หลงรักดอกไม้'เทศกาลสีสันดอยตุงครั้งที่ 9'

หน้าหนาวถ้าอยากได้อากาศเย็นๆ แบบฉ่ำๆ ก็ต้องไปเยือนภาคเหนือ และไม่ควรพลาดเทศกาลสีสันแห่งดอยตุง ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 9  ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ที่จังหวัดเชียงราย โดยงานมีตั้งแต่วันที่  2 ธันวาคม 2565 – 29 มกราคม 2566  ซึ่งมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)  

ซุ้มประตูทางเข้างาน

และเนื่องในโอกาสที่โครงการพัฒนาพื้นที่ดอยตุงครบรอบ 50ปี ธีมของงาน “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 9” จึงอยู่ภายใต้แนวคิด “Future Forest” หรือป่าแห่งอนาคต  เหมือนการรำลึกจุดเริ่มต้นที่มาของโครงการที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บนดอยตุงไม่ให้ป่าถูกทำลาย พร้อมกับพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนบนดอยให้มีรายได้ มีสภาพชีวิตที่ดี จึงมีการจัดวางศิลปะกลางแจ้ง “หนึ่งคน หนึ่งต้นไม้ หนึ่งป่า” และ “สวนสะท้อนตัวตน”เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผืนป่าไทยให้ยั่งยืน  

สินค้างานคราฟท์ ชนเผ่าที่เป็นส่วนหนึ่งสีสันดอยคุง

โดยจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการท่ามกลางแขกคนสำคัญมากร่วมงานมากมาย อาทิ สุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นคร พงษ์น้อย ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พันเอก จักรวีย์ เสนีย์วรยุทธ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 วิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย พันตำรวจเอกสงกรานต์ สันวงค์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่ฟ้าหลวงเชียงราย โดยมี ประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ ประธานสายปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคมมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิด ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย

บรรยากาศวันเเปิดงาน

ประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ ประธานสายปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคมมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลสีสันแห่งดอยตุงครั้งที่  9  กล่าวว่า  ในโอกาสครบรอบ 50 ปีการดำเนินงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในปี 2565 นี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯยังคงยึดมั่นในการสานต่อแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า ปลูกคน” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดงาน Future Forest หรือ ป่าของวันพรุ่งนี้ ที่จะบ่มเพาะความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนกับป่าให้คนที่มาเยือนงานเทศกาลสีสันแห่งดอยตุงได้ซึมซับผ่านการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “เมล็ดพันธุ์สีเขียว” ที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ตั้งใจส่งมอบให้นี้จะงอกงามในใจนักท่องเที่ยวและช่วยกันส่งต่อให้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยช่วยกันดูแลรักษาผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์รักษารากวัฒนธรรมที่สวยงามให้คงอยู่คู่สังคมตราบนาน

เจ้าโต สัตว์ในตำนานตามความเชื่อ 6ชนเผ้่า

“กว่าดอยตุงจะสวยงามได้อย่างนี้ต้องใช้เวลาหลายสิบปีเมื่อก่อนเรามีป่าเพียงแค่ร้อยละ 28 แต่การปลูกป่าภายในโครงการพัฒนาดอยตุงฯทำให้ปัจจุบันเรามีพื้นที่ป่ามากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดและป่าดอยตุงไม่ใช่แค่พื้นที่มีไม้ยืนต้นเขียวชอุ่มแต่นับเป็นพื้นที่แห่งการเกื้อกูล ของสิ่งมีชีวิตผ่านการจัดสรรการใช้พื้นที่ป่าที่หลากหลายเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯกำลังเดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำด้านการรักษาป่าผ่านการดำเนินงานผลิตคาร์บอนเครดิตป้อนภาคธุรกิจ “

ท้องฟ้าโปร่งโล่ง สูดอากาศบริสุทธิ์ได้เต็มปอด


ประเสริฐบอกอีกว่า เทศกาลสีสันแห่งดอยตุงในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2560ถือว่าเป็นงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช้ถุงพลาสติก เน้นใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ และวัสดุจากธรรมชาติมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ โดยเชื่อว่าเราทุกคนสามารถช่วยกันดูแลปกป้องผืนป่าได้ด้วยสองมือและเริ่มต้นได้ทันทีจากตัวของเราเอง มาเริ่มไปด้วยกัน

เรือนกระจก

ภายในงานชวนให้เพลิดเพลินไปกับ 4โซน ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น โซนกิจกรรมและมุมถ่ายรูปกับ “มุมสนุก”พบกับกิจกรรมไฮไลต์ของเทศกาลเป็นงานศิลปะกลางแจ้ง “หนึ่งคน หนึ่งต้นไม้หนึ่งป่า” ที่ชวนให้นักท่องเที่ยววาดต้นไม้ของตัวเองคนละ 1 ต้น  บนกระดาษสังเคราะห์ไวเทคผืนใหญ่จนกลายเป็นผืนป่าของพวกเรา โดยเมื่อสิ้นสุดงานเทศกาลจะนำไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน มอบให้เยาวชนในศูนย์เด็กใฝ่ดีของทางมูลนิธิฯ

เรือนกระจก ‘Garden of Reflection’ ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้  ยังเป็นส่วนหนึ่งของคอนเซ็บต์การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเซลฟี่ได้ ซึ่งกระจกไม่ได้ “สะท้อนตัวตน” เราอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนภาพของต้นไม้ เป็นการบอกเป็นนัยว่าทั้งคนและธรรมชาติต้องอยู่คู่กันถึงจะเป็นคยวามสวยงามที่ยั่งยืน

ดอกไม้หลากสีในแปลงเดียวกัน


แต่ที่เป็นไฮไลต์ของงานเทศกาล คงไม่ใช่สิ่งอื่นใด นอกจากบรรดาดอกไม้ของสวน ที่ทั้งสดเต็มไปด้วยสีสัน สมกับชื่อของเทศกาลสีสันแห่งดอยตุง ไม่ว่าจะเดินหรือหันไปทางทิศทางไหน เราก็จะเห็นสีเขียว ส้ม แดง เหลือง ชมพู   ขาว  ไล่เฉดสีกันละลานตาไปหมด   บานสะพรั่งราวกับจะแข่งขันอวดความสวยงามของตัวเอง บางแปลงจัดแต่งปลูกคละหลากหลายสี  บางแปลงปลูกในพันธุ์สีเดียวกัน  

ซุ้มไม้เลื้อยมอร์นิ่งกลอรี่ ที่มีหลายจุด เห็นแล้วต้องเข้าไปเดินชมใกล้ๆ

อีกทั้งซุ้มไม้เลื้อยหลายสายพันธุ์ทั้งสีแดง สีม่วงของมอร์นิ่งกลอรี่ ที่ออกดอกห้อยระย้าระโยงระยาง กลีบดอกเปรอะเปื้อนด้วยหยดน้ำ  เสน่ห์แห่งสีสันของดอกไม้จากซุ้มเหล่านี้ เหมือนมีเวทมนต์ชวนให้เราเดินเข้าไปหา เพ่งพิศมองใกล้ๆ พร้อมกับสัมผัสกความเบาบางของกลีบดอก  เพราะแค่มองดู เหมือนจะซึมซับความสวยงามนี้ไว้ไม่พอ  

 ไม่ว่าจะเป็นสวนดอกไม้ ที่ปลูกแบบจัดแต่งให้เป็นสวนสวย เป็นกลุ่มก้อน และมีชั้นเชิงสอดคล้องกับภูมิทัศน์ของดอยตุง หรือซุ้มโค้งของพันธุ์ไม้เลื้อย  เมื่อเราไปอยู่ในบรรยากาศเหล่านี้  ไม่ว่าจะยืน นั่ง หรือเดิน เสมือนเราได้เข้าไปอยู่ในภาพวาดธรรมชาติชั้นดี ที่ดารดาษ ไปด้วยมวลดอกไม้นานาพันธุ์อย่างไรอย่างนั้น

ดอกไม้กับธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกสดชื่น

เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้า ก็เห็นความโปร่งโล่ง สีฟ้าสดใส แม้ช่วงกลางวัน แดดจะเริ่มมา แต่เราก็ยังสดชื่นได้กับสีสันของดอกไม้  เรื่องเก็บภาพไม่ต้องพูดถึง ใครที่มา ล้วนอดใจไม่ได้ทั้งนั้น  ทั้งหมดทั้งมวลของการได้มาเยือนงานเทศกาลสีสันดอยตุง จึงเหมือนการได้ชาร์จพลังชีวิต โดยมีธรรมชาติและมวลดอกไม้เป็นพลังงานให้เราได้ดูดซับเอาไว้ขับเคลื่อนภารกิจการงานในวันต่อๆไป

ตระกูลเบญจมาศดอกเล็ก หลากสีในแปลงเดียวกัน

นอกจากดอกไม้ ยังมี”เจ้าโต” สัตว์แห่งความโชคดี ในตำนานตามความเชื่อของ5 ชนเผ่าไทใหญ่ ที่แต่ละปีของงานเทศกาลสีสันดยอตุงหน้าเจ้าโต จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มาปีนี้ เป็นหัวแบบดั้งเดิม ถึงแม้เจ้าโต จะตัวใหญ่แต่น้องน่ารักมาก ใครๆก็อยากถ่ายรูปกับเจ้าโตกันทั้งนั้น

เดินชมดอกไม้จนหนำใจ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า  ก็มีโซนร้านอาหารไว้บริการ แต่ละร้านเป็นคนในชุมชน อาหารพื้นเมืองเหนือ หมูย่างมะแขว่น แอ็บลาบหมู แอ็บถั่วเน่า ไก่ย่าง หมูทอด ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวเหนียว ส้มตำ มีหลายร้านให้เลือก แต่ขอบอกว่า“ร้านส้มตำยอด” เด็ดมาก รสชาติเป๊ะจริงๆ ตำแทบไม่ทัน ลูกค้าต่อแถวยาว

ร้านค้าในชุมชน ที่มีของพื้นเมือง ต่างๆ ก็มีไว้บริการ หรือ ถ้าต้องการสินค้าแนวพื้นเมืองที่มีความปราณีต ก็ต้องไปที่ช้อปของดอยตุง ที่เอาท์เล็ต กำลังลดราคาสินค้าสูงสุด50%หรือรู้สึกเหนื่อยง่วงเหงาหาวนอน ก็เติมความสดชื่นได้ด้วย เครื่องดื่มสูตรพิเศษจากคาเฟ่ดอยตุง ที่ส่งกลิ่นหอมยั่วยวนคอกาแฟ

สาวสวยชื่นชมดอกไม้


 ยังมีซุ้มเพลิดเพลิน (Doi Tung Learning Experience Hub)ทำงานฝีมือเวิร์กช็อปยิงพรมที่สามารถออกแบบลายและลงมือยิงด้วยตัวเอง ,ซุ้มสิ่งแวดล้อม ฮักโลก ฮักเฮาจากนิทรรศการชวนเรียนรู้ เกมเอาใจสายรักธรรมชาติ และเวิร์กช็อปสินค้าทำมือใส่ใจสิ่งแวดล้อม , อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่าง ก็คือ การแสดงของขนเผ่าต่างๆ  สร้างบรรยากาศของ”ความเป็นดอย”ผสมกลมกลืนกับดอกไม้ธรรมชาติ ได้อย่างดี  

มุมสงบ

เรื่องโควิด คงลืมกันไม่ได้ เทศกาลสีสันแห่งดอยตุงในปีนี้ยังคงมาตรการรักษาความปลอดภัยจากการระบาดของ โควิด  โดยมีบริการเจลแอลกอฮอล์ และขอให้นักท่องเที่ยวทุกคนสวมหน้ากากขณะเข้าเที่ยวชมภายในบริเวณงานและเปิดให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าบริเวณงานได้ (Pet-Friendly) แต่ขอให้ดูแลรักษาความสะอาดสนุกกับประสบการณ์ท่องเที่ยวและนานากิจกรรมจากเทศกาลสีสันแห่งดอยตุงครั้งที่ 9 แบบคนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว Future Forest

ซุ้มร้านค้าอาหารพื้้นเมือง
กิจกรรมหนึ่งคน หนึ่งต้นไม้
พรมดอกไม้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ

เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน

'ครูแดง' ชี้มติ ครม. ลดขั้นตอนให้สัญชาติ 4.8 แสนคน ปฏิรูประบบสถานะบุคคลครั้งสำคัญ

"ครูแดง" ชี้มติ ครม.ลดขั้นตอนให้สัญชาติ 4.8 แสนคน ถือว่าปฎิรูประบบพัฒนาสถานะบุคคล จี้ "สมช.-มท." ออกกฎหมายเร่งช่วยคนเฒ่าไร้สัญชาตินับแสนคนที่กำลังเปราะบาง

'พีระพันธุ์' เยี่ยมบ้านหินลาดใน ถูกน้ำป่าซัดถล่ม โรงเรียน-บ้านเสียหายหนัก เร่งหาทางช่วยเหลือ

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน พร้อมด้วย พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม พร้อมคณะได้เดินทางตรวจเยี่ยมชาวบ้านหมู่บ้านหินลาดใน

ขยะท่วมชุมชนริมน้ำกก ขนย้ายไม่ทันกลิ่นเหม็นโชย จี้บอร์ด คอส. สั่งแก้ปัญหา

นางไพวัลย์ เดชผล สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงราย และชาวบ้านเกาะลอย กล่าวว่า ไม่มีใครคาดถึงว่าน้ำกกจะทะลักท่วมสูงชุมชนได้ขนาดนี้ เพราะเป็นน้ำป่าที่ไหลแรงและเร็วมาก

ขยะท่วมเชียงรายหลังอุทกภัย นักวิชาการเสนอแผนจัดเก็บ หวั่นฟื้นฟูล่าช้ายิ่งเสียหายหนัก

นายสืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และอาสาสมัครศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.เชียงราย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การช่วยเหลือ