป็นจริง
ถ้าถามว่าคนไทย ติดเชื้อโควิด-19ไปแล้วกี่คน กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าประมาณกว่า 4 ล้านกคน ซึ่งส่วนตัวนั้นไม่เชื่อ เพราะเคยถามนักเรียนในห้องว่าใครติดเชื้อบ้าง ปรากฎว่าทุกคนยกมือบอกว่าเคยติดเชื้อมาแล้วทั้งห้อง ดังนั้น เพหลังจากสถานการณ์ความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอนลดลง การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงรายงานเฉพาะผู้ติดเชื้อ ที่นอนรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่อีก แต่ตัวเลขอัตราการเสียชีวิตต่ออาทิตย์มีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งคาดคะเนว่าจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1,000 คน โดยการคาดคะเนนี้มีตัวเลขที่เริ่มมีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีส่วนในการประเมินการฉีดวัคซีนสำหรับบุคลทั่วไปในระยะต่อไป อาจจะฉีดแค่ปีละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มคนที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะฉีด 2 ครั้งต่อปี
ศ. นพ.ยง กล่าวอีกว่า ในการหาว่าคนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้วเท่าไหร่ ตนจึงได้ทำการศึกษา ในเด็กอายุ 5-6 ปี และ 6-7 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 พบว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนมีเด็กติดเชื้อประมาณ 65-70% แต่ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าพบว่าการติดเชื้อลดลงเหลือ 10-20% ในภาพรวม พบว่า มีเด็กเคยติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 70-80% เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการเจาะเลือดตรวจต่อโปรตีนนิวคลีโอแคปซิดยังพบว่า 1 ใน 3 คน เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และในจำนวน 3 คน จะรู้ว่าติดเชื้อเพียง 2 คน ซึ่งทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ ก็ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว ส่งผลให้ต่อมามีการตรวจภูมิ พบว่าในภาพรวมของตรวจแอนติบอดีในเด็กพบ 90% มีภูมิคุ้มกัร ซึ่งค่อนข้างสูง ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคน้อยมาก
ศ.นพ.ยง ยังเผยอีกว่า ตนได้ศึกษาเพิ่มเติมในพื้นที่ จ.ชลบุรี ทั้งการตรวจเลือดและซักประวัติ จากตัวอย่าง 1,211 คน เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อในทุกช่วงวัย พบว่า เด็กที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วในต่ำกว่าอายุ 5 ขวบมีถึง 82% ลดลงมาในอายุ 5-10 ปี อยู่ที่ 76% ในวัยทำงานติดเชื้อไปแล้วอยู่ที่ 70% และส่วนน้อยที่สุดคือกลุ่มผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 70 ปี อยู่ที่ 46%โดยสาเหตุที่เด็กมีการติดเชื้อในชลบุรีเยอะนั้น มาจากการเปิดโรงเรียน จึงมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เพราะในกลุ่มเด็กเล็กที่พบแอนติบอดีน้อยที่สุด
ในการป้องกันโควิด-19 โดยการส่วมใส่หน้ากากอนามัยซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่สำคัญ ศ. นพ.ยง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กเล็กระดับอนุบาลหรือประถมที่มีการใส่หน้ากากอนามัยใน 1 ชั่วโมง จะมีการสัมผัสที่หน้ากากอนามัยจำนวน 8-20 ครั้ง ซึ่งก่อนสัมผัสไม่มีการล้างมือมาก่อน ดังนั้นการให้เด็กเล็กการใส่หน้ากากอนามัยที่โรงเรียนไม่ได้ช่วยป้องกันมากนัก และอาจจะส่งผลต่อการเรียนรู้ เพราะเด็กเล็กต้องอาศัยการสื่อสารทั้งภาษาพูด ภาษากาย การแสดงออกทางใบหน้า ดังนั้น หากในไทยจะมีการยกเลิกใส่หน้าการอนามัยก็ควรจะยกเลิกในกลุ่มเด็กเล็กก่อน และหันไปเน้นการล้างมือและความสะอาดต่างๆแทน ส่วนผู้ใหญ่แนวโน้มในอนาคตอาจจะเน้นการใส่หน้ากากอนามัยในกลุ่มคนที่ไม่สบาย
