3 เหตุผล ต้องดู 'จันทรุปราคาเต็มดวง' วันลอยกระทง

"นานทีมีหนที่ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองพอดี หมายความว่า คนไทยทั้งประเทศจะได้ฉลองวันลอยกระทงไปพร้อมกับดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐ ชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ "

 

8 พ.ย.2565 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ชักชวนดูปรากฎการณ์"จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย” ในวันที่ 8 พ.ย.​ 65ผ่านเพจNARITว่า · 1 ตรงกับวันลอยกระทง

นานทีมีหนที่ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองพอดี หมายความว่า คนไทยทั้งประเทศจะได้ฉลองวันลอยกระทงไปพร้อมกับดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐ ชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ นับเป็นโอกาสที่พิเศษมากเลยทีเดียว และพิเศษสุดกับพวกเราชาว NARIT ที่จัดกิจกรรมลอยกระทงชมจันทร์สีแดงอิฐแบบเฉพาะกิจ แต่งชุดไทยเก๋ ๆ มาชมจันทรุปราคาด้วยกันที่หอดูดาว พบกันได้ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา . 2 เห็นดวงจันทร์เต็มดวงเป็นสีแดงอิฐตั้งแต่โผล่พ้นจากขอบฟ้า จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ ดวงจันทร์จะขึ้นจากขอบฟ้าขณะอยู่ในช่วงคราสเต็มดวงพอดี หรือก็คือดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง ทำให้เราจะเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ (ช่วงเวลาเกิดคราสเต็มดวงที่สังเกตได้ในไทย ประมาณ 17:44 - 18:41 น. รวมระยะเวลา 57 นาที) จากนั้นดวงจันทร์จะเคลื่อนออกจากเงามืดเข้าสู่เงามัวของโลก เกิดเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน จะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งบางส่วน และเมื่อดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกทั้งดวง จะเกิดเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีความสว่างลดลงเล็กน้อย ก่อนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 20:56 น. เมื่อดวงจันทร์โคจรออกจากเงาของโลกหมดทั้งดวง . 3 ชมได้อีกที3ปีข้างหน้า หลังจากนี้จะไม่มีปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในประเทศไทยไปอีก 3 ปี จะได้ชมดวงจันทร์สีแดงอิฐทั้งดวงแบบนี้อีกทีคือวันที่ 8 กันยายน 2568 .

นอกจากนี้ในเพจ NARIT ยังแชร์ข้อมูลปรากฏการณ์และรายละเอียดกิจกรรมสังเกตการณ์ เกาะกระแสจันทรุปราคาช่วงนี้ #ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ประจำสัปดาห์ เป็นภาพชุดปรากฏการณ์ของจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เหนือยอดเจดีย์วัดหัวคู้ กรุงเทพมหานคร ฝีมือของคุณนราธิป รักษา เจ้าของรางวัลชมเชยการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

จันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 นั้นเรียกกันว่า “Super Blue Blood Moon” เนื่องจากเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) ที่ตรงกับดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน (Blue Moon) เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่มีคนให้ความสนใจชมจำนวนมากเนื่องจากเกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำ ในครั้งนั้นดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 17:51 น. แล้วค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 18:48 น. และเข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่เวลา 19:51-21:07 น. ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมง 16 นาที จากนั้นดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด และพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 23:08 น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ดังที่เห็นในชุดภาพนี้ สำหรับช่างภาพที่สนใจถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นี้ ถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง นอกจากจะได้บรรยากาศของเทศกาลลอยกระทงแล้ว ยังสามารถส่งเข้าประกวด #มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ได้อีกด้วย และหากไม่เก็บภาพจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ ต้องรอไปอีก 3 ปีเลยทีเดียว ในวันที่ 8 กันยายน 2568

ดูข้อมูลปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3Trwe6d เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่าย Multiple Exposer ห่างกันภาพละ 15 วินาที เพื่อนำภาพมาเลือกและเรียงต่อกันให้ได้ Sequence เหนือฉากหน้าที่เลือกคือ วัดหัวคู้ กทม วันที่ถ่ายภาพ : 31 มกราคม 2018 เวลา 19:15 น. สถานที่ถ่ายภาพ : เขตลาดกระบัง กทม. เจ้าของภาพ : นายนราธิป รักษา - ผู้ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2565 ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์

IRPC ผสานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดย คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ต่อยอดในการขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่

IRPC เยี่ยมชม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมชม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