ก้าวต่อไปของ'วิชาประวัติศาสตร์ ' สารตั้งต้นเรียนรู้อดีต สู่โลกอนาตต

การที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ. ) ประกาศแยกวิชาประวัติศาสตร์พื้นฐาน  ที่มี 8 กลุ่มสาระวิชา กลายเป็นโครงสร้างการเรียนใหม่ที่เรียกว่า 8 + 1  ใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป อีกด้านหนึ่งเกิดกระแสคัดค้านทำนองว่าเป็นการบังคับให้เด็กรักชาติ  ขณะที่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ก็ได้ออกมายืนยันว่า เป็นการทำให้การเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์มีความทันสมัยและน่าสนใจ    ไม่ใช่การเรียนการสอนที่ดูน่าเบื่อ หรือเน้นการท่องจำ  แต่จะเป็นการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น  ไม่ใช่การยัดเยียดความคิดด้านใดด้านหนึ่ง  

ที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าวิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชานอกสายตาทั้งผู้เรียนและผู้สอนมาโดยตลอด เมื่อปี2565 ทางเว็บไซต์ Eduzones ได้ทำการสำรวจวิชาเรียนที่ทุกคนเรียกร้องให้มีการยกเลิกสอนในโรงเรียน ซึ่งวิชาประวัติศาสตร์ ติดเป็น 1 ใน 5 ของวิชาที่ควรถูกยกเลิกมากที่สุด รองจากวิชาลูกเสือ พระพุทธศาสนา พลศึกษา และกระบี่กระบอง  

ขณะที่กระแสโลกเอง แม้จะอยู่ในยุคดิจิทัล แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศพัฒนาแล้ว ล้วนให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าวิชาคณิตศาสตร็์  หรือวิทยาศาสตร์  จัดเป็นวิชาจำเป็นที่เด็กๆต้องเรียนรู้   เนื่องจาก มองว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อเชื่อมโยงโลก ปัจจุบัน กับอดีต และนำไปสู่การต่อยอดโลกอนาคต

เมื่อเร็วๆนี้  บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น ผู้พิมพ์ตำราเรียน ได้จัดการเสวนาหัวข้อ “สอนประวัติศาสตร์อย่างไร ในวันที่เราบอกเด็กไทยให้มองไปข้างหน้า” โดยตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน นักวิชาการที่ทำPodcast เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสื่อออนไลน์แห่งหนึ่ง  ได้ให้มุมมองว่า ในวัยเด็กทุกคนคงมีความคิดว่าวิชาประวัติศาสตร์น่าเบื่อ และจำเยอะมาก แต่ในทางกลับกันวิชานี้ก็ไม่เคยถูกให้เหตุผลว่าทำไมต้องจำเนื้อหามากมายขนาดนี้  ซึ่งหากย้อนกลับไปมองแต่ละระดับชั้นก็จะมีการสอนประวัติศาสตร์ตามลำดับจากประวัติศาสตร์ที่เกิดในประเทศ สู่เรื่องราวของประวัติศาสตร์โลก ที่บางครั้งก็น่าเบื่อ บางครั้งเรียนสนุก แต่ก็ไม่รู้เรื่อง ซึ่งในความจริงแล้วเราทุกคนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตลอดเวลาไม่ว่าจะในวิชาใด

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

“ดังนั้นอยากให้มองว่า วิชาประวัติศาสตร์ เป็นเพียงสารตั้งต้น แต่คนที่จะให้ชีวิตกับประวัติศาสตร์ คือ นักเรียน ที่จะต้องตั้งคำถาม และครู ที่คอยช่วยไกด์ เพราะประวัติศาสตร์เป็นมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ ขึ้นอยู่กับเราจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร เรียนแล้วได้อะไร และจะต่อยอดอย่างไร ฉะนั้น การเรียนประวัติศาสตร์ก็เพื่อไม่ทำผิดซ้ำ”

ดร.วิทย์ ยังบอกอีกว่า ไม่มีประเทศไหนไม่เรียนประวัติศาสตร์ประเทศตนเอง เพราะหากเข้าใจประวัติศาสตร์ จะรู้ว่าประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาถูกเขียนขึ้นจากชาวฮอลแลนด์  และชาวฝรั่งเศส ต่อมาก็ถูกรวบรวมเป็นบทเรียนโดยนักวิชาการประวัติศาสตร์ไทย แต่ที่ต้องรู้คือ ทุกประเทศย่อมเขียนให้ประเทศตนเองดูดี ยกเว้นประเทศเยอรมันนีที่เขียนเกี่ยวความเสียหายที่นาซีสร้างไว้

ด้านปัญหาของการเรียนการสอนในไทย ดร.วิทย์ มองว่า  อาจจะเพราะในการเรียนไม่มีการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ไทย กับประวัติศาสตร์โลก ซึ่งการระบุข้อมูลเหตุการณ์ในแบบเรียนด้วยพ.ศ. อาจจะทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์โลกได้ แต่ครูก็ต้องมีการไกด์ให้เด็ก ส่วนเด็กก็ต้องอยากจะต่อยอดเพียงแปลงจากพ.ศ. เป็น ค.ศ. นั้นไม่ยาก ยิ่งถ้าได้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในบริบทประวัติศาสตร์ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนสนุกมากยิ่งขึ้น เช่น ในปีพ.ศ.2325 ที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับปี ค.ศ.1782 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นคือ อังกฤษประกาศเอกราชจากจักรวรรดิบริเตน และ 7 ปีต่อมามีการปฏิวิติฝรั่งเศส เกิดความผันผวนของโลก จึงทำให้ไม่มีสงครามในไทย

“อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์อาจมีการผสมปนเปกันระหว่างความจริงและเรื่องเล่า เด็กบางส่วนรู้สึกว่าเป็นเรื่องล้าหลัง   แต่หนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กจะได้ฝึกฝน และเรียนรู้จากวิชานี้ เพื่อวิเคราะห์แยกแยะว่า ควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร และเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงอย่างสมเหตุสมผล ดร.วิทย์ ชี้ว่า นี่คือทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21 และยังเป็นหนึ่งในทักษะของเด็กยุคใหม่ ดังนั้นเด็กก็ต้องใส่ใจเรียนรู้ ครูก็ต้องเป็นผู้ไกด์ ปลูกฝั่งความอยากรู้ของเด็กด้วย “ดร.วิทย์กล่าว

ตะวัน เทวอักษร

ในฐานะผู้ผลิตตำราเรียน นักเรียนตั้งแต่ขั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ตะวัน  ซีอีโอ ของอักษรเจริญทัศน์ ให้ความเห็นว่า ในการเรียนการสอนยุคใหม่ ก็ได้มีการจุดประกายและออกแบบวิธีการสอน หรือ ไกด์ไลน์สำหรับครู  จึงได้มีการจัดทำคู่มือสำหรับครู ที่จะช่วยจัดการเรียนการสอนอย่างไร เริ่มต้นจากทำไมต้องเรียนเรื่องนี้  น่าสนใจอย่างไร จะต่อยอดไปเรื่องอื่นอย่างไร เป็นการจุดประกายให้ครูทำให้เด็กเห็นว่า เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ทำให้เกิด Active Learning กับนักเรียน 


” ทิศทางของแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมครูและนักเรียน โดยทางอักษรได้ออกแบบวิธีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการคิดของผู้เรียนในรูปแบบที่เรียกว่า 5Es ได้แก่ กระตุ้นความสนใจ (Engage) สำรวจค้นหา (Explore) อธิบายความรู้ (Explain) ขยายความเข้าใจ (Expand) และ ตรวจสอบผล (Evaluate) เป็นรูปแบบที่เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพการคิด และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง”

ตะวัน ยังบอกอีกว่าในความคิดของเขา มองว่าแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์จะมีการอัพเนื้อหาในหนังสือประมาณ 3-4 ปีต่อครั้ง    แต่ส่วนไกด์ไลน์ของครู จะต้องมีการอัพเดตในทุกปี ทั้งนี้แนวการสอนที่สำคัญสำหรับครู ถ้าหากมีครู ที่จบสายตรงมาสอนก็นับว่าเป็นเรื่องดี แต่ด้วยทรัพยากรครูที่ไม่เพียงพอ ในการสอนครูอาจจะเชื่อมโยงแบบเรียนกับการตั้งคำถามด้วยการใช้  Why และ How ที่ตอบยากกว่า แทนการถาม What ,Where, When ,Who คำถามเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กคิด ไตร่ตรอง และหาคำตอบ สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนทำให้ครูผู้สอนสร้างการสอนที่ทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้น แล้วก็อยากจะเรียนรู้ได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะในวิชาประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นทุกวิชา ทุกระดับชั้น

ดร.วิทย์ ได้ทิ้งท้ายให้ชวนคิดว่า ประวัติศาสตร์ก็เหมือนตึก ถึงจะวิวัฒนาการไปขนาดไหน แต่ฐานรากมันเหมือนเดิม คือ มีความเชย เป็นคอนกรีตแท่งซีเมนต์ แต่ถ้าไม่มีตึกก็อยู่ไม่ได้ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาชีพ แต่มันเป็นระบบคิด .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตคณบดีวิจิตรศิลป์ มช.' ถามดังๆ ใครอันตรายกว่ากันในการสอนประวัติศาสตร์

รศ.อัศวิณีย์ หวานจริง อดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ภาควิชาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า การสอนประวัติศาสตร์..ผู้เรียนมาย่อมสอนได้…ไม่มีข้อห้าม เพียงต้องสอนตามความจริงที่เกิด

'ชาญวิทย์' ทุกข์ใจมาก! วิชาประวัติศาสตร์ไทยน่าเบื่อ ให้ท่องจำ ชื่อราชธานี-บรรดานามกษัตริย์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ The Subject of Histor

มท. แจ้ง อปท.จัดสอนวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ไม่ให้เยาวชนถูกครอบงำชักจูงทำผิดกฎหมาย

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย มีนโยบายให้หน่วยหน่วยงานภายใต้การกำกับร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เป็นผู้ที่มีความรักเทิดทูนในสถาบันหลักและภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ

ห่วงครูสาวบูลลี่ 'พล.อ.เปรม' โดนลงโทษ 'เจ๊เจี๊ยบ' แนะสังคายนาวิชาประวัติศาสตร์ เลิกยัดเยียดรักชาติ

'เจ๊เจี๊ยบ' ห่วงครูสาวบูลลี่'เปรม' โดนลงโทษเกินเหตุ แนะ สังคายนา วิชาประวัติศาสตร์ เลิกยัดเยียดรักชาติ ปลูกฝังแนวคิดราชาชาตินิยมด้านเดียว ฝาก 'ประยุทธ์' รื้อหลักสูตรจปร. ศึกษาประชาธิปไตยแบบใหม่ รู้คุณภาษีราษฎร

หนุนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้เด็กได้รู้ความเป็นมาของชาติ เหน็บนักวิชาการตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นฝรั่ง

'นันทิวัฒน์' อึ้ง!เด็กถาม พระนางศรีสุริโยทัยเป็นใคร-บ้านบางระจันคืออะไร หนุนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ให้เด็กภูมิใจในความเป็นชาติ นักวิชาการน่าจะดีใจที่เด็กๆได้รู้ประวัติความเป็นมาของชาติ ไม่ใช่ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นฝรั่ง