ปักหมุด’พหลโยธิน’สถานีศิลปะใหม่กลางเมือง

วิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ หนีไม่พ้นการใช้รถไฟฟ้าเป็นทางเลือกการเดินทาง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยความสะดวกสบายและประหยัดเวลากว่าเชื่อมต่อกับย่านเศรษฐกิจ ย่านทั้งใหม่และเก่า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนกรุงที่เร่งรีบ ต้องการหลีกหนีปัญหารถติด

ทุกวันนี้รถไฟฟ้าเป็นมากกว่าการเดินทาง เข้ามามีบทบาทในชีวิตคนกทม. มากขึ้น ล่าสุดกับสถานีรถไฟฟ้า MRT พหลโยธิน เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่สามารถเดินทางออกไปถึงชานเมืองได้ คนกรุงเทพฯ ใช้สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้ทะลุ 25,000 คนต่อวัน โดยการปรับปรุงสถานีใหม่เกิดเป็น Metro Art : The Inspiring District ซึ่งให้ความสำคัญกับพื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่ศิลปะสำหรับคนทุกกลุ่ม ทุกเพศทุกวัย ผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงด้านศิลปะและวัฒนธรรม

สถานี MRT พหลโยธิน หมุดหมายใหม่ด้านศิลปะของกรุงเทพฯ

สถานี ’พหลโยธิน’ แตกต่างจากสถานีวัดมังกร สถานีสามยอด และสถานีสนามไชยที่ออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามผสานวิถีวัฒนธรรมของชุมชนโดยรอบ จนได้รับการพูดถึงว่า เป็นสถานีที่สวยที่สุดของไทย  แต่ Metro Art ของสถานีพหลโยธินบนเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางเมตร  มีทั้งผลงานประติมากรรมร่วมสมัยขนาดใหญ่ ด้านในออกแบบตกแต่งงานอาร์ตร่วมสมัย  แกลเลอรี่แสดงผลงานศิลปะระดับมาสเตอร์พีชมูลค่าหลักล้าน  ห้องเรียนศิลปะ ตลาดนัดงานศิลป์ การแสดงดนตรี รวมไปถึงกิจกรรมทางศิลปะตลอดปี โดยมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 25 ม.ค.2566 นี้

อาร์ต สเปซแห่งใหม่ ส่งเสริมกรุงเทพฯ เมืองศิลปะ

กว่าจะมาเป็นพื้นที่ศิลปะแห่งใหม่กลางกรุง วัฒนา สิทธิไวทยาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานพัฒนาเชิงพาณิชย์และสื่อสารองค์กร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BEM) กล่าวว่า BEM ร่วมพัฒนา Metro Art ด้วยแนวคิดอยากเห็นสังคม ชุมชน ครอบครัว ได้ใช้เวลทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสรรค์ ปรับปรุง MRT สถานีพหลโยธินเป็นศูนย์รวมงานศิลปะของศิลปินระดับโลก เป็นพื้นที่สร้างโอกาสให้ศิลปินหน้าใหม่แสดงผลงาน

“ ถือเป็นการแสดงงานศิลปะภายในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินครั้งของไทยในสถานีแห่งนี้  นอกจากนี้ จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปะให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ โดยร่วมมือกับเครือข่ายสีน้ำนานาชาติ หรือ WIS แต่ละวันมีเวิร์คช็อปศิลปะ เยาวชนที่ยังค้นหาตัวตน การเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ส่วนผู้ใช้บริการได้ความสุข ได้ประสบการณ์ใหม่จากการใกล้ชิดศิลปะ เพราะศิลปะเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย “ วัฒนา กล่าว

ผลงานศิลปะที่แทรกทุกตารางนิ้วในสถานีรถไฟฟ้า MRT  พหลโยธิน

ด้าน วิทสุวัฒน์ อำคาแพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) กล่าวว่า สถานีแห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ปลดปล่อยความคิดแบบไร้ขีดจำกัด  และเกิดคอมมิวนิตี้ของศิลปินแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ส่งเสริมให้เมืองกรุงเทพฯ มีสีสันและน่าสนใจมากขึ้น   ไฮไลต์เป็นการแสดงงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งแนวโมเดิร์นและแนวคลาสสิค โดยจะสับเปลี่ยนทุกๆ 2 เดือน โดยสองศิลปินแรกที่โชว์งาน คือ PRJ และ The Jump  ผลงานร่วมสมัยจะเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ ซึ่งสถานีฯ พหลโยธิน มีวัยรุ่นใช้บริการจำนวนมาก จะตรงกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมต่างๆ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ทุกคนเข้ามาสถานีนี้

“ แต่ละวันสถานีพหลโยธินมีคนเข้ามาใช้บริการ กิน ดื่ม ช้อป และผู้โดยสารใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน 25,000 คนต่อวัน  ตอนนี้เปิดประเทศ เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว การเปิด Metro Art แลนด์มาร์คใหม่ของกรุงเทพฯ ให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ  คาดว่าจะทำให้คนหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการสถานีฯ นี้ เพิ่มขึ้นถึง 20% หรือเพิ่มขึ้นจาก 25,000 เที่ยวคนต่อวัน เป็น 30,000 เที่ยวคนต่อวัน นอกจากนี้ ยังกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย และสร้างยอดขายให้กับร้านค้าใน Metro Mall และพื้นที่โดยรอบสถานีด้วย นอกจากนี้ มีแผนปรับปรุง Metro Mall ใน 8 สถานี โดยจะอยู่บนการศึกษาไลฟ์สไตล์ สภาพแวดล้อมโดยรอบ และกลุ่มผู้โดยสาร แต่ละสถานีเป็นสิ่งสะท้อนวิถีชีวิตในย่านนั้นๆ ด้วย  “วิทสุวัฒน์ กล่าว

ครั้งแรกเปิดพื้นที่สร้างสรรค์งานศิลปะในสถานี

สำหรับอาร์ต สเปซแห่งใหม่นี้ บันชา ศรีวงศ์ราช ประธานเครือข่ายสมาคมสีน้ำโลกแห่งประเทศไทย และศิลปินสีน้ำ หนึ่งในพันธมิตรสร้าง Metro Art กล่าวว่า  WIS ร่วมกับ BEM เปลี่ยนสถานีเป็นพื้นที่ศิลปะ เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะ ไม่เฉพาะงานสีน้ำ แต่งานศิลป์ทุกประเภท ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ วรรณกรรม ในกทม. ยังขาดพื้นที่ศิลปะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ วันนี้มีเดสติเนชั่นใหม่ทางศิลปะ ทุกตารางเมตรอัดแน่นด้วยศิลปะ

“ สถานีพหลโยธินตั้งอยู่ใจกลางกรุง บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ไม่เคยคาดคิดจะมีพื้นที่ศิลปะรวมงานศิลป์อยู่ในพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ศิลปะไม่ได้อยู่แค่ในมิวเซียม แต่ศิลปะเข้าหาชุมชน เหนื่อยล้าจากการเดินทางได้แวะชมงานศิลปะสร้างแรงบันดาลใจ ผ่อนคลายจิตใจ หรือคนรักงานศิล์ตั้งใจเดินทางมาชมผลงานที่มีคุณค่าระดับโลก แม้ Metro Art ยังไม่เปิดทางการ แต่ตอนนี้ได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ “  บันชา บอก

ประติมากรรมขนาดใหญ่เติมเต็มความสุนทรีย์คนกรุง

ศิลปินสีน้ำบอกอีกว่า ในสถานีรถไฟฟ้าต่างประเทศ ไม่ว่าเมืองลอนดอน อังกฤษ เมืองสต็อคโฮลม์ สวีเดน เมืองมอสโก รัสเซีย มีการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นสถานีศิลปะสวยงาม และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนเดินทางไปเที่ยวชม สำหรับประเทศไทย มองว่า ไม่เฉพาะสถานีรถไฟฟ้า ตามถนนหนทาง แม้แต่พื้นที่สาธารณะ ตามชุมชนต่างๆ หากภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญสนับสนุนพื้นที่ศิลปะ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ช่วยให้มีศิลปินใหม่ๆ แจ้งเกิด อีกทั้งสร้างเมืองกรุงเทพฯ แห่งนี้ ให้มีสุนทรีย์เพิ่มขึ้น

แกลเลอรี่แสดงงานศิลปะระดับมาสเตอร์พีชภายในสถานี

จากการเปิดสถานี  MRT พหลโยธิน เป็นหมุดหมายศิลปะใหม่ของกรุงเทพฯ โอกาสนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  สนับสนุนด้วยการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวชมศิลปะสมัยใหม่ในสถานีแห่งนี้ และยังสามารถเดินทางเชื่อมโยงกับแหล่งเที่ยวทางศิปละที่น่าสนใจมากมายในย่านฝั่งธน บนเส้นทางสถานีพหลโยธิน-วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร -ตลาดไร้คาน -บ้านบุ-วัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ – วงเวียนโอเดียน ดื่มด่ำงานอาร์ตบนถนนสายมังกรเยาวราช เรียกว่า กระตุ้นให้เกิดการเดินทางเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในกรุงเทพฯ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าพาดผ่านสอดรับกับเทรนด์เดินเที่ยวย่านเก่าใหม่ในมหานครแห่งนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BEM มอบรางวัลกิจกรรม BEM Art Contest ครั้งที่ 1

นางสาวจิรนันท์ วรจักร ผู้ช่วยผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) (ที่ 2 จากขวา) เป็นประธานมอบรางวัลและใบประกาศนียบัตรในการแข่งขัน การประกวด “BEM Art Contest ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ภายใต้ Concept “20

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี

'ดร.สามารถ' แพร่บทความ บทเรียนสูญ 1.3 แสนล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ต้องมีผู้รับผิดชอบ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บทเรียนที่ต้องเรียน" มีเนื้อหาดังนี้

'ศาลปค.สูงสุด' ชี้ขาดแล้ว รฟม.เดินหน้าเซ็นสัญญา BEM ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

BEM ฝึกซ้อมการจัดการเหตุการณ์ เพื่อความปลอดภัยบน MRT

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.

‘BEM’ แจงเหตุน้ำเข้าขบวนเหตุจากปัญหาท่อแอร์ ไม่เกี่ยวกับฝน

‘BEM’ขออภัยผู้โดยสาร แจงน้ำเข้าขบวนเหตุจากปัญหาท่อแอร์ ไม่เกี่ยวกับฝน เร่งแก้ไขแล้วทุกขบวน สร้างความมั่นใจในการเดินทาง