ราชกิจจาฯ เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ


18 ม.ค.2566 - ​ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. 2566

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๒๑ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิก

(๑) กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗

(๒) กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕

(๓) กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อ ๒ ให้คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายดังต่อไปนี้ ซึ่งมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ (๑) เป็นคดีพิเศษเพิ่มเติมจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗

(๑) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน

(๒) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

(๓) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเฉพาะที่เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก

(๔) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร

(๕) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

(๖) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(๗) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

(๘) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

(๙) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

(๑๐) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง

(๑๑) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

(๑๒) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

(๑๓) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ

(๑๔) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต

(๑๕) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา

(๑๖) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่

(๑๗) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย

(๑๘) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

(๑๙) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

(๒๐) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

ทั้งนี้ เฉพาะคดีความผิดทางอาญาที่มีรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามที่คณะกรรมการคดีพิเศษกำหนด

ข้อ ๓ ให้ประกาศ กคพ. (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๕ เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ หากอ้างถึงกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือว่าอ้างถึงกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้คดีความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบเป็นคดีพิเศษเพิ่มเติมจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่เนื่องจากกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๖๐

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเกิดการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกระทำความผิดทางอาญาดังกล่าวมีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือมีลักษณะเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรมหรือมีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน หรือมีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญาหรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา สมควรปรับปรุงการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้140A003N0000000001600

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี ผู้เสียหายคดีดิไอคอนกรุ๊ป​ 'ปปง.' เปิดให้ยื่นขอคุ้มครองสิทธิรับคืนหรือชดใช้คืนทรัพย์สิน

ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ได้นำส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษที่ 119/2567 กรณี บริษัท

โฆษกดีเอสไอ โต้ทนายบอสพอล อุปสรรคคดีอยู่ที่ฝ่ายผู้ต้องหาเอง ไม่ใช่ DSI

ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกองคดีฮั้วประมูล ในและฐานะโฆษกดีเอสไอ พร้อมด้วยคณะพนักงานสอบสวนคดี

ทนายบอสพอล กังวล 'ดีเอสไอ' ตัดพยาน 2,000 คนฝั่งดิไอคอน ยุติสอบปากคำ 3 ธ.ค.นี้

นายวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายความของนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือ บอสพอล ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าเยี่ยมบอสพอล ที่เรือนจำฯ ว่ายอมรับว่าหนักใจเนื่องจากทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ

'ดีเอสไอ' จ่อบุกเรือนจำสอบปากคำ 'เจ๊พัช' ปมคลิปเสียงจ่ายสินบนดีเอสไอ 10 ล้าน

พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีคลิปเสียงสาวอ้างจ่ายเงิน 10 ล้านบาทให้ ดีเอสไอ