จะมีโควิดสายพันธุ์ใหม่ ระบาดในไทยอีกหรือไม่ ศ.นพ.ยงกล่าวว่า ศ. นพ.ยง กล่าวว่า เรื่องสายพันธุ์ของโควิด-19 มีวิวัฒนาการเรื่อยๆ อย่างสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย เช่น คือจากอู่ฮั่น อัลฟ่า เดลต้า และโอมิครอน ซึ่งในสายพันธุ์โอมิครอน เกิดขึ้น แต่ก็มีการแตกย่อยออกเป็น BA.1 BA.2 BA.4 BA.5 แต่ ณ ขณะนี้การระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่ คือ สายพันธุ์ BA.2.75 ที่ก็คงจะหายไป และได้คาดการณ์ไว้ว่าสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศไทยคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่กำลังระบาดในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าโควิดสายพันธุ์ใหม่จะมีความรุนแรงลดลง แต่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานของวัคซีน หรือภูมิจากการเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วมากขึ้น ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดการแพร่ระบาดแล้ว วัคซีนที่เคยได้ฉีดไปนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในอเมริกามีการศึกษาประชากรที่คิดเชื้อไวรัส XBB.1.5 พบว่าแม้จะฉีดวัคซีนสูตรไขว้มา 4 เข็ม การกระตุ้นภูมิขึ้นไม่มากนักในสายพันธุ์ XBB.1.5
“วัคซีนในขณะนี้ไม่มีวัคซีนตัวไหนที่อยู่ในระดับเทพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมามีการเรียกร้องการใช้ mRNA เพราะเชื่อว่าป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ตอนนี้เราได้รู้แล้วว่าไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแค่ช่วยลดความรุนแรงของโรคลง ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบอย่างน้อยต้องได้รับวัคซีน 3 เข้ม คือ การฉีดวัคซีน 2 เข้มแรก และมีการฉีดกระตุ้นอีก 1 เข้ม หรือเข้มที่4 เข้มที่ 5 ก็ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่วนในเด็กก็สามารถได้รับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5-11 ปี และต่ำสุดในช่วงอายุ 6 เดือน และสามารถฉีดสูตรไขว้ได้ มีระดับภูมิต้านที่เพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพึงพอใจ และหากคนไข้ที่เป็นโควิด-19 และไม่เคยได้รับวัคซีน ประเทศไทยจะมีการให้ monoclonal antibodies ซึ่งมีจำนวนที่เพียงพอ ในส่วนภาพรวมประชากรไทยที่มีภูมิต้านโดยตรวจแอนติบอดีต่อ Spike กว่า 96% ดังนั้นหากจะทำการทดลองวัคซีน และหาอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด-19 เลย ที่เหลือเพียง 2-3% ตอนนี้นับว่าหายากมาก”
ศ. นพ.ยง แสดงความเห็นอีกว่า ส่วนผู้ที่กังวลหากติดเชื้อซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อซ้ำแล้ว ในช่วงที่มีการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการมากกว่าการติดเชื้อครั้งที่สอง ซึ่งมีอาการทั่วไปน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ไข้ ไอ ความเครียด ฯลฯ แต่มีอยู่หนึ่งอาการที่มีอาการเท่ากันคือ น้ำมูกไหล ทั้งนี้ถ้าไม่มีการป้องกันโรคโควิด-19 เหมือนที่ผ่านมา ปล่อยให้ติดเชื้อ การระบาดจะอยู่แค่ 1 ปี แล้วจบลง แต่อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณะสุขจะรองรับผู้ป่วยไม่ไหว ประเทศจึงมีมาตรการต่างๆในการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้องมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่จายของโรค เพื่อยืดเวลาให้การระบาดยาวขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อมีการป้องกันมากเท่าไหร่ โรคโควิด-19 ก็จะยังอยู่กับเราทุกคนตลอดไป ดังนั้นในการหยุดวิกฤตตอนต้นต้องอาศัยทุกประเทศร่วมมือกัน เพื่อลดการแพร่กระจ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อจะได้ไม่มีการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
“ผมมองว่า หากมีกาาระบาดอีก จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ในช่วงเดือน เดือนม.ค.-พฤษภา การระบาดสงบลง แล้วระบาดจะกลับมาอีกในช่วงกลางปี “
ในเรื่อง Long Covid ศ.นพ.ยง บอกว่าจริงๆแล้วประชากรไทยน่าจะติดเชื้อไปแล้ว 70% ถ้าพูดว่าคนไทยเป็นลองโควิดกันเท่าจำนวนผู้ติดเชื้อ เราคงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ส่วนตัวคิดว่าลองโควิด เป็นอาการในแง่จิตใจมากกว่า และการจะเกิดลองโควิด หรือไม่ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่