ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแปรปรวน เกิดภัยพิบัติและสภาพอากาศสุดขั้ว เหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้า บริการ และโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรับมือความเสียหายที่เกิดจากโลกร้อนมีการออกมาตรการปกป้องและลดโลกร้อน
สหภาพยุโรป(อียู) เป็นประเทศแรกที่จะจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสินค้านำเข้า เป็นมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน หรือ CBAM จะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2566 ทำให้หลายประเทศต้องเตรียมตัวในการผลิตสินค้าลดโลกร้อน โดยอียูกำหนดให้ช่วง 3 ปีแรก (ปี 2566-2568) กลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซฯ สูงในกระบวนการผลิต 5 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอลูมิเนียม ให้ผู้นำเข้าสินค้าในอียูต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต ก่อนที่อียูจะจัดเก็บภาษีอย่างเป็นทางการในปี 2569
แน่นอนว่า มาตรการ CBAM มีผลกระทบต่อการส่งออกไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการไทยต้องตื่นตัวพร้อมรับมาตรการดังกล่าว ทั้งยังมีความท้าทายหลายประการในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หนึ่งในหน่วยงานที่รัฐบาลมอบหมายให้เตรียมพร้อมกับมาตรการนี้ เป็นผู้ให้บริการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งในระดับผลิตภัณฑ์ องค์กร บุคคล และกิจกรรม ซึ่งขยับเพื่อรับมาตรการอียูดังกล่าว
เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวถึงที่มามาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดนว่า เกิดจากสหภาพยุโรปให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศสมาชิกอียู อยากเริ่มต้นจัดการการปล่อยก๊าซของอียู ซึ่งปริมาณการปล่อยลดลงตามลำดับ รวมถึงออกกฎหมายภาคบังคับให้กลุ่มธุรกิจที่ปล่อยก๊าซควบคุมอัตราการปล่อยขั้นสูงสุดและสร้างตลาดแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าภายในอียูสูงขึ้น อียูจึงมีแนวคิดจัดเก็บภาษี CBAM เพื่อให้สินค้านำเข้ามาในอียูถูกรวมต้นทุนที่เกิดจากปล่อยก๊าซในการผลิต รักษาความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตในอียู และกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆ ลดก๊าซเรือนกระจกด้วย
“ จากการประชุมอียูครั้งล่าสุดกลางเดือน ธ.ค.65 เดิมจะเริ่มบังคับใช้ CBAM วันที่ 1 ม.ค. 2566 ต้องรายงานปริมาณสินค้า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมของสินค้าที่คำนวนตามหลัก CBAM ขยับมาวันที่ 1 ต.ค.2566 และอียูยังมีแผนตัวเทียบให้ปล่อยเข้มข้นขึ้น และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ “
ผอ.อบก.กล่าวด้วยว่า เดิม CBAM เริ่มจากกลุ่มสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซสูงในกระบวนการผลิต ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็ก ปุ๋ย อลูมิเนียม และกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม อียูเตรียมพิจารณาเพิ่มกลุ่มสินค้ากลุ่มไฮโดรเจน รวมถึงผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย อาทิ สกรู สลักเกลียว ที่สัมพันธ์กับเหล็ก โอกาสที่จะขยายสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย สะท้อนว่าอียูจริงจังกับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก
ผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย ผอ.ระบุสินค้าที่เข้าข่าย CBAM ของไทย จะเป็นกลุ่มเหล็ก อะลูมิเนียมที่มีผู้ประกอบการรับจ้างผลิตอยู่มาก ขณะที่ปูนซีเมนต์ไม่ได้ส่งสินค้าไปอียู แต่ส่งออกหลายประเทศในอาเซียน หากประเทศอาเซียนนำมาตรการนี้มาใช้ ไทยจะกระทบมาก ไทยยังเป็นแหล่งส่งออกปิโตรเคมี ทั้งเม้ดพลาสติกและโพลีเมอร์หากมีการขยายมาตรการ CBAM นำสินค้าเหล่านี้ใส่เข้ามาในอนาคต ไทยอาจจะโดนได้
“ ประเทศอื่นๆ ก็มีมาตรการคล้าย CBAM ออกมา อย่างสหรัฐ มีการเสนอร่างแผนจัดเก็บภาษีนำเข้าผู้ก่อมลพิษเข้าสภา เหมือนเป็นการบีบบังคับให้ประเทศต้นทางผู้ส่งออกต้องจัดการการปล่อยก๊าซหรือมีกฎหมายจัดเก็บภาษีเพื่อหักล้างกัน ด้วยกระแสCBAM ธุรกิจต้องปรับปรุงตัวเอง ทำธุรกิจลดการปล่อยก๊าซฯ ด้วยเหตุผลนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการปัดฝุ่นกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำหนดให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบมลพิษที่ปล่อย เพื่อให้เท่าเทียมกับอียู ประเทศส่งออกทั้งหลายต้องปรับตัว “ เกียรติชาย กล่าว
อบก.ในฐานะเป็นผู้ให้บริการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ผอ.อบก. เผยทางเทคนิคในการประเมินการปล่อยก๊าซ TGO สนับสนุนการควบคุมมาตรฐานการประเมินที่เกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ทางตรงและทางอ้อมของสินค้า เรียกว่า ค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราจะประเมินในสินค้าแต่ละตัวจากแต่ละอุตสาหกรรม ปัจจุบันเตรียมการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อให้การคำนวนง่าย รองรับแผนในอนาคต ทั้งระบบคำนวนและสูตรคำนวนอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยประสานกับอียูและสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.) เพื่อให้สูตรคำนวนตรงกัน
นอกจากนี้ เป็นการพัฒนาระบบทวนสอบโดยคนไทยรองรับมาตรการ CBAM กำลังผลักดันร่วมกับอียูเพื่อให้คนไทยสามารถคำนวนและทวนสอบด้วยระบบของเรา ซึ่งต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ ผ่านหลักสูตรอบรมมาตรฐาน ซึ่งต้องเตรียมคนให้เพียงพอ เพราะอียูอาจจะเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ถ้าไม่เตรียมการไทยจะเสียความสามารถในการแข่งขัน อบก.ร่วมขับเคลื่อนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขณะนี้เร่งสร้างมาตรฐานค่าปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ของสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากอียู คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกันยายนปีหน้า ก่อนจะประกาศให้ผู้ประกอบการมารับบริการ ปัจจุบันซักซ้อมการประเมินตามมาตรการ CBAM ตลอด เมื่อมีผู้ประกอบการมีขอรับบริการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จะเพิ่มประเมินการปล่อยก๊าซของสินค้าให้ด้วย
เกียรติชายย้ำผู้ผลิตไทยตื่นตัวมาก เพราะส่งออกสินค้าไปต่างประเทศจำนวนมาก ส่งชิ้นส่วนเหล็กหรืออลูมิเนียมที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งต้องผ่านการประเมิน อบก.ทำ MOUกับสภาอุตสาหกรรมเพื่อขยับไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่คาดว่า อียูจะบังคับให้รายงาน แทนที่จะรออย่างเดียว รวมถึงประเมินผลกระทบที่ต้องจ่าย ต้นทุนมากน้อยแค่ไหน การขับเคลื่อนเพื่อตั้งรับ ปรับตัว ลดผลกระทบจาก CBAM ต้องทำในลักษณะทีมไทยแลนด์ เร่งรัดกฎหมายเป็นบทบาทของกระทรวงทรัพย์ฯ ซึ่งจัดตั้งกรมเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่เพื่อดูแลภารกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนองต่อข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องบูรณาการทำงาน
