ปลุก’อาสาท้องถิ่น’ อนุรักษ์โบราณสถานมรดกล้านนา

จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติ การขยายตัวของเมือง หรือแม้กระทั่งการลักลอบขุดของโบราณ  ทำให้เกิดผลกระทบต่อวัดเก่า เมืองเก่า โบราณสถานในหลายพื้นที่ การกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาภัยอันตรายที่คุกคามต่อศิลปวัฒนธรรม ต้นเหตุของความสูญเสียมรดกของชาติ ต้องเดินหน้าอย่างจริงจัง

เมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2566 อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม(อส.มศ.) ในเขตภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน มากกว่า 200 คน ซึ่งอุทิศตนดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมล้านนา เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในมรดกศิลปวัฒนธรรมและความเข้าใจในบทบาทหน้าที่เครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งต้องร่วมกันทำงาน ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) เขตภาคเหนือตอนบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ จ.เชียงใหม่ โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน

การจัดอบรมใหญ่นี้ดำเนินการโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม นอกจากบรรยายเข้มข้นโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท ยังชวนเหล่า อส.มศ. ไปศึกษาดูงานโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีสำคัญในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ณ วัดศรีสุพรรณ ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินงานบูรณะเจดีย์วัดศรีสุพรรณที่พังทลายเมื่อปี 65  ,วัดหัวฝาย และโบราณสถานเวียงกุมกาม ช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ปกป้องมรดกของชาติในจังหวัดของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวว่า อส.มศ.เป็นเครือข่ายสำคัญของกรมศิลปากรมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันขาดการติดต่อประสานงานการทำงานร่วมกันจึงทำให้ห่างเหิน พลังในการที่จะช่วยดูแลมรดกวัฒนธรรมของชาติก็ลดน้อยลง การจัดประชุมครั้งนี้เชิญหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมประชุมเพื่อเป็นการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในการปฎิบัติหน้าที่ดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ จะเป็นการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐด้วยกัน โดยกรมศิลปากร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกับประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และอำเภอ และวัฒนธรรมจังหวัดเข้ามาร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานด้วย เมื่อเกิดเหตุจะต้องรีบเข้าไปดำเนินการจัดการได้อย่างทันท่วงที

นางยุพา กล่าวต่อว่า กรมศิลปากรรายงานว่าอยู่ระหว่างจัดทำระบบฐานข้อมูล อส.มศ.ใหม่ทั้งหมด โดยจะมีการส่งจดหมายเพื่อให้ยืนยันสถานภาพ อส.มศ. เดิม เชื่อว่า จะเป็นการปลุกกระแส อส.มศ. ที่มีอยู่ในระบบกว่า 5,800 ราย ให้กลับเข้ามาดูแลรักษามรดกของชาติ  รวมถึงขยายผลชักชวนให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมสมัครเป็นอาสาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ของประเทศ ปัจจุบัน อส.มศ. ไม่มีเงินเดือน มีเบี้ยเลี้ยงเท่านั้น ดังนั้น ต้องสร้างแรงจูงใจในการทำหน้าที่ป้องกันมรดกชาติ  โดยให้ความสำคัญยกย่องบุคคลเหล่านี้ให้มีตัวตน มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และเปิดเวทีแสดงพลัง แสดงผลงานและแลกเปลี่ยนการทำงานทุกภูมิภาค   ในอนาคตจะมีการพิจารณาค่าตอบแทนให้แก่ อส.มศ. โดยจะศึกษาโมเดลของกระทรวงสาธารณสุขที่มีอาสาสมัครสาธารณสุข   และหารือกับสำนักงบประมาณต่อไป

ด้าน นายพนมบุตร  จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า อส.มส.เป็นจิตอาสาที่อุทิศตนทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างเข้มแข็ง คอยเป็นหูเป็นตา   พบเหตุสร้างความเสียหายต่อโบราณสถานหรือการลักลอบขุดแหล่งโบราณสถานรีบแจ้งส่งข่าวให้กรมศิลปากร ที่ผ่านมา มีหลายกรณีเมื่ออส.มศ. บอกข่าว สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ขณะนี้กรมเร่งติดตาม อส.มศ. กลับมา เพื่อจัดทำฐานข้อมูลนี้ให้ถูกต้อง เป็นจริง และครบถ้วน พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปกป้องมรดกชาติในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ขณะเดียวกันจะพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เกี่ยวกับ อส.มศ. ควบคู่กันไป ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ยกระดับพลังของอาสาสมัครท้องถิ่นดูแลมรดกวัฒนธรรม

นายชูศักดิ์ ศิริวนกูล ประธาน อส.มศ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่  สังกัดโบราณสถานเวียงท่ากาน อุทิศตนทำงานอาสาสมัครมากว่า 20 ปี หนึ่งในผู้ร่วมอบรมครั้งนี้ กล่าวว่า อส.มศ.สันป่าตอง ร่วมอนุรักษ์โบราณสถานเวียงท่ากาน เป็นเมืองเก่าที่มีอายุกว่า 1,300 ปี พวกเราได้รับการฝึกอบรมจากกรมศิลปากร มีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ทำหน้าที่ปกป้องดูแลโบราณไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย และแจ้งเบาะแสการพบโบราณสถานที่มีอยู่ในชุมชน ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ให้สำนักศิลปากรทราบ การเข้าร่วมอบรมมีประโยชน์ จากประสบการณ์ทำหน้าที่มายาวนาน อยากให้หน่วยงานต่างๆ และองค์กรท้องถิ่นเข้ามาร่วมดูแลรักษาสมบัติชาติกับ อส.มศ. ครั้งนี้ภาพการบูรณาการเกิดขึ้นจริง รู้สึกชื่นใจ

“ ผมมาด้วยหัวใจ มาด้วยความรักและหวงแหน อดีตโบราณสถานของเราถูกทำลาย โบราณวัตถุถูกขโมย นำมาสู่การรวมตัวของชุมชนบนอุดมการณ์รักษาโบราณสถานไว้เป็นสมบัติชาติ ฉะนั้น อส.มศ.เวียงท่ากานมีความเหนียวแน่น  เราถ่ายทอด สร้างคนรุ่นใหม่เป็นเครือข่ายเยาวชน ปลูกจิตสำนึก ประสานโรงเรียนนำเยาวชนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ทั้งยังบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของท้องถิ่น  กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานโล่ห์ให้แก่พวกเรา  รับสั่งให้ชุมชนดูแล พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ทรงสร้างพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน รับสั่งกับพวกเราว่า  ให้เข้มแข็ง อดทน ถึงจะไม่มีรายได้ แต่เราสู้ “ ประธานอส.มส.กล่าวด้วยน้ำตาแห่งความภาคภูมิใจ

งานนี้ กรมศิลปากรเดินหน้าสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ดูแลรักษามรดกสมบัติชาติ นอกจากภาคเหนือล้านนาแล้ว มีแผนจะจัดอบรมขยายผลให้ครบทุกภาคต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เที่ยว'บ้านฟ้าหยาด' ยลวัฒนธรรมครบรส

มนต์เสน่ห์ของวิถีวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวบ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย  จ.ยโสธร พร้อมใจกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยเฉพาะประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประเพณีหนึ่งเดียวในโลกมีอัตลักษณ์คู่เมืองยโสธร  ที่คนในชุมชนนำข้าวเปลือกมาคั่วใ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

ชมสำรับ'กับข้าวเจ้านาย'ในสยาม

พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน  บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี