ชวนเที่ยวงาน'เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ปี 65'

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ประจำปี 2565 กลับมาจัดในสถานที่จริงอย่างเต็มรูปแบบที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ  ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้และความสวยงามของดอกไม้นานาพันธุ์ ภายใต้แนวคิด“เพื่อนไม่ทิ้งกัน ในยามยาก”ภายในงานฯ มีการถอดแบบโครงสร้าง “อาคารมหินทรเดชานุวัฒน์” ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ของมูลนิธิฯ มาไว้ในงาน แสดงถึงการยกระดับการทำงานของมูลนิธิฯ ในโอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่ 27 ในปีนี้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเป็นเลิศด้านการบรรเทาทุกข์ และจัดการภัยพิบัติอันเกิดจากอุทกภัย  ตามพระนโยบายของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี  กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ประธานกรรมการมูลนิธิฯ

นิทรรศการปีนี้พบกับการจัดแสดงภาพรวมภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างครบวงจรและยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและนวัตกรรมการทำงานของมูลนิธิฯ ตั้งแต่การเฝ้าระวังก่อนเกิดอุทกภัย ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย  การบรรเทาทุกข์ระหว่างเกิดอุทกภัย เป็นภารกิจหลักที่มูลนิธิฯ ดำเนินการ  และการฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข และมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน

.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และประธานกรรมการอำนวยการจัดงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ประจำปี 2565” กล่าวว่า มูลนิธิฯ ก่อตั้งจากพระดำริพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ภารกิจหลักเป็นการบรรเทาทุกข์ เมื่อเกิดอุทกภัยหรือภัยพิบัติรุนแรง การช่วยเหลือระยะสั้นจะแจกถุงยังชีพ ตั้งโรงครัวพระราชทาน ทำอาหารเลี้ยงประชาชน  ล่าสุดเกิดอุทกภัยที่อยุธยาและชัยภูมินานนับเดือน มูลนิธิลงพื้นที่ช่วยเหลือต่อเนื่อง 

“ ถุงยังชีพพระราชทานของมูลนิธิ ฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเลือกของใส่ถุงยังชีพฯ ด้วยพระองค์เอง ทรงทดสอบคุณภาพ ทรงมีวิธีจัดถุงยังชีพเพื่อป้องกันสิ่งของเสียหายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงบรรจุถุงยังชีพด้วยพระองค์เอง ส่วนกองทัพบกและภาคเอกชนทำหน้าที่ชนส่งให้ถึงประชาชนเร็วที่สุด จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ไทยประสบอุทกภัยมากขึ้น ทุกภาคท่วมหนัก และเกิดขึ้นตลอดปี  เคยแจกถุงยังชีพฯ มากกว่า 40,000 ถุงต่อปี “ ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ กล่าว

ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวด้วยว่า องค์ประธานกรรมการรับสั่งว่า ถ้าภัยน้อยลงจะบรรเทาทุกข์น้อยลง  นำมาสู่ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯ กับ 8 หน่วยงาน เพื่อดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรบนพื้นที่ต้นน้ำ มีแผนจะติดตั้ง 510 สถานี  ปัจจุบันติดตั้งแล้ว 160 สถานี มีการเตือนภัยประชาชนผ่านแอปพลิเคชั่น นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ต้องฝึกอบรมชาวบ้านในพื้นที่ เกิดชุมชนเตือนภัยเพื่อนพึ่ง(ภา) ช่วยลดความสูญเสีย ส่วนการฟื้นฟูองค์ประธานกรรมการทรงมีพระราชดำริส่งเสริมอาชีพ เช่น จ.สกลนคร ประสบพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ไร่ครามเสียหายนับ 100 ไร่ นำมาสู่การหนุนเทคโนโลยีย้อมครามและออกแบบลวดลาย รวมถึงมอบโลโกเพื่อนพึ่ง(ภา) เพิ่มโอกาสทางการตลาด นอกจากนี้ มีการพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างฝาย ขุดลอกตะกอน เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่หลังภัยพิบัติ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฯ  กล่าวว่า งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น  ชมและช้อปสินค้าจากร้านค้าในโครงการส่วนพระองค์และร้านพระบรมวงศานุวงศ์ และร้านค้ากิตติมศักดิ์และร้านเครือข่ายที่มาร่วมออกร้านกว่า 100 ร้าน ประชาชนที่มาเที่ยวงานมักนึกถึงอาหารและขนม ไม่ว่าจะขนมจากกลุ่มชมรมอนุรักษ์ขนมไทย ขนมจากวังเลอดิส ขนมจากวังรื่นฤดี  ขนมจากมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า   ชวนมาอิ่มอร่อย และเรียนรู้เรื่อวราวประวัติศาสตร์ขนมไทยจากวังต่างๆ และยังมีตลาดย้อนยุค โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่รวบรวมร้านอาหารชื่อดังมาเพิ่มสีสันให้กับงาน 

“ สินค้าจากร้านพึ่งพา มีทั้งขนมและผลิตภัณฑ์ยั่งยืนจากชุมชนที่ประสบอุทกภัย อย่าง ผ้าไหมพื้นเมืองจากชัยภูมิ  เสื้อมัดย้อมจากสกลนคร นอกจากนี้ จะมีสินค้าที่ระลึกที่เปิดตัวในงานนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ ชุดน้ำชา (Snack Tray) ลายกล้วยไม้โสมสวลี   อีกทั้งมาช้อปและชิมผลิตภัณฑ์ของร้าน “PAfé สุขที่ได้แบ่งปัน” เราจำลองบรรยากาศมาให้ได้สัมผัสที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ “ วีระศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2565 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2-11 ธ.ค. เวลา 9.00-20.00 น. พิธีเปิดงานฯ อย่างเป็นทางการวันที่ 2 ธ.ค.  ในแต่ละวันยังมีการปรุงอาหารจากรถประกอบอาหาร “รถเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ช่วยด้วยใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ที่นำเมนูสูตรประทานนายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพมาเปิดโอกาสให้ได้ชิมและร่วมบริจาคสมทบมูลนิธิฯ ตลอดจนการสาธิตช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากทีมเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) อาสา ปฏิบัติการภัยพิบัติ ชมการแสดงดนตรีในสวนของนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สับเปลี่ยนมาจัดแสดงสร้างความสุข

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพจดังฟาด 'แก๊งล้มเจ้า' ใส่ร้าย 'โครงการหลวง' พวกคุณไม่ใช่ผู้ปลดปล่อย แต่คือผู้ทำลาย

เพจเฟซบุ๊ก ฤๅ - Lue History โพสต์ข้อความว่า โครงการหลวง ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้มีกินและมีรายได้

'เศรษฐา' ประชุมคณะกรรมการโครงการหลวง เห็นชอบร่างแผนวิจัยพื้นที่สูง ปี 67-70

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง

ครั้งแรกพบไวรัส2สายพันธุ์ในสตรอว์เบอร์รี 80 ป้องกันแพร่ระบาด ยกระดับผลผลิตคุณภาพ

นับเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย คณะนักวิจัย บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ค้นพบเชื้อไวรัส strawberry latent ringspot virus (SLRSV) และ strawberry crinkle virus (SCV) ในสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 สาเหตุการเกิดโรคใบจุดและใบย่นในพื้นที่เพาะปลูก

เปิดเมนูดับร้อน...ข้าวแช่ตำรับชาววัง

ข้าวแช่ ดอยคำ ตำรับบ้านอิศรเสนา ณ อยุธยา รสชาติแบบชาววังโบราณ หน้าร้อนปีนี้ นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งสืบทอดมาจากราชสกุลสาย กุญชร ณ อยุธยา หนึ่งในผู้สืบทอดตำรับข้าวแช่ชาววัง เชิญชวนมาร่วม

Royal Project Gastronomy Festival 2024 ช็อปผลผลิตจากยอดดอย ชมนิทรรศการ'กัญชง'

เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี มูลนิธิโครงการหลวง และเป็นปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และ กูร์เมต์ มาร์เก็ต