ผอ.อบก.มองว่า ปัจจุบันกระแสเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแรงงาน หากจะทำให้ประสบผลสำเร็จทุกภาคส่วนต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยต้องประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซของตัวเอง ตั้งแต่ระดับจังหวัด ท้องถิ่น ภาคธุรกิจ องค์กรและหน่วยงาน และมีการบังคับหากปริมาณการปล่อยก๊าซมาก จะมีความเสี่ยง รวมถึงมาตรการ CBAM ที่บังคับให้ประเมินการปล่อยของสินค้า ไม่เว้นแม้แต่กิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันบุคคลากรในการทวนสอบมีไม่เพียงพอ ซึ่งใน 3 ปีข้างหน้า ต้องใช้ผู้ทวนสอบจำนวนมาก
“ ขณะนี้ TGO สร้างโปรเจ็คกับกระทรวงอุดมฯ มี ม.บูรพา ม.ธรรมศาสตร จุฬา ม.เกษตร ม.เชียงใหม่ จะขยายไปมอ.หาดใหญ่ และม.ลาดกระบัง เพื่อพัฒนาสายอาชีพใหม่ขึ้นมาสำหรับคนไทยที่มีความเชี่ยวชาญระดับนานาชาติ มารองรับกลไก CBAM ,คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือแม้แต่โครงการคาร์บอนเครดิต อาทิ การปลูกต้นไม้ จัดการขยะ พลังงานทดแทน การประหยัดพลังงาน ฯลฯ เครดิตนี้มาหักล้างต้นทุนที่เราปล่อย ซึ่งเครดิตก็ต้องการผู้ทวนสอบ หากมีความพร้อมจะสนับสนุนให้มีโครงการดีๆ เกิดขึ้นมาก ทดแทนใบรับรอง CBAM ได้ด้วย “ เกียรติชาย กล่าว
ผอ.อบก.ฝากในท้ายท่ามกลางวิกฤต เราต้องปรับตัว กลุ่มแรก อุตสาหกรรมในรายการต้องปรับตัวอย่างแรง โดยทบทวนกระบวนการผลิตตัวเอง และประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซทางตรงและทางอ้อมของสินค้าต่อหนึ่งหน่วย อย่ารอให้ถึงวันประกาศให้การรับรอง รวมถึงหายุทธศาสตร์ลดการปล่อย หรือศึกษาบทเรียนจากอียูเพื่อปรับใช้ ส่วนลิสต์อุตสาหกรรมที่ถูกขีดออกไปต้องเตรียมเปลี่ยนชนิดพลังงาน ระบบการผลิต ระบบการขนส่ง การจัดการของเสียที่เดิมไม่คำนึงถึงการลดปล่อยก๊าซ ด้านภาครัฐต้องเตรียมระบบประเมินและระบบบริการให้เพียงพอ และมีมาตรการส่งเสริมภาคเอกชน ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงจะแข่งขันกับโลกและแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ เพราะเรื่องการปล่อยก๊าซถือเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
TGO จับมือ KBank วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดคาร์บอนไทยเติบโตต่อเนื่อง ชี้ต้องให้ความรู้ สนับสนุนเงินทุน และเร่งพัฒนาให้ได้มาตรฐานสากล
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ K+ Building สามย่าน และ Facebook Live โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
รัฐบาลแนะผู้ประกอบการไทยปรับตัว ปฏิบัติตามกฎตลาดโลก
รัฐบาลเสริมความเข้มแข็งสินค้าไทย ให้เท่าทันกฎระเบียบของทุกตลาด แนะผู้ประกอบการปรับตัว หลังสเปนจ่อออกกฎใหม่ เครื่องดื่มพสาสติกต้องใช้ฝาแแบยึดกับขวด
อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่
อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ
PRINC จับมือพันธมิตร 20 แห่งลงนามร่วมกับ อบก. - ธรรมศาสตร์ เป็นองค์กรนำร่อง มุ่งสู่ Net Zero ด้วยวิธี Science-Based Target
กรุงเทพฯ - บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ร่วมกับองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรนำร่องรวม 20 แห่ง ลงนามความร่วมมือโครงการส่งเสริมการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม
หวั่นรัฐบาลเศรษฐา ถอยหลังเข้าคลอง 'คลายกฎประมง' เปิดประตูค้ามนุษย์
เครือข่าย MWG เปิดเวทีเสวนาชวนจับตารัฐเตรียมดัน FTA ไทย-อียู พร้อมออกแถลงการณ์ชง 3 ข้อเร่งแก้ปัญหา IUU ด้าน“EJF” หวั่น“รัฐบาลเศรษฐา”แก้กฎประมงทำสิทธิมนุษยชนไทยถอยหลัง