'นครพนม' พื้นที่ศักยภาพทดสอบวัคซีน

“หากเปรียบเทียบกับภาพรวมของทั้งประเทศการได้รับวัคซีนเข็ม 3  นครพนมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50%   ถือว่าประชาชนครพนมไม่ได้อยู่ในจังหวัดที่รั้งท้ายของการฉีดวัคซีน และไม่ได้แปลว่าประชาชนไม่ยอมเข้ารับวัคซีน ดังนั้นเหตุผลที่เลือกจังหวัดนี้  คือความพร้อมของทีมวิจัย และประชาชนเคยมีฐานความเข้าใจเกี่ยวการวิจัยทางคลินิกวัคซีนชนิดอื่นมาแล้ว ”

ในช่วง2ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19   ประเทศไทยได้มีการริเริ่มค้นคว้า วิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด หลายแพลตฟอร์มด้วยกัน และหนึ่งในองค์กรที่วิจัยพัฒนาวัคซีนโควิดนั้นก็คือ องค์การเภสัชกรรม(อภ.) องค์กรหลักที่มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ของประะทศ  ก็ไได้ริเริ่มโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีน HXP-GPOVac จนขณะนี้เมื่อช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม  2565 ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทางคลินิกระยะที่ 3 ซึงเป็นการทดลองกับมนุษย์ ได้ใช้จังหวัดนครนพม เป็นพื้นที่การทดลองวิจัย  ซึ่งนับว่าแพลตฟอร์มการวิจัยวัคซีนโควิดที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายอาสาสมัครเข้าร่วมทดลองวัคซีนประมาณ  4,000 คน

เหตุใด ทางอภ. จึงเลือกพื้นที่ จังหวัดนครพนม เป็นแลนด์มาร์คการทดลองวัคซีน  คงต้องย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จังหวัดนครพนม นี้เป็นพื้นที่สำคัญในการวิจัยในโครงการวิจัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และในปี 2564 ก็มีการจัดตั้งคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครพนม อีกด้วย

ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายชีววัตถุ และรักษาการผู้จัดการโรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม ให้มุมมองว่า สืบเนื่องในปีพ.ศ. 2552 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทางอภ. ได้วางแผนการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่ใช้ตามฤดูกาลชนิด 3 สายพันธุ์ โดยได้ร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข หรือ  TUC ในการสร้างความเข้าใจกับชุมชน (Community Engagement) ในจ.นครพนม นอกจากนี้ในนครพนม ยังเป็นสนามการวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับยา โรคปอดบวม มีปัจจัยพื้นฐานที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure – SOP) ทั้งในแง่การบริหารจัดการโครงการวิจัย และการมีคู่มือการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติงาน

พื้นที่ทดสอบวัคซีนในจ.นครพนม

ดังนั้นจากความต่อเนื่องที่จังหวัดนครพนมเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยพัฒนาเกี่ยวยาและเวชภัณฑ์ จึงทำให้เป็นพื้นที่ ที่มีความพร้อมทางด้านการแพทย์  บุคลากร และทีมวิจัยผู้เชี่ยวชาญ  ส่วนการวิจัยวัคซีนโควิดของอภ.ครั้งนี มีเครือข่ายทีมวิจัยที่นำทีมโดยนพ.เกรียงไกร ประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยวัคซีนเอชเอ็กซ์พี จีพีโอแวค  นอกจากนั้น ยังมีทีมวิจัยของ TUC  จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาร่วมด้วย  ส่วนสำคัญคือ ประชาชนที่นี่ มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับทดลองวิจัยทางคลินิก ทำให้การสร้างฐานความร่วมมือเกิดการเชื่อมสัมพันธ์กันได้ง่าย จึงเหมาะในการใช้เป็นพื้นที่วิจัยพัฒนาการทำวัคซีนHXP-GPOVac ซึ่งใช้เทคนิคไข่ไก่ฟักเช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่”

ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์

กลไกในการสร้างความเข้าใจกับอาสาสมัครให้ยินยอมพร้อมใจ เข้าร่วมการทดลองวัคซีนโควิด ที่มีความแตกต่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่  และยังเป็นวัคซีนใหม่ที่ยังไม่เคยมีการใช้อย่างเป็นทางการมาก่อน ดร.ภญ.พรทิพย์ อธิบายว่า ก่อนทำการทดลอง อภ.ได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ โดยเฉพาะการเข้าถึงในด้านการสื่อสารกับประชาชน   ซึ่งในส่วนของ อภ. ประชาชนก็ให้ความเชื่อมั่นในฐานะองค์กรที่มีบทบาทการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย อีกกลไกสำคัญคือ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และอสม.ชุมชน ที่มีความใกล้ชิดกับชาวบ้าน มีความเชื่อใจกัน และมีข้อมูลในการเข้ารับวัคซีน  จึงทำให้การสื่อสารเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้ง่ายขึ้น  


“โดยก่อนที่จะเริ่มเข้าไปสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีคำถามความกังวลเกี่ยวตัววัคซีนโควิด-19 ทีมวิจัยในพื้นที่ก็จะมีการอบรมให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ถึงผลของการทดลองวัคซีนในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ที่การติดตามประเมินผลความปลอดภัย รวมถึงการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการฯ ในการเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม รวมไปถึงโลกใบนี้ “ดร.ภญ.พรทิพย์กล่าว

ดร.ภญ.พรทิพย์ ย้ำถึงประเด็นการเลือกพื้นที่นครพนมอีกว่า จากสิถิติการเข้ารับวัคซีนของประชาชนนครพนมครบ 2 เข็ม พบว่า ชาวนครพนมรับวัคซีน เข็มที่ 1และเข็มที่ 2  เฉลี่ยอยู่ที่ 70%  เข็มที่ 3 เฉลี่ยอยู่ที่ 33% ซึ่งหากจัดตามลำดับทั้งประเทศจังหวัดนครพนมจะมีสถิติการฉีดวัคซีนอยู่ในลำดับที่ 47  และหากเปรียบเทียบกับภาพรวมของทั้งประเทศการได้รับวัคซีนเข็ม 3  นครพนมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50%  ซึ่งจากสถิติดังกล่าว ถือว่าประชาชนในนครพนมไม่ได้อยู่ในจังหวัดที่รั้งท้ายของการฉีดวัคซีน และไม่ได้แปลว่าประชาชนไม่ยอมเข้ารับวัคซีน ดังนั้นเหตุผลที่เลือกจังหวัดนี้  คือความพร้อมของทีมวิจัย และประชาชนเคยมีฐานความเข้าใจเกี่ยวการวิจัยทางคลินิกวัคซีนชนิดอื่นมาแล้ว

ส่วนหนึ่งของอาสาสมัครทดสอบวัคซีนของอภ.

ในส่วนของการศึกษาวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 3 ดร.ภญ.พรทิพย์ กล่าวว่า ได้ตั้งเป้ารับอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ไว้ที่ 4,000 คน ก็คาดการณ์ไว้ว่าน่าจะได้ตามที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นก็จะเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย.) และเริ่มนำวัคซีนไปใช้ได้ประมาณกลางปี 2566 และจะมีการติดตามผลของวัคซีนในระยะที่ 4 หลังได้รับการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. และหลังการนำวัคซีนไปใช้ฉีดในประชาชนแล้ว เพื่อเก็บข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผล  แต่อาจจะไม่คุมเข้มเท่ากับรระยะที่ 3 แต่จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการเก็บข้อมูลก่อนสรุปผลอีกครั้ง “

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป