SET ESG Academy ปั้นคนรุ่นใหม่ ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยื่น

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

หากเอ่ยถึงการขับเคลื่อนแนวคิด Environment, Social, และ Governance หรือ  ESG ที่หมายถึง การประกอบธุรกิจแบบยั่งยืน ที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลธุรกิจ  หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยมากมายว่าทำไมแนวคิดนี้ถึงได้ถูกกล่าวถึงมากมายในยุคนี้  โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสนใจในการขับเคลื่อนและบูรณาการแนวคิด ESG มากขึ้น แต่อีกส่วนที่สำคัญคือภาคการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการนำแนวคิด ESG มาเชื่อมโยงกับโลกของธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันให้กับคนรุ่นใหม่ ที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนได้จริงๆ

มุมมองระหว่างภาคการศึกษาที่จะเชื่อมโยงภาคธุรกิจ ในการขับเคลื่อนแนวคิด ESG บนเวทีเสวนา “SET ESG Professionals Forum” ที่จัดขึ้นครั้งแรก โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับโครงการ SET ESG Experts Pool เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพบุคลากรในตลาดทุนและคนรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพด้านความยั่งยืน

ประสาร  ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาโลกธุรกิจและโลกของการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาจจะถูกมองว่าอยู่กันคนละโลก แต่ในตอนนี้โลกทั้ง 2 ใบ มีส่วนเกี่ยวข้องกันและต้องเดินหน้าควบคู่กันไป เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำ การคอรัปชั่น และโรคอุบัติใหม่ต่างๆ รวมไปถึงการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จึงต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนขึ้น

สำหรับการดำเนินธุรกิจบนฐาน ESG เท่ากับการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ประสาร แสดงความเห็นว่า ข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ทางตลาด ก็ต้องมีการกำหนดออกมารองรับต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เพื่อสู่เป้าหมายการลดคาร์เป็นศูนย์ หรือผลิตภัณฑ์จะมีการปล่อยก๊าซคาร์จำนวนกี่ตันตลอดการใช้งาน กิจกรรมปลูกต้นไม้ของบริษัทหนึ่ง จะไม่นับเพียงจำนวนต้นหรือจำนวนไร่ที่ปลูก แต่ต้องประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของแต่ละต้นถึงจะนับไปหักลบการปล่อดก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ การดูแลสิทธิมนุษย์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นต้น

ประสาร จึงมองว่า การเปลี่ยนผ่านองค์กรหรือภาคธุรกิจไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญ 2 ข้อ คือ 1. ความมุ่งมั่น จริงจัง ชัดเจน ในการดูแลของผู้บริหารและคณะกรรมการในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน 2.การพัฒนาความยั่งยืนต้องอยู่ที่ความร่วมมือของบุคลากรทุกคน จึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดทักษะ ศักยภาพที่เหมาะสม  

ข้อสำคัญของการพัฒนาคนรุ่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของการเปลี่ยนผ่านโลกธุรกิจมี 3 ประเภท คือ 1. ESG Professional เป็นบุคคลที่เชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆในองค์กร ที่จะกำหนดตัวชี้วัด ESG เพื่ออำนวยให้เกิดการการผนวกในหน่วยธุรกิจ ปลูกฝังค่านิยมความเข้าใจ และรวบรวมข้อมูลความยั่งยืนในการเผยแพร่  2.ESG Specialists ที่เกิดขึ้นแล้วในหลายบริษัทหรือในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และบางส่วนในประเทศไทย เป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านความยั่งยืนในภาคธุรกิจที่มีความรู้อย่างเข้าใจรู้จริงในด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบคำถามด้านการลงทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยง ESG Climate Action เป็นต้น  และ 3.Sustainability Verifier ทำหน้าที่ประเมินและตรวจสิบมาตรฐานต่างๆ เช่น ผู้ตรวจสอบการปล่อยก๊าซธรรมชาติ ผู้ตรวจสอบคาร์บอนเครดิต ผู้ตรวจสอบแนวทางตามเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น เพราะในอนาคตหากมีการออกข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ บุคลากรที่ทำงานด้านจะมีความต้องการเป็นอย่างมาก

หากมองโดยรวมในประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรทั้ง 3 ประเภทนี้อย่างมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญในการ unlearn-relearn, upskill-reskill เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้และทักษะในการมีความรู้เชิงลึกและนำไปปฏิบัติได้จริง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงปิดช่องว่างระหว่างโลกการศึกษากับโลกธุรกิจ โดยในปีที่ผ่านมาเริ่มทำ SET ESG Academy ศูนย์ความรู้ทั้งหมดในการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยื่น ที่มีการตั้งเครือข่าย SET ESG Experts Pool มีสมาชิกกว่า 200 ราย จากบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ปรึกษา และสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลความรู้ ESG in Practice อย่างต่อเนื่อง หรือมีการดำเนินการ University outlet โดยมีผู้เชี่ยวชาญออกไปแบ่งปันประประสบการณ์หรือความรู้เกี่ยว ESG

และมีการเปิดสอนหลักสูตร Certificates in ESG Management (C ESG)  เป็นหลักสูตรใหม่สำหรับ junior professional ระยะสั้น 5 วัน โดยรวบรวมความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในด้านนี้ ครอบคลุมเนื้อหาที่จำเป็นตั้งแต่ความหมายของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การวางโครงสร้างธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์หลักของธุรกิจ รวมถึงประเด็นต่างๆในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญอาจารย์จาก 6 มหาวิทยาลัยมาร่วมเรียนเพื่อเป็นการเผยแพร่หลักสูตรสู่ห้องเรียนด้วย

รศ.ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา

ด้าน รศ.ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ประธานหลักสูตร Managing For Sustainability วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนแนวคิด ESG ต้องแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.ระยะเร่งด่วน เพราะองค์กรต้องการคนที่มีทักษะ สมรรรถนะ และคนที่มีความรู้ และปฏิบัติได้ทันที เพื่อการนำ ESG เชื่อมโยงระหว่างการทำธุรกิจกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน และ2.ระยะยาว เป็นการเตรียมคนที่มี mindset ชัดเจนเกี่ยวกับการบูรณาการ ESG ที่ไม่ใช่มองเพื่อการลงทุน แต่เป็นการทำให้เกิดขึ้นในบุคลากรทุกแผนกทุกองค์กร ซึ่งมหาวิทยาลัยก็ต้องตีโจทย์นี้ให้แตกด้วยเช่นกัน

“ทั้งนี้อยากจะให้ทุกคนเข้าใจได้ว่ายว่า ESG เป็นศาสตร์ที่ทุกคนเข้าใจอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่รู้จะนำมาจัดการหรือบูรณาการอย่างไร เช่น คนที่เรียนบริหารธุรกิจ ต้องรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรบุคคลในฐานะทุนมนุษย์ แต่เมื่อพลิกกลับมาในมิติ ESG ก็ต้องคำนึงถึงการทำให้เกิดข้อได้เปรียบขององค์กร หรือภาครัฐ และที่สำคัญคือในทุกสายอาชีพต้องมีความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งในประเทศออสเตรเลียมีหลักสูตรการเรียน Sustainability เป็นพื้นฐานในระดับปริญญาตรีเลย ซึ่งในไทยก็มีหลักสูตรนี้ในบางมหาวิทยาลัย “
รศ.ดร.ณัฐวุฒิ ตบท้ายอีกว่า อย่างไรก็ตามสถาบันการศึกษาที่จะทำหลักสูตรด้านความยั่งยืน ต้องคำนึงถึงผลกระทบในการลงทุน ลงแรง เพื่อปั้นคนรุ่นใหม่ให้เกิดทักษะอย่างเชี่ยวชาญในด้านนี้ ไม่เพียงแค่การสร้างคนเพื่อเป็นแรงงานเท่านั้น รวมไปถึงต้องสร้างผลกระทบต่อประเทศ อุตสาหกรรม และชุมชน เพราะการเรียนเกี่ยวกับความยั่งยืนก็คือ การสร้างแนวคิด และทักษะเพื่อนำไปบริหารองค์กรทุกรูปแบบให้อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ” เชิญชวนร่วมส่งบทกวีเข้าประกวดใน “โครงการประกวดบทกวี 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” วันนี้ – 15 ม.ค. 68

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมส่งบทกวีเข้าประกวดใน “โครงการประกวดบทกวี 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” เพื่อสนับสนุนการสร้างสุขภาวะทางใจและความคิดสร้างสรรค์ผ่านการประพันธ์บทกวี

บจ. มีผลประกอบการในไตรมาส 2 ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและธุรกิจน้ำมัน

บริษัทจดทะเบียน (บจ.) รายงานผลการดำเนินงานงวดหกเดือนแรกปี 2567 มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโต ขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มไปสู่ธุรกิจภาคบริการ อุปโภคบริโภค อีกทั้งกลุ่มธุรกิจน้ำมันได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น

ตลท.เตือนนักลงทุนระวังการซื้อขายหุ้น กรุงเทพประกันภัย

ตามที่บริษัท บีเคไอ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BKIH) ได้มีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BKI) เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้น