'Beesanc' ศูนย์เลี้ยงผึ้ง-ชันโรง เปลี่ยนพื้นที่เกษตรเคมีสู่แหล่งปลูกพืชปลอดสาร

หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า“น้ำผึ้ง”กลายเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแพร่หลายเนื่องจากน้ำผึ้งถือเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ช่วยต้านทานโรคต่างๆ ได้ดี ทำให้หลายคนหันมาให้ความสนใจและรักษาเรื่องสุขภาพมากขึ้น และจากความต้องการของตลาด ส่งผลให้น้ำผึ้งได้รับความนิยมมากขึ้น ร้านค้าต่างๆ ที่เน้นอาหารคลีน เน้นธรรมชาติ เน้นอาหารปลอดสาร เริ่มให้ความสนใจน้ำผึ้งมากขึ้น

รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Center) หรือ Bee Park มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) (มจธ.ราชบุรี) กล่าวถึงศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร ว่า เป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปต่อยอดขยายผลในเรื่องการสร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชนด้วยการเลี้ยงผึ้งและชันโรงกระจายสู่ชาวบ้านในพื้นที่

การทำงานดังกล่าวภายใต้ บีแซงโมเดล (Beesanc Model) ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) มีเป้าหมายหลักในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้การบริหารจัดการของภาคธุรกิจบวกกับความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมสังคมเป็นกลไกหลักในการกระบวนการผลิต พัฒนา สร้างน้ำผึ้งพื้นเมืองมูลค่าสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

นอกจากเป็นชื่อแบรนด์แล้ว Beesanc ยังเป็นโมเดลการเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองไทย ที่เป็นการนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบคุณลักษณะน้ำผึ้งที่ตลาดต้องการ เช่น รส กลิ่น สี ปริมาณน้ำผึ้ง หรือชนิดน้ำหวานจากดอกไม้ที่ผึ้งเก็บมาโดยมีคุณสมบัติทางยาบางชนิด ซึ่งความพิเศษดังกล่าวนำไปสู่การสร้างอาชีพให้กับชุมชนและเป็นการปลูกฝังให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร หันมาใส่ใจธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยน้ำผึ้งที่เกษตรกรเครือข่ายนำมาขายกับศูนย์ฯ จะได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI  ผู้ซื้อจะทราบว่าใครเป็นผู้ผลิต ผลิตจากที่ไหน ดังนั้น ผู้บริโภคสามารถไปซื้อกับเกษตรกรผู้ผลิตเองได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้แบรนด์ Beesanc หรือถ้าเกษตรกรต้องการทำแบรนด์ของตัวเอง มจธ. ก็มีอาจารย์และนักวิจัยเข้าไปช่วยดูช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ด้วย

อาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม และ รศ.ดร.อรวรรณ จาก BEEFARM

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ Beesanc เป็นน้ำผึ้งออแกนิคแท้ 100% ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานและคุณค่าบ่งชี้ทางสุขภาพจาก Lab วิจัย ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ค่าน้ำผึ้งแบบไหน อย่างไร รสชาติเป็นอย่างไร ด้วยแนวคิด “น้ำผึ้งธรรมชาติที่มีคุณภาพที่ออกแบบเองได้โดยผู้บริโภค” หรือ “น้ำผึ้งตามสั่ง” นั่นเอง ถือเป็นนวัตกรรมทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคในการผลิตน้ำผึ้งที่มีมูลค่าสูงออกสู่ตลาด ที่ต้องการสื่อถึงรสชาติของน้ำผึ้งเขตร้อนในแต่ละมิติซึ่งมีความหวานของน้ำผึ้งแตกต่างกันออกไปตามรสชาติของดอกไม้ที่ผึ้งเก็บมา โดยมี Beesanc ทำหน้าที่เสมือนโชว์รูม ให้คนเข้ามาชิม ช้อป และสื่อสารกับผู้บริโภคสู่ความเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกหรือระดับสากล  

รศ.ดร.อรวรรณ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน Beesanc มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้สนใจในการเลี้ยงผึ้งและชันโรง โดยทางชุมชนได้ขยายเครือข่ายไปยังเด็กชายขอบและโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากกลุ่มเยาวชนในพื้นที่เหล่านี้ หลังจากจบการศึกษาระดับประถมไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ดังนั้นการมีอาชีพรองรับพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะทำให้เด็กและเยาวชนนอกระบบเหล่านี้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัว รวมทั้งสามารถดูแลระบบนิเวศในพื้นที่บ้านเกิดของเขาต่อไป

“ตอนนี้ได้ขยายการเลี้ยงผึ้งและชันโรงไปยังเด็กชายขอบและเด็กนอกระบบ รวมทั้งมีการเพิ่มหลักสูตรเข้าไปในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการเลี้ยงตั้งแต่ต้นจนกระทั่งเด็กจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อจบออกไปสามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้ครอบครัว ซึ่งทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนี้สามารถนำน้ำผึ้งมาขายให้กับศูนย์ฯ ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานที่ศูนย์ฯ กำหนด โดยเรามีการรับซื้อทั้งหมด  เช่น เป็นน้ำผึ้งแท้จากธรรมชาติ มีการเก็บน้ำผึ้งที่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น ซึ่งราคาที่ได้จะเป็นไปตามกลไกของตลาด”

โมเดลการเลี้ยงผึ้ง Beesanc มีความหมายว่า “สวรรค์ของผึ้ง” มาจากการรวมกันของคำว่า Bee ที่แปลว่าผึ้ง และ Sanctuary ที่แปลว่าสวรรค์หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โมเดลนี้สนับสนุนให้เกิดการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นมิตรกับผึ้ง ทั้งในแง่ความปลอดภัยจากสารเคมี การปลูกพืชอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำผึ้ง และการปลูกพืชสมุนไพรชนิดพิเศษ ที่เพิ่มคุณค่าทางสุขภาพให้กับน้ำผึ้ง  ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้ค่อยๆ เป็นแหล่งผลิตพืชปลอดสารพิษ

แมนรัตน์ ฐิติธนากุล

นายแมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรงอำเภอบ้านคา กล่าวว่า เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วชุมชนแห่งนี้เคยเป็นหนึ่งในพื้นที่สีแดงที่ขึ้นชื่อเรื่อง“การใช้ยาฆ่าแมลงอย่างเข้มข้น” เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพทำเกษตรปลูกสับปะรดเป็นอาชีพหลัก จนกระทั่งตนได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแทนพ่อ เพราะพ่อเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากยาฆ่าแมลงจากการทำไร่สับปะรด จากความสูญเสียดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการลุกขึ้นมาทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี 100 % ในช่วงแรกผู้ใหญ่แมนรัตน์ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากมากโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนทัศนคติของลูกบ้านในเรื่องลดการใช้สารเคมีในแปลง

“โจทย์คือทำอย่างไรให้ชาวบ้านเลิกใช้สารเคมีด้วยการเปลี่ยนความคิดจากตัวเขาเอง ประกอบกับตัวผมตั้งใจจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่อยากข้องเกี่ยวกับสารเคมี ไม่อยากทำไร่สับปะรด แต่อยากมีอาชีพเสริมอื่น จึงเข้าไปคุยกับอาจารย์ที่ศูนย์ฯ จากนั้นจึงได้เรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งและชันโรง ตอนแรกลองเอามาเลี้ยงเองก่อนและแจกชันโรงให้ชาวบ้านเลี้ยงด้วย  เพื่อให้ชันโรงเป็นตัวกลางในการลดการใช้ยาฆ่าแมลง แรกๆ ชาวบ้านทุกคนเอากลับมาคืนหมด แต่มีน้องที่ตกงานช่วงโควิด-19 เขาลองเลี้ยงไปสัก 5-6 เดือน แล้วนำมาขายได้ราคาได้เงินมาเลี้ยงครอบครัว คนอื่นจึงเริ่มสนใจเลี้ยงบ้าง จากเดิมมีผู้ใหญ่และเด็กนอกระบบประมาณ 5-6 คนเท่านั้น จากนั้นมีการบอกต่อปากต่อปาก จึงเกิดการขยายเครือข่ายการเลี้ยงผึ้งและชันโรงในวงกว้าง ชาวบ้านเห็นคุณค่าของการเลี้ยงผึ้งและชันโรงจึงค่อยๆ ลดการใช้สารเคมีไปโดยปริยาย”

ผู้ใหญ่แมนรัตน์ สานต่ออุดมการณ์ลดการใช้สารเคมีทำเกษตร จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนใกล้บ้านอบรมหลักสูตรการเลี้ยงผึ้ง หลังจากนั้นมีการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย

“เด็กที่นี่จะเรียนต่อน้อยมาก พอจบ ป.6 ก็ไม่ได้เรียนแล้ว เราต้องไปดึงเขาเข้ามาในระบบด้วยการฝึกอบรมอาชีพ เพราะใครๆ ก็สามารถเลี้ยงผึ้งและชันโรงได้ เพียงแค่บริเวณนั้นต้องเป็นการทำเกษตรอินทรีย์เท่านั้น เพราะผึ้งจะดูดน้ำหวานจากผลไม้หรือดอกไม้ที่ไม่มีสารเคมี ซึ่งทางกลุ่มได้มีการฝึกอบรมอาชีพการเลี้ยงผึ้งและชันโรงฟรีมาโดยตลอด ”

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรงอำเภอบ้านคา มีสมาชิกประมาณ 300 คน  เน้นการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องผึ้งและชันโรงที่ถูกต้อง โดยได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รวมน้ำผึ้งจากสมาชิกส่งขายต่อให้กับศูนย์ฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ Beesanc โดยน้ำผึ้งโพรงทางศูนย์ฯ รับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 500 – 600 บาท น้ำผึ้งชันโรงรับซื้อที่กิโลกรัมละ 1,000 บาท  

นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนฯ ยังมีทำกล่องหรือบ้านผึ้งส่งขายด้วย โดยมีออเดอร์ในแต่ละเดือนประมาณ 200-300 ใบต่อเดือน ซึ่งอาชีพดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรในการลดการใช้สารเคมี ก่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หยอกๆ! เมนต์ ‘ยักไหล่แล้วไปต่อ’ ให้กำลังใจ ‘หมออ๋อง’ โดนแซว ‘ยังมีราชบุรีให้แพ้อีก’

หมออ๋อง โพสต์แสดงความยินดี 'มนต์ชัย' ชนะเลือกตั้งนายกอบจ.พิษณุโลก แฟนคลับโพสต์ให้กำลังใจ มีแซวกันขำๆ

'พิธา' ปลุกชาวราชบุรีเป็นตาสับปะรด ให้พรรคประชาชน

'แกนนำ-ผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน' ลุยปูพรมสู้ศึก 'นายก อบจ.ราชบุรี' ด้าน 'พิธา' ย้ำอนาคตอยู่ในมือทุกคน ชวนกลับบ้านมาเลือกตั้ง-ช่วยกันเปลี่ยนใจคนให้หันมาเลือก 'ชัยรัตน์' 

'ททท.' จับมือ 'ฮาล์ฟ โทสท์' ส่งต่อความสุขในเทศกาล 'เขา มันส์ ได้'

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมด้วย บริษัท ฮาล์ฟ โทสท์ จำกัด เตรียมส่งต่อความสุขผ่านเสียงเพลง ในงาน Why Festival Carnival Charity เทศกาล “เขา มันส์ ได้” เทศกาลดนตรีสุดฟินที่จะพาคุณไปอินกับเสียงเพลง ท่ามกลางบรรยากาศแห่งขุนเขา ในช่วง Green Season พร้อมอัดแน่นด้วยหลากหลายกิจกรรมเพื่อคนรุ่นใหม่ตลอดวัน

'สคช.' ส่งอัยการช่วยครูเหยื่อทวงหนี้ ละเมิดศักดิ์ศรีมนุษย์รุนแรง

‘โกศลวัฒน์’อธ.อัยการ สคช.ส่งอัยการ สคช.ราชบุรีช่วยเหลือกฎหมายครูผู้ช่วย เหยื่อทวงหนี้โหด ชี้โทษหนักจำคุก 5 ปี ปรับ 5 เเสนบาท ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างรุนเเรง

หวานมดขึ้น! นายกฯ ซาบซึ้งภท. เปิดบ้านเลี้ยงอาหารค่ำอบอุ่น ขอทำงานร่วมรัฐบาลต่อไป

นายกฯ ขอบคุณ “นภินทร” เปิดบ้านต้อนรับคณะอบอุ่นเป็นกันเอง ขอ ภท. ซัพพอร์ตร่วมกันเป็นรัฐบาลต่อไป สัญญาจะช่วยชาวราชบุรี

'เศรษฐา' ชื่นมื่นส่งมินิฮาร์ท ตีปี๊บมะพร้าวน้ำหอม-อุทยานหินเขางูราชบุรี

“เศรษฐา” ส่งมินิฮาร์ท หลังชาวบ้านไท-ยวน’ ชูป้ายต้อนรับ ’‘  สั่งขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม -สนับสนุนเกษตรกรปลูก-หาตลาดใหม่  พัฒนา ‘อุทยานหินเขางู’ เป็นแลนด์มาร์คราชบุรี