ขนมชั้นแห่งอนาคต สูตรลดน้ำตาล เสริมใยอาหารและโพรไบโอติก ผลงานของทีมเลอชั้นซึ่งประกอบด้วยนิสิตและศิษย์เก่าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ นายนุติ หุตะสิงห นิสิตปริญญาเอก และบัณฑิตปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 อีก 2 คน คือนายศิริวัฒน์ จันทร์ธีรกูร และน.ส.สุกฤตา สุขสำราญ โดยมี รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Future Food For Sustainability 2022
โครงการ “FUTURE FOOD FOR SUSTAINABILITY” เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในอาหารแห่งอนาคตร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารภายใต้แนวคิด BCG ในคอนเซ็ปต์ “Plate to Planet”โครงการนี้มีผู้ร่วมสมัครแข่งขันทั้งหมด 2,018 ทีม และมีการประกาศผลการแข่งขันในวันที่ 13 ธันวาคม 2565ซึ่งขนมชั้นแห่งอนาคต จากทีมเลอชั้น ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 พิชิตเงินรางวัล 1,000,000 บาท ได้สำเร็จ
เมนูนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ใส่ในชะลอมสำหรับเสิร์ฟแก่ผู้นำและแขกผู้มีเกียรติในงานเลี้ยงรับรองของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอีกด้วยขนมชั้นแห่งอนาคต มีจุดเด่นดังนี้
ดีต่อกาย : ลดน้ำตาลลง 40% จากสูตรเดิม โดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะใช้เทคนิคการปรับโครงสร้างขนมให้มีชั้นหวานสลับชั้นจืด และอาศัยความหวานตกค้าง (sweet aftertaste) จากชั้นหวาน ทำให้ลิ้นยังคงรับรสหวานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังเสริมใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติก(prebiotic) ในเนื้อขนม เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษในครัมเบิ้ลมะพร้าวและเสริมโปรตีนมะพร้าวในซอสมะพร้าวเข้มข้นอีกด้วย
ดีต่อใจ : ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวในสระโบกขรณีจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังมีกลิ่นรสรสชาติและเนื้อสัมผัสที่อร่อยและหลากหลายในจานเดียว เริ่มตั้งแต่เนื้อขนมชั้นที่นุ่มหนึบ หอมกลิ่นน้ำตาลสดเสริมด้วยซอสมะพร้าวเข้มข้นรสเค็ม-หวาน และครัมเบิ้ลมะพร้าวที่กรุบกรอบและหอมมันคล้ายมะพร้าวคั่วซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัว และยังคงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างครบถ้วน
ดีต่อโลก : สีชมพูของดอกบัวได้มาจากสารสกัดของเปลือกผลแก้วมังกร ส่วนครัมเบิ้ลมะพร้าวถูกเตรียมจากผลพลอยได้จากการเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน จึงเป็นการนำ food waste มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น เมนูนี้ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด (plant-based raw materials) ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยแก๊ส CO 2 ได้มากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และใช้วัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย จึงช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยได้อย่างเต็มที่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พล.ท.นันทเดช.. ‘ต้องเลิกmou44ไล่ปีศาจ’ | ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร
ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
'นฤมล' เผยข่าวดีครม.อนุมัติงบ 2.57 พันล้านบาท ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงข่าวดีของเกษตรกรว่า ปีนี้อ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ
'เกาะกูด' เสียไป! ใครรับผิดชอบ? | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม
5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา
8 ฉากยิ่งใหญ่โขนศิลปาชีพ'พระจักราวตาร'
เพื่อเฉลิมฉลอง 2 โอกาสมหามงคลของปวงชนชาวไทย ได้แก่ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไทยเตรียมรับ ผลเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ I เศรษฐกิจ in focus
เศรษฐกิจ in focus : วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567