การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภัยพิบัติภายใต้บริบทใหม่ จำเป็นต้องเปิดรับชุดความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ภาคการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญ การเร่งพัฒนาครูและบุคลากรด้านการศึกษาให้ตระหนักรู้ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นระบบตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จะสนับสนุนเป้าหมายการลดโลกร้อนของประเทศและบรรเทาความรุนแรงของพิบัติภัยในอนาคตอันใกล้ เหตุนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) จัดเสวนา “กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาวิถีใหม่” และเผยแพร่ “คู่มือกิจกรรมครูสิ่งแวดล้อม” ผ่านระบบออนไลน์ ตอกย้ำการแก้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความรู้เป็นรากฐาน
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่าสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นกระแสของโลก และประเทศไทยให้ความสำคัญ ซึ่งสิ่งแวดล้อมศึกษาต้องทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการเรียนการสอนต้องปรับ เพราะประเด็นสิ่งแวดล้อมมีโอกาสให้เด็กได้เรียนและสัมผัสกับสภาพแวดล้อมแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อม และมีคู่มือครูสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งทดลองใช้และอบรมครูในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเสียงตอบรับดี สิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่อยู่รอบตัว การเรียนสิ่งแวดล้อม คือ ทำอย่างไรให้เด็กได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิทยาศาสตร์ เหตุและผลของการเกิดปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ประสบอยู่ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“ มีรายงานปัญหา 3 อันดับแรกที่จะเกิดขึ่นภายใน 30 ปี ข้างหน้า ล้วนเกี่ยวข้องกับการสิ่งแวดล้อม อันดับที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันดับ 2 สภาพอากาศสุดขั้ว ร้อนมาก หนาวมาก ฝนมาก ร้อนในพื้นที่หนาว หนาวในพื้นที่ร้อน และอันดับ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอันดับต้นๆ ของโลก คนไทยใช้พิช สัตว์ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อดำรงชีวิต ถือเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมสำคัญ ไทยติดท็อปเท็นได้รับผลกระทบรุนแรงจากโลกร้อน แม้จะปล่อยไม่ถึง 1%ของทั่วโลก ไม่รวมปัญหาขยะพลาสติก ที่ต้องปลูกฝังการเรียนตั้งแต่อนุบาล การปรับวิถีชีวิต การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นประเด็นที่ต้องสร้างความเข้าใจ “ ดร.วิจารย์ กล่าว
สำหรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผอ.TEI ระบุ มี 2 เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัว วิถีใหม่เป็นสิ่งที่ทั่วโลกตระหนัก นายกฯ ให้คำสัญญาจะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 เป้าหมายระยะยาวจะลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ใน ค.ศ. 2065 หลายคนบอกว่า ยังอีกไกล แต่ถ้าเราไม่เตรียมการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในช่วงนี้ เราไม่สามารถปรับตัวอยู่กับการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกาะแก่งและชายฝั่ง อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้พืชและสัตว์อพยพและลดจำนวน น้ำท่วม ไฟป่า ซึ่งเป็นวิถีใหม่ที่เราต้องอยู่กับสถานการณ์เหล่านี้ ดังนั้น การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของคนทุกวัยเป็นสิ่งสำคัญ ภาคการศึกษา เป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญตั้งแต่ต้น
“ ก่อนหน้านี้ พัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมและอบรมครูสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและแกนนำในชุมชน หลักสูตรต่อไปที่จะให้ความสำคัญ คือ คู่มือครูเพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นวาระของโลกที่สหประชาติตั้งไว้ และสอดรับกับแผนชาติ ฉบับที่ 13 ไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “ ดร.วิจารย์ ย้ำ
พวงผกา ขาวกระโทก ผู้จัดการโครงการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า TEI ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาวิถีใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ปีนี้ คณะนักวิจัย TEI จัดทำ“คู่มือกิจกรรมครูสิ่งแวดล้อม” ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสถาบันเพื่อสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีเครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษานำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสังคมที่น่าอยู่
“ คู่มือนี้ใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในระดับ ป.4-6 และ ม.1-3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน สาระในคู่มือพูดถึงทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและยกตัวอย่างประเทศฟินแลนด์และสิงคโปร์ที่นำสิ่งแวดล้อมศึกษาไปปรับใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ นำเสนอสถานการณ์การอนุรักษ์ น้ำ อากาศ ป่าไม้ พลังงาน ขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมสำคัญและใกล้ตัว เพื่อปูพื้นความเข้าใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนัก รัก หวงแหนสิ่งแวดล้อม พร้อมให้แนวทางจัดกิจกรรมสร้างทักษะนำมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน “ พวงผกา กล่าว พร้อมแนะนำก่อนครูนำคู่มือไปใช้ ควรศึกษาทำความเข้าใจทั้งเล่มก่อน เพื่อปรับให้เข้ากับบริบทของพื้นที่
ภัทรภร หมื่นระเริง ผอ.รร.บีกริม จ.สระแก้ว กล่าวว่า โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนการจัดการขยะ ไม่เผา แต่คัดแยกและรีไซเคิล รวมถึงส่งเสริมให้เด็กๆ นำปรับใช้ที่บ้าน แนะนำให้ความรู้ผู้ปกครองและชุมชน จะช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมอย่างไร มีการเริ่มต้นกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาวิถีใหม่ ขยายองค์ความรู้ในมิติต่างๆ ในยุควิถีใหม่ การเริ่มต้นที่ตัวเองสำคัญที่สุด ลดขยะ คัดแยกขยะ
“ ตอนนี้เข้าสู่ฤดูกาลเตรียมเพาะปลูก ทำนา ชาวบ้านเตรียมเผาฟาง ครูพูดคุยกับนักเรียน และชุมชน ให้ปรับเปลี่ยนการเผามาเป็นวิธีการทำปุ๋ย เพื่อลดมลพิษอากาศ ลดฝุ่น “ ผอ.รร.กล่าว
สิ่งแวดล้อมศึกษาเรียนได้ทุกคน ไม่เว้นแม้เด็กพิการ วิชญ์ยุทธ ไชยพรพัฒนา จาก รร.โสตศึกษาสุรินทร์ จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ครูที่ผ่านการอบรมนำความรู้มาขยายผลครูและนักเรียนให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่แค่การรักษาความสะอาด แต่เป็นการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ สอดรับกับที่ภายในโรงเรียนมีการจัดแบ่งพื้นที่เรียนรู้เรื่องธนาคารขยะและด้านการเกษตร ตอนนี้เตรียมนำคู่มือกิจกรรมครูสิ่งแวดล้อมไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อมีเวลาให้ความรู้เพิ่มขึ้น
เวทีนี้มีการยกต้นแบบโรงเรียนที่ให้ความสำคัญการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสิ่งแวดล้อม และพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้พลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจพอเพียง อย่าง รร.อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ มาสเตอร์ เขมพาสน์ จาดก้อน รร.อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตราบใดที่เด็กนั่งเรียนในห้องเรียน จะไม่รู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจริงๆ คืออะไร จะแก้ไขปัญหาอย่างไร โรงเรียนแต่ละโรงเรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน แล้วนำไปบูรณาการกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ ที่โรงเรียนนำแนวคิดนักเรียนเข้าไปแก้ปัญหาด้วย
“ ที่ รร. นักเรียนเสนอปัญหาการรดน้ำต้นไม้ไม่มีประสิทธิภาพ ควรนำน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงเรียนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จนเกิดโครงการจริง และต่อยอดแก้ปัญหาเป็นรูปธรรม ตอนนี้ขยายผลแปลงเกษตรในชุมชน เราต้องการดึงเด็กออกนอกห้องเรียนผ่านศูนย์เรียนรู้ฯ ซึ่งใช้จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีทั้งสิ้น 24 สถานี อย่าง น้ำมันเก่ามาผลิตไบโอดีเซลใช้กับรถโรงเรียน เศษอาหารผลิตแก๊ซชีวภาพ เด็กได้เห็นกระบวนการจริงๆ หลักสูตรการเรียนการสอนต้องมีทั้งในห้องเรียนและแบบเข้มข้น ถ้าทุกโรงเรียนทำหลายมิติ การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาจะมีความหลากหลาย เกิดนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงทั้งในสถานศึกษาและชุมชน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษายังขาดองค์ความรู้ที่ลุ่มลึกด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องมีภาคีเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมสนับสนุนเป็นอีกปัจจัยสู่ความสำเร็จ “ มาสเตอร์เขมพาสน์ กล่าว
สภาพแวดล้อมใหม่ที่แปรปรวน รุนแรงขึ้น ต้องอาศัยการจัดกระบวนการศึกษาให้สามารถชี้นำสังคมรับรู้การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ใกล้ตัวในท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตระหนักถึงผลกระทบ และลงมือแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 67 ยังคงวิกฤต!
ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2567 สะท้อนให้เห็นสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมสาขาต่างๆ ของประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2567 ปีล่าสุด หลายสาขามีความน่าวิตก ตั้งแต่การปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การตกค้างสารเคมีทางการเกษตรในดิน
เมืองรับมือโลกเดือดไหวหรือไม่ เช็กความพร้อมชุมชน
งานวิจัยชี้ชัดประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงลำดับต้นๆ ของโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูร้อนที่ผ่านมาหลายภาคของไทยเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัดจนแทบอยู่ไม่ไหว หลายพื้นทื่เจอกับภาวะร้อนและแล้งยาวมาแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เจอฝนถล่มหนักระยะสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม
Food Waste ปัญหาใหญ่ที่ซ่อนในศูนย์อาหาร
ศูนย์อาหารถือเป็นสวรรค์ของนักกิน เพราะเป็นแหล่งรวมอาหารนานาประเภท บางแห่งมีร้านดัง สะดวกสบายเพราะจัดพื้นที่ให้นั่งรับประทาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก มีเมนูอร่อย จานด่วน ราคาสบายกระเป๋า ทำให้เป็นแหล่งรวมร้านอาหารและผู้บริโภคจำนวนมาก
ข้อเสนอรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทางออกฝ่าวิกฤตขยะ-ลดก๊าซเรือนกระจก
ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ฉายภาพใหญ่ๆ หลายประเด็นที่มีความน่าเป็นห่วง ตั้งแต่การใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนที่ลดลงตามลำดับ
ปฏิรูประบบจัดการขยะ กทม. ท้าทายความเป็น' Great Governor'
แต่ขยะที่แม้จะอยู่ในถัง หรือนำไปที่ ที่ทิ้งขยะแล้ว ยังมีเบื้องหลังที่จะทำให้เมืองหลวงและประเทศไทย ดูเป็นประเทศที่พัฒนาน่าชื่นชมได้ยิ่งขึ้นอีก ก็คือ "การจัดการแยกขยะ "ขยะที่แยกได้ มีข้อดีคือ การลดปริมาณขยะ นำกลับไปใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่ารีไซเคิล และนำมาใช้ซ้ำ ฯลฯลดงลประมาณ ในการบริหารจัดการขยะ ที่ทั้งกระบวนการจัดการต้องใช้งบฯแตะ เกือบหมื่นล้าน ในแต่ละปี(เฉพาะกทม.)