22ธ.ค.2565-นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) ประธานกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯ ครั้งที่ 1/2565 ว่าที่ประชุมรับทราบ ความคืบหน้าการเสนอ “สงกรานต์ในประเทศไทย”เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ต่อองค์การยูเนสโก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ดำเนินการเสนอเอกสารต่อองค์การยูเนสโกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในปลายปี พ.ศ. 2566 โดยจะมีรายการ “ต้มยำกุ้ง” ที่ครม.ได้ลงมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโกในปี 2568 ต่อไป
นายอิทธิพล เปิดเผยต่อว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ICH ครั้งนี้ ยังได้พิจารณาเห็นชอบให้“ผ้าขาวม้า” เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาฯ ที่เตรียมเสนอขึ้นบัญชีกับยูเนสโก ลำดับถัดไป ด้วยเห็นว่าผ้าขาวม้า ได้ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ไปแล้วเมื่อ พ.ศ.2556 ในสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า ผ้าขาวม้าเป็นผ้าทอพื้นเมืองมีลวดลายโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น พบได้ทุกภาคของประเทศมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยในหลายมิติ สารพัดประโยชน์ในการใช้สอย เช่น เครื่องนุ่งห่มใช้ทำความสะอาดเช็ดถู หรือมอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้ใหญ่ และใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน ผ้าขาวม้า ถูกนำมาต่อยอดพัฒนาคุณภาพ แปรรูปให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลายหลายจึงเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดทำข้อมูลตามหลักเกณฑ์ เพื่อเสนอรายการ “ผ้าขาวม้า”ต่อองค์การยูเนสโก ต่อไป
และที่ประชุมคณะกรรมการ ICH ยังเห็นชอบให้เสนอ รายการมรดกร่วม “เคบายา”ต่อองค์การยูเนสโก จากการที่รัฐบาลของประเทศมาเลเซีย ได้มีหนังสือขอเชิญประเทศไทยขึ้นทะเบียนร่วม (multi-national nomination) รายการ “เคบายา” (Kebaya) โดยมีประเทศอื่น ๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม และสิงคโปร์ได้พิจารณาเข้าร่วมในการเสนอรายการเคบายา เพื่อขอขึ้นทะเบียนมรดกร่วมต่อยูเนสโก ด้วยซึ่งมีกำหนดยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 นี้
ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย “เคบายา” คือเสื้อพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่สวมใส่โดยผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ดารุสซาลาม สิงคโปร์ และทางภาคใต้ของไทย ผลิตโดยผ้าที่มีน้ำหนักเบา เช่น ผ้าฝ้าย ฝ้าโปร่ง ผ้าลูกไม้ ประดับด้วยดิ้น ด้านหน้าติดกระดุมหรือเข็มกลัด มีการออกแบบ การเย็บปักถักร้อยที่ประณีตงดงาม สอดคล้องกับการแต่งกาย บาบ๋า – เพอรานากัน ภาคใต้ของไทยที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อปี 2555 ถือเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของคนหลายชนชาติ เคบายา (Kebaya) เป็นเสื้อสตรีที่เป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกายบาบ๋า-เพอรานากัน ซึ่ง สมาคมเพอนารากันประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต พร้อมให้ความร่วมมือจัดทำข้อมูลเอกสาร เพื่อนำเสนอยูเนสโก ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ การประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประจำปีพ.ศ.2565 รวมทั้งสิ้น 14 รายการ ดังนี้ -สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ได้แก่ ตำนานนางผมหอม ,ตำนานหลวงพ่อพระใส -สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และงานเทศกาล ได้แก่แห่นกบุหรงซีงอ , ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ -สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับ ธรรมชาติและจักรวาล ได้แก่บ่อเกลือ นาเกลือ น้ำผักสะทอน -สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ได้แก่ ผ้าไหมหางกระรอก โคราช ,ผ้าซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์ , ผ้าโฮลสุรินทร์ , เมรุลอย -การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้แก่ การเส็งกลองกิ่ง ,การเล่นโหวด และ เรือบก โดยทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่คุณค่าความสำคัญ รวมทั้งให้การส่งเสริมสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำรงรักษาต่อไป
นายอิทธิพล ยังเปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯให้ความเห็นชอบผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2565 ดังนี้ ประเภทกลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กร หรือหน่วยงาน จำนวน ๗ ราย ได้แก่ สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น, กลุ่มรักษ์คอน , เทศบาลนครพิษณุโลก , ชมรมมวยไทยโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยา เชียงใหม่ ,ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่มมูลมังวัดท่ากกแก , สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา , ชุมชนคุณธรรมบ้านน้ำเลา ประเภทบุคคล จำนวน 16 ราย ได้แก่ นายอำไพ บุญรอด นายทรงชัย สมปรารถนา นายบุญสม สังขสุข นายจรัสเดช อุลิต นายประเสริฐ รักษ์วงศ์นางทองลี้ คณทา นายวิษณุ ผดุงศิลป์ นายนิเวศ แววสมณะ นายพุทธิชัย โชติประดิษฐ์ นายอรุณ พุ่มไสวนายสมชาย ฐานเจริญ รศ.สมบัติ ประจญศานต์ ผศ.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล พระครูนิปุณพัฒนวงศ์นายธนวัฒน์ ราชวัง นางจินตนา เย็นสวัสดิ์ เพื่อให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)ดำเนินการประกาศเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งผู้ที่ทำคุณประโยชน์นี้จะได้รับโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ต่อไป
สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ได้ทาง www.culture.go.thหรือเฟซบุ๊กกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ Line @ วัฒนธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the
ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