ภาวะโลกร้อนกำลังเป็นมหันตภัยคุกคามการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก หากยังไม่มีการแก้ไขสร้างสมดุล โลกใบนี้จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าและพรรณพืชจะสูญพันธุ์แบบเรียกกลับคืนมาไม่ได้ เวลานี้ภาครัฐและภาคเอกชนเดินหน้าโครงการ Zero Emission ยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโครงการ Net Zero ปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ หนึ่งในนั้น คือ Satin Textile และ PASAYA (พาซาญ่า) เป็นบริษัทที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้งแต่ก่อตั้งโรงงานที่ จ.ราชบุรี
มีโอกาสเยี่ยมชมโรงงานในป่าของ PASAYA ผู้ผลิตและจำหน่ายสิ่งทอ เครื่องนอนและของตกแต่งบ้าน ซึ่งผู้บริหารนำโดย ชเล วุทธานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท เท็กซ์ไทล์แกลเลอรี่ จำกัด และรติยา จันทรเทียร กรรมการผู้จัดการบริษัท เท็กซ์ไทล์แกลเลอรี่ จำกัด (PASAYA ) พร้อมทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ YOUNG GEN ประกาศปฎิญญา“ยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรลุการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050”
รีไซเคิลระบบน้ำในโรงงานได้ 100%
ชเล วุทธานันท์ กล่าวว่า บริษัทจะทำโครงการ Zero Emission และโครงการ Net Zero ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงวันบรรลุเป้าหมายภายในปี 2050 ปีที่แล้วเราได้เริ่มทำโครงการ Zero Emission โดยให้องค์การก๊าซเรือนกระจกฯ มาสำรวจและขึ้นทะเบียน carbon footprint ของบริษัทสิ่งทอซาติน ซึ่งได้รับกำรประเมินว่า เรามีการปลดปล่อยคาร์บอนโดยตรงราว 13,000 ตันต่อปี จากการใช้พลังงานเพื่อการผลิต และการใช้ไฟฟ้าราว 10,000 ตัน/ปี อีก 3,000 ตัน เป็นการปลอดปล่อยโดยอ้อมจากการใช้วัตถุดิบที่ซื้อจากผู้ผลิตอื่น ๆ ดังนั้น จึงตั้งเป้าทำโครงการ Zero Emission ก่อน เพื่อให้การผลิตปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน 10,000 ตัน/ปี โดยการสนับสนุนของ Kbank ทำโครงการพลังงานโซลาร์เซลล์ติดตั้งแผงเสร็จเริ่มใช้งาน เดือน มค. ปี 65 พร้อมกันนี้ เปลี่ยนระบบเตาไอน้ำจากการเผาถ่านหินเป็นระบบ Once Through หรือ “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” ใช้ก๊าซ LPG ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเท่าตัวในการให้ความร้อนสำหรับงานฟอกย้อม เริ่มใช้ เดือน กค. ที่ผ่านมา
“ กระบวนการทั้งหมดนี้จะทำให้เราลดปลดปล่อยคาร์บอนลงได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ตัน/ปี หรือราว 25% จากขนาดการผลิตปัจจุบันภายในกลางปีหน้า จากนั้นจะปรับลดลงอีกทุกปีควบคู่กับการขยายกำลังการผลิต คาดว่า ภายในปี 2035 จะบรรลุ Zero Emission และจะใช้เวลาอีกไม่เกิน 15 ปีไปให้ถึง Net Zero ในปี 2050 “ ชเล กล่าว
ชเล วุทธานันท์และรติยา จันทรเทียร สองผู้บริหารพาซาญ่า
ด้าน รติยา จันทรเทียร กล่าวว่า เมื่อ 27 ปีที่แล้ว PASAYA ตั้งใจออกแบบโรงงานที่ตั้งอยู่ในจ.ราชบุรี ให้เป็นโรงงานที่มีระบบการผลิต และจัดการสิ่งแวดล้อมแบบโรงงานสีเขียว (Green Industry) ออกแบบและวางผังโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของพนักงาน สภาพแวดล้อมที่ดีของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงงาน โดยไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อผู้คนและมีระบบบำบัดน้ำอย่างครบวงจรเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของสารเคมีในชั้นใต้ดิน และสามารถรีไซเคิลน้ำได้ 100% ตั้งแต่ปี 2547 โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในขบวนการผลิตได้ถึง 30%
“ เราเป็นโรงงานสีเขียวอยู่แล้ว เพราะทุกกระบวนการผลิตของ PASAYA ปราศจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ สารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองThailand Trust Mark ไร้สารพิษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมถึงได้มาตรฐานฉลากเขียวที่มีการต่ออายุทุกๆ 3 ปี “ รติยา กล่าว
ผู้บริหารหัวใจสีเขียว กล่าวด้วยว่า PASAYA ติดตั้งโซลาร์เซลล์เฟสที่หนึ่งที่โรงทอใช้พลังงานสะอาดแทนไฟฟ้าจากการเผาฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้ไฟฟ้า 30% ต่อปี ทดแทนการใช้ไฟฟ้าปกติได้ 1 ใน 3 ของไฟฟ้าทั้งหมด ประหยัดไฟได้ 10 ล้านบาทต่อปี คุ้มทุนภายใน 5 ปี และจะขยายผลเฟส 2 ติดตั้งที่อาคารโรงย้อมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จะลดปล่อยคาร์บอนจากไฟฟ้าเพิ่มเป็น 60 % ต่อปี นับเป็นก้าวสู่ Net Zero Emission ซึ่งเราจะต้องทำอีกหลายกิจกรรมต่อ เนื่องจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มการใช้วัตถุดิบ Recycle หรือ Upcycling ในผลิตภัณฑ์แต่งบ้าน ผ้าม่าน ผ้าบุ ซึ่งเป็นเส้นด้ายรีไซเคิลจากขวดพลาสติก ช่วยลดขยะพลาสติก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปี 2030
ปลูกป่า 100 ไร่ภายในโรงงาน ดูดซับคาร์บอน
ปีนี้คิกออฟรณรงค์โครงการ Mission for the World ใช้ที่ดินโรงงานราว 100 ไร่ มาเรียนรู้การปลูกป่าเพื่อชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ รติยา บอกว่า ช่วงปี 2020-2030 เป็นช่วงเวลาวิกฤต ต้องแก้ไขเพื่อให้พ้นภัย ถ้าทำหลังจากนี้สายเกินไป โรงงาน PASAYA จะมุ่งสู่การเป็นโรงงานในป่า แม้การปลูกป่าที่โรงงาน การปลูกต้นไม้จะไม่ง่าย แต่จะเดินหน้าปลูก 100 ไร่ ภายใน 3 ปี ต้นไม้จะช่วยดูดซับคาร์บอน โดยปลูกแบบหนาแน่น เน้นไม้ป่าเมืองไทย อย่างพะยูง ตะเคียนทอง มะค่าโมง สัก ยางนา แต้ อย่างพะยูง 100 ต้น บนที่ 1 ไร่ ดูดซับคาร์บอนได้ถึง 49 ตันคาร์บอน แล้วยังมีไม้รองอย่างพิกุล จามจุรี มะค่าโมง ทรงบาดาล แล้วจะทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไปยังที่ดินในชนบท ซึ่ง 10,000 ตันเท่ากับปลูกป่าบนที่ดินเพียง 3,300 ไร่
“ ป่าที่เป็นป่าธรรมชาติดีที่สุดต้องรักษาไว้ การปลูกป่าในป่าธรรมชาติไม่ควรทำ ส่วนป่าธรรมชาติที่ถูกแผ้วถาง ยังมีสภาพป่าหลงเหลืออยู่สามารถปลูกต้นไม้ฟื้นฟูได้ ดีที่สุด คือ ชุมชนร่วมดูแล วางแผนเดือน พ.ค. ปี 66 เราจะปลูกป่าจริงจัง หลังออกแบบพื้นที่และวางระบบน้ำ เพื่อให้ต้นไม้เติบโตสมบูรณ์ ป่าคือเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการเก็บคาร์บอน การดูแลธรรมชาติ โรงงานในป่ายังส่งผลที่ดีต่อคุณภาพชีวิตพนักงาน ชุมชนใกล้เคียง ที่ได้ผ่อนคลายจากพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น 3 ปีข้างหน้าป่าจะโอบล้อมโรงงาน “ รติยา กล่าว
กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ PASAYA ปราศจากโลหะหนัก ลดปล่อยคาร์บอน
จากการเยี่ยมชมทุกอาคารภายในโรงงานสีเขียวแห่งนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงคุณภาพในการผลิต ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานซึ่งมีกว่า 500 ชีวิต เริ่มที่โรงทอ Casamatta มีเครื่องทอ 108 เครื่อง มีการควบคุมความชื้น กำจัดฝุ่นฝ้ายในอากาศผ่านการออกแบบระบบถ่ายเทอากาศ ผืนผ้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานจะถูกคัดแยกออก แม้ผ้ามีปัญหาแต่ไม่ได้ถูกทิ้งเป็นขยะ จะนำไปสู่การตัดเย็บผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ปกสมุด ฯลฯ
ส่วนโรงย้อม Kampang อาคารนี้จะมีอุณหภูมิสูงถึง 130 องศาเซลเซียสในขณะย้อมจึงออกแบบระบบถ่ายเทอากาศตามหลัก aero dynamic ที่นี่มีห้อง LAB ที่บริษัทร่วมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ด้านสิ่งทอและเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะสูตรย้อมและสีย้อมกับเหล่าดีไซเนอร์ เพื่อสู่กระบวนการผลิตจริง ผ้าทุกผืนต้องสีเดียวกัน มีความคงทนของเส้นใยและสีบนผ้า
สวนป่าในอาคารโรงเย็บ Zigzag
โรงเย็บ Zigzag มีกระบวนการตัดผ้าด้วยใบมีด ตรวจสอบคุณภาพผ้า สี และขนาด พนักงานในแผนกเทคนิคเย็บได้พักสายตากับสวนป่าใจกลางโรงเย็บ ช่วยให้ผ่อนคลายลดความเหนื่อยล้าจากการงาน นอกจากนี้ พื้นที่ว่างเปล่าภายในโรงงานมีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป้าหมายให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมในฤดูแล้ง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่เมืองราชบุรี ทั้งยังเป็นจุดกำเนิด PASAYA BIOTECH จากหม่อนไหมที่ PASAYA เลี้ยงเอง บนพื้นฐานเกษตรกรรมยั่งยืน
นอกจากประกาศปฏิญญาชัดเจน พาซาญ่าเตรียมจัดงาน “รวมพลคนกู้โลก ก้าวสู่ Net Zero” (Mission for The World) เพื่อแสดงจุดยืนสู่การเป็น Net Zero Emission Factory และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจชมนิทรรศการ “The Sixth Extinction” หรือการสูญพันธ์ ครั้งที่ 6 และเวิร์คช็อปเพนท์ผ้ากับศิลปิน พลุตม์ มารอด เพนท์งานเซรามิคกับ เวิร์ค ช็อปของ “เถ้า ฮง ไถ่” แล้วยังมีงาน PASAYA Grand Sale ให้เลือกซื้อสินค้าคอลเล็กชั่นพิเศษและสินค้าลดราคา ณ โรงงานพาซาญ่า อ.บางแพ จ.ราชบุรี ระหว่างวันที่ 3-5 และ 10-12 ธันวาคม ที่จะถึงนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GC จับมือ Honeywell ศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนอย่างคุ้มค่า เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero มุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และ Honeywell
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
GPSC แข็งแกร่งรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว จาก 3 แบงค์รัฐ-เอกชน มูลค่า 7 พัน ลบ. รุกพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ Net Zero รองรับแผนพัฒนาพลังงานชาติ
GPSC ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 7,000 ลบ. มุ่งธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สอดรับกลยุทธ์องค์กรจากบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. เดินหน้ามุ่งสู่แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์